สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อาจได้กินขนมปังผีดิบในอีก 3 ปีข้างหน้า มอนซานโต ซุ่มพัฒนา ข้าวสาลี GMO ได้เป็นครั้งแรกในโลก

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       เอเจนซีส์ - บริษัทผลิตภัณฑ์การเกษตรข้ามชาติ “มอนซานโต” สามารถพัฒนาสายพันธ์ข้าวสาลีตัดแต่งพันธุกรรมที่สามรถทนต่อวัชพืช และยาปราบศัตรูพืช “ราว์นอัพ” ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก พร้อมประกาศว่าข้าวสาลี GMO นี้พร้อมที่จะปลูกเพื่อการค้าในอีกไม่กีปีข้างหน้านี้
       
       ถึงแม้ว่าในขณะนี้ข้าวสาลีตัดต่อพันธุกรรมยังไม่ได้รับอนุญาตให้ทำ การปลูกได้ที่ประเทศใดในโลก แต่ทว่ามอนซานโตที่มีฐานอยู่ในเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี ได้ใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาข้าวสาลี GMO ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก และหัวหน้าแผนกการวิจัยของบริษัทคิดว่า มอนซานโตได้เดินมาถูกทางแล้ว
       
       ความก้าวหน้าในการวิจัยข้าวสาลีตัดแต่งพันธุกรรมซึ่งเป็น 1 ใน 29 โปรเจกต์ของบริษัท และยังเป็นการวิจัยที่อยู่ในระดับ “ระยะก้าวหน้า” เป็นที่น่าพอใจ โดยตัวแทนของมอนซานโตกล่าวผ่านการประชุมทางโทรศัพท์ในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การทดสอบนั้นได้ก้าวหน้าจากระยะ “เริ่มต้นโปรเจกต์” มาสู่ระยะ “การพัฒนาในระยะต้นแล้ว”
       
       มอนซานโตได้พัฒนาข้าวสาลีตัดต่อทางพันธุกรรมเหมือนกับที่เคยพัฒนา เมล็ดพันธุ์พืชชนิดอื่นๆเพื่อให้สามารถทนต่อ “ราว์ดอัพ” ยาปราบวัชพืชที่มีชื่อเสียงของบริษัทได้ ซึ่งทำให้สินค้าเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลี GMO จะอยู่ในกลุ่ม “RoundUp Ready” ของบริษัทที่มีทั้งถั่วเหลือง GMO และข้าวโพด GMO
       
       “เมื่อมองในแง่การตลาดพันธุ์พืชและตลาดข้าวสาลี โดยเฉพาะในตลาดการซื้อขายข้าวสาลีนั้นน่าสนใจมาก และเกื้อหนุนต่อการพัฒนาเทคโนโลยีวิศวพันธุกรรมทางการเกษตร” ผู้บริหารระดับสูงของมอนซานโต รอบบ์ ฟราลีย์ กล่าวทางโทรศัพท์ในสัปดาห์ที่ผานมา อ้างจาก เบคกิง บิซิเนส
       
       “เกษตรกรที่ปลูกข้าวสาลีเป็นกลุ่มเดียวกันที่ปลูกถั่วเหลืองและข้าว โพด พวกเขาเข้าใจคุณประโยชน์ในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเกษตรได้เป็นอย่างดี และอุตสาหกรรมข้าวสาลีได้มองเห็นประโยชน์ในเทคโนโลยีการตัดแต่งพันธุกรรม เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นถั่วเหลืองและข้าวโพดมาแล้ว ดังนั้นทางมอนซานโตจะยังคงพัฒนาให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นไปอีก” เบคกิง บิซิเนส รายงานต่อ
       
       อย่างไรก็ตาม มอนซานโตยอมรับว่าในขณะนี้ ข้าวสาลี GMO ยังห่างไกลจากความเป็นจริงที่จะสามารถผลิตเพื่อการค้าได้ “ต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีก่อนที่ผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่นี้จะสามารถวางสู่ท้องตลาด แต่กระนั้นยังรู้สึกยินดีที่เห็นความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในตัวข้าวสาลี GMO นี้” ฟราลีย์เผย
       
       จริงๆ แล้วมอนซานโตได้เริ่มแปลงทดลองปลูกข้าวสาลีตัดแต่งพันธุกรรมในปี 1998 แต่ได้หยุดลงไปในปี 2005 เพราะทางมอนซานโตคิดว่า สินค้าชนิดนี้ยังไม่พร้อมที่จะออกวางตลาดในขณะนั้น
       
       และจากในสัปดาห์ก่อนหน้านั้นที่ สื่อรัสเซีย RT รายงานว่า มอนซานโตได้ประกาศยอดขายเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองตัดแต่งพันธุกรรมที่อยู่ใน กลุ่ม “RoundUp Ready” เพิ่มถึง 16% ในไตรมาสสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2013 ถึงแม้มอนซานโตคิดว่าทิศทางการทำธุรกิจของบริษัทได้มาถูกทางแล้ว แต่ทว่ายังมีอุปสรรคใหญ่ๆ รออยู่ เพราะทุกประเทศในโลก รวมถึงสหรัฐฯ ยังประกาศห้ามข้าวสาลีตัดต่อทางพันธุกรรมอยู่ และในปี 2013 มอนซานโตมีส่วนที่ทำให้ข้าวสาลีจากสหรัฐฯถูกสั่งห้ามนำเข้าไปยังญี่ปุ่น เมี่อปรากฏว่า พบข้าวสาลี GMO ในไร่การเกษตรที่รัฐโอเรกอน สหรัฐฯ ซึ่งเป็นพื้นที่มอนซานโตเคยใช้ทดลองปลูกข้าวสาลีตัดแต่งพันธุกรรมของบริษัท และเป็นผลให้ญี่ปุ่นประกาศระงับการนำเข้าข้าวสาลีจากสหรัฐฯ ทั้งหมด
       
       นอกจากนี้ ประเทศอื่นๆ นอกจากสหรัฐฯ ยังได้ห้ามการนำเข้าสินค้าการเกษตรที่ตัดต่อพันธุกรรม โดยเมื่อเร็วๆ นี้จีนได้ปฏิเสธการนำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐฯ อย่างน้อย 5 ครั้ง เพราะเกรงว่าอาจมีข้าวโพด GMO ปนเปื้อนแอบเข้ามา


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view