สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สื่อนอกตีแผ่ จำนำข้าว สวรรค์ของผู้ลักลอบพม่า แต่เป็น นรก สำหรับชาวนา-ผู้เสียภาษีไทย

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       เท เลกราฟ - สื่อต่างประเทศนำเสนอรายงานตีแผ่ความล้มเหลวและช่องโหว่ของโครงการอุด หนุนราคาข้าวของพรรครัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แฉมีขบวนการลักลอบนำเข้าจากชาติเพื่อนบ้านเสวยสุขบนเงินภาษีของประชาชนคนไทย ขณะที่ชาวนากลับต้องทนทุกข์ทรมานหลังยังไม่ได้รับเงินค่าข้าว
       
       ในรายงานพาดหัว Burmese smugglers get rich on Yingluck Shinawatra's? 13 billion Thai rice subsidies เขียนโดยนาย David Eimer เกริ่มว่าแต่ไหนแต่ไร เมียวดี เมืองทางตะวันออกของพม่าติดกับชายแดนไทย ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางลักลอบค้าของเถื่อน ทั้งยาเสพติด ปืนและเพชรพลอยมีค่า
       
       อย่างไรก็ตาม เวลานี้ เมียวดีกลายเป็นศูนย์กลางแห่งการลักลอบผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ทางร่างกาย มากกว่า นั่นคือการลอบนำข้าวไปขายในไทย ชาติเพื่อนบ้าน ที่ให้ราคาข้าวสูงกว่าตามโครงการอุดหนุนของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และในรายงานของนาย Eimer ระบุว่าสำหรับพวกลักลอบค้าข้าวของเมียวดี ไม่มีการทำธุรกิจใดที่ดีกว่านี้อีกแล้ว
       
       นาย Eimer ให้ข้อมูลว่าในเมียวดี ข้าวจำนวน 50 กิโลกรัม ขายในราคา 855 บาท แต่ในไทย ข้าวในปริมาณเดียวกัน จะมีราคาสูงถึง 1,600 บาท ผลจากโครงการรับจำนำข้าวของพรรคเพื่อไทยที่มีเป้าหมายช่วยเหลือชาวนาให้มี ฐานะดีขึ้น นโยบายที่ทำให้รัฐบาลต้องขาดทุนหลายแสนล้านบาท จนเป็นเหตุให้ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศต้องออกมาเตือนว่าโครงการนี้ กำลังกัดเซาะเศรษฐกิจของไทย
       
       ขณะเดียวกัน รายงานของเทเลกราฟบอกว่า นโยบายอุดหนุนราคาข้าวยังก่อความขุ่นเคืองแก่ผู้ประท้วงชนชั้นกลาง ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ที่ออกมาปักหลักชุมนุมบนท้องถนนของกรุงเทพฯในความพยายามโค่นล้มนางสาวยิ่ง ลักษณ์และพรรคเพื่อไทยลงจากอำนาจ โดยพวกเขาอ้างว่ามันไม่ใช่แค่การถลุงเงินของผู้เสียภาษีไปซื้อคะแนนเสียงแก่ พรรคเพื่อไทยเท่านั้น แต่เงินอีกจำนวนมหาศาลยังไปเข้ากระเป๋านักการเมืองและเจ้าหน้าที่ที่ดูแล โครงการดังกล่าวด้วย ขณะที่ทาง ป.ป.ช.สอบเรื่องทุจริต ก็มีการแจ้งข้อหาผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้แล้ว
       
       อย่างไรก็ตาม นาย Eimer ระบุว่า ในขณะที่โครงการรับจำนำข้าวคือหนึ่งในต้นตอของความยุ่งเหยิงที่ห้อมล้อม เมืองหลวงของไทย แต่อีกฟากหนึ่งตามแนวชายแดน นโยบายนี้กลับก่อผลกำไรแก่อย่างมากมายมหาศาล

สื่อนอกตีแผ่ “จำนำข้าว” สวรรค์ของผู้ลักลอบพม่า แต่เป็น “นรก” สำหรับชาวนา-ผู้เสียภาษีไทย

       ผู้สื่อข่าวของเทเลกราฟบอกว่า จะพบเห็นเรือบรรทุกกระสอบเต็มลำที่ผู้ลักลอบอ้างว่าเป็นอาหารไก่แล่นไปตาม แม่น้ำเมยที่กั้นระหว่างเมียวดีและหมู่บ้านแห่งหนึ่งของไทยทุกๆ วัน ทว่า ความจริงแล้วสินค้าเหล่านี้จะถูกนำไปสับเปลี่ยนเป็นกระสอบข้าวอย่างรวดเร็ว ที่บริเวณล้อมรั้วแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งได้รับการคุ้มกันอย่างหนาแน่นโดยทหารพม่า จากนั้นก็โอนถ่ายสู่เรือที่จอดรออยู่ ขณะเดียวกันก็ยังชาวบ้านบางคนก็เสี่ยงแบกกระสอบข้าวข้ามแม่น้ำเมยด้วยตนเอง
       
       ด้วยรายได้เฉลี่ยในเมียวดี อยู่ที่แค่ราวๆ 130 บาทต่อวัน มันจึงเป็นแรงกระตุ้นชั้นดีที่ทำให้ผู้คนตัดสินใจเสี่ยงลอบนำข้าวไปขายในไทย โดยผู้ลักลอบรายหนึ่งนาม “Brother Tone” บอกว่าการช่วยลักลอบขนข้าวไปขาย ช่วยให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 3,200 บาท หรือเกือบ 25 เท่าเลยทีเดียว พร้อมคุยโวไม่กังวลเลยว่าจะถูกจับเพราะว่า “ตราบใดที่คุณได้รับอนุญาตจากทหารและจ่ายให้ถูกคน มันก็ไม่มีปัญหา ในพม่า ไม่มีใครติดคุกด้วยเรื่องนี้หรอก”
       
       สื่อของอังกฤษแห่งนี้รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงของขบวนการลักลอบนี้ มีขึ้นตามหลังรัฐบาลไทยตัดสินใจเมื่อเดือนตุลาคม 2011 ที่จะจ่ายเงินค่าข้าวแก่ชาวนาสูงกว่าราคาตลาดเกือบ 2 เท่า นโยบายที่ออกแบบมาเพื่อตอบแทนผู้มีสิทธิมีเสียงตามชนบท ซึ่งเป็นฐานอำนาจสำคัญของพรรคเพื่อไทย ขณะเดียวกันก็เป็นความทะเยอทะยานอันเลยเถิดที่จะผูกขาดตลาดข้าวโลก ด้วยรัฐบาลเสี่ยงพนันกักเก็บสต๊อกข้าวไว้แล้วขายออกมาในภายหลัง ในราคาที่หวังว่าจะได้กำไรอย่างงดงาม
       
       อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้กลับย้อนศรมาเล่นงานไทยเอง ด้วยราคาข้าวโลกที่ตกต่ำ นั่นหมายความว่ารัฐบาลใช้เงินเกือบ 7 แสนล้านบาทสำหรับซื้อข้าวที่ไม่สามารถขายทำกำไรได้ จนสต๊อกข้าวตอนนี้สูงลิ่วกว่า 18 ล้านตัน และด้วยราคาข้าวที่สูงกว่าชาติเพื่อนบ้านอย่างมาก ข้าวปริมาณมากกว่า 750,000 ตันจึงถูกลักลอบเข้ามาในไทยในแต่ละปี โดยมันถูกสวมรอยเป็นข้าวเปลือกท้องถิ่นเพื่อสามารถขายแก่รัฐบาลในราคาอุด หนุน
       
       เทเลกราฟ อ้างคำสัมภาษณ์ของ รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุว่า “ด้วยโครงการนี้ รัฐบาลกำลังวิ่งเข้าหาปัญหาทางการเงินอย่างร้ายแรง ข้าวไม่เหมือนกับไวน์ คุณไม่สามารถเก็บมันไว้ได้ตลอดไป ยิ่งรัฐบาลเก็บมันไว้นานเท่าไหร่ มูลค่าของมันจะเสื่อมลงเท่านั้น”


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view