สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชาวนาร้องกรมชลประทานปล่อยน้ำ

ชาวนาร้องกรมชลประทานปล่อยน้ำ

จาก โพสต์ทูเดย์

พระนครศรีอยุธยา-นักการเมืองท้องถิ่นนำชาวนาเรียกร้องกรมชลประทานปล่อยน้ำเข้าคลองทำให้นาพังหลายหมื่นไร่

นายสมนึก ทองสกุล รองนายกเทศบาลต.อรัญญิก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมตัวแทนชาวนากว่า 50 คน จาก 3 ตำบลในเขตเทศบาล  ได้แก่ ต.พระนอน สามไถ่ ท่าช้าง รวมตัวกันประท้วง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครหลวง ที่ปากคลองส่งน้ำ 1 ขวา เขตตำบลพระนอน หลังจากกรมชลประทาน ไม่ยอมส่งน้ำเข้าลำคลอง จนทำให้ต้นข้าวหลายหมื่นไร่กำลังจะยืนต้นตาย

นายสมนึก กล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ติดลำคลอง และไม่อยู่ในพื้นที่ประกาศห้ามทำนาปรังในช่วงหน้าแล้ง  โดยเฉพาะในเขตตำบลพระนอน ล่าสุดกลับพบว่า ไม่มีน้ำทำนา ซึ่งต้นข้าวที่ปลูกได้กว่า 1 เดือน กำลังต้องการน้ำเพื่อการแตกกอ จะต้องมาแห้งตาย ซึ่งตรงจุดนี้เราลงทุนไปไร่ละกว่า 2,000 บาท จึงเรียกร้องให้สูบน้ำแม่น้ำป่าสัก เข้าคลองชลประทาน  ด่วนที่สุด

ขณะที่ นายภูมินทร์ มงคลกาย สมาชิกสภา อบจ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ชาวนาในหลายตำบลของอ.บางซ้าย ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ประสบปัญหาขาดน้ำอย่างหนัก  ซึ่งทุกๆ ปีในพื้นที่จะมีปัญหาน้ำท่วม เพราะเป็นลุ่มต่ำ แต่ครั้งนี้มีปัญหาภัยแล้งเข้ามาในช่วงต้นปี คาดว่าขาดน้ำทำนาไปจนถึงสิ้นหน้าร้อน  ล่าสุดเขาพร้อมชาวนาได้เดินทางไปยังหน่วยงานกรมชลประทาน ที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ซึ่งรับผิดชอบแล้วเช่นกัน


กรมชลฯเตือนน้ำลุ่มไม่พอทำนาปรังรอบ2

จาก โพสต์ทูเดย์

ยุคล” ประชุมวางแผนเกษตรกรรับมือผลกระทบช่วงหน้าแล้ง ด้านกรมชลฯ ยันปริมาณน้ำลุ่มไม่พอทำนาปรังรอบ 2

นายยุคล  ลิ้มแหลมทอง  รองนายกรัฐมนตรีและรมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมเตรียมแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรในช่วงฤดูแล้งปี 2557 ว่า กรมชลประทานรายงานสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ พบว่า แม้ว่าปริมาณน้ำเก็บกักในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมาจะมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างทั่วประเทศค่อนข้างมากและไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ปริมาณน้ำในลุ่มเจ้าพระยา เนื่องจากอ่างเก็บน้ำฯ 2 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณในเขื่อนอยู่ที่ 52% และ 62% จึงทำหนังสือชี้แจงถึงสถานการณ์น้ำไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 22 จังหวัดในเขตลุ่มเจ้าพระยาไปแล้วเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้เกษตรกรจะมีการปลูกพืชฤดแล้งเกินแผนที่กำหนดไว้ โดยข้าวนาปรังในเขตชลประทานปัจจุบันมีการปลูกจริงถึง 5.32 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 183% จากแผนที่กำหนดไว้ 2.9 ล้านไร่ ขณะที่นาปรังนอกเขตชลประทาน มีการปลูกจริง 2.35 ล้านไร่ จากแผนกำหนดไว้ที่ 1.84 ล้านไร่ ทางกรมชลประทานยืนยันว่าจะบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอ และเกิดผลกระทบกับเกษตรกรให้น้อยที่สุดจนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยวในสิ้นเดือนมกราคมนี้

ขณะเดียวกัน  กระทรวงเกษตรฯ ยังมีความกังวลว่าจะมีเกษตรกรทำนาปรังรอบสองต่อเนื่องนั้น จะส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย และไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐเพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์การประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ เนื่องจากกรมชลประทานได้มีการแจ้งเตือนถึงสถานการณ์น้ำล่วงหน้าแล้วว่าไม่สามารถส่งน้ำให้เกษตรกรได้อย่างแน่นอน  เพราะต้องมีการสำรองน้ำต้นทุนเพื่อเตรียมใช้ในฤดูเพาะปลูกในช่วงต้นฤดูฝนหากเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง

นายยุคล กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษจตรกรที่ได้รับผลกระทบในช่วงฤดูแล้งซึ่งในปีนี้ถือว่าเป็นแล้งปกติว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมการข้าวได้เตรียมแผนรองรับให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลุ่มเจ้าพระยาทั้ง 22 จังหวัดสามารถมีรายได้ในช่วงที่ไม่มีน้ำ โดยจัดให้มีโครงการฝึกอบรมอาชีพ หรือปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชอายุสั้นทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง โดยเตรียมของบกลางช่วยเหลือจำนวน 45 ล้านบาท เกษตรกรจำนวน 21,000 ราย

ด้านนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ  อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สำหรับสถานการณ์ในลุ่มเจ้าพระยาในปีนี้ถือว่าต้องมีการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือภาคเกษตรเท่านั้น แต่ต้องคำนวณปริมาณน้ำให้เพียงพอเพื่อไม่ให้กระทบถึงระบบนิเวศน์ การอุปโภคบริโภค ภาคอุตสาหกรรม และใช้เพื่อการผลักดันน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้ง ที่อาจจะส่งผลกระทบถึงการทำน้ำปะปาด้วย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแจ้งให้ทางรัฐบาลทราบ เพราะหากเกษตรกรจะมีการทำนาปรังรอบสองนั้นกรมชลประทานไม่มีน้ำสนับสนุนแน่นอน

ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view