สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

หวั่นปัญหาจำนำข้าวลามถึงเอสเอ็มอีแบงก์ ผู้บริหารแจงสาเหตุได้เงินล่าช้า

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

คลัง” เรียก “เอสเอ็มอีแบงก์” ชี้แจงแผนงานปี 2557 พร้อมสรุปผลงานปี 2556 ที่พลาดเป้า ทั้งปล่อยสินเชื่อ แก้หนี้เสีย ยันไม่กระทบจากโครงการรับจำนำข้าวที่จ่ายเงินให้เกษตรล่าช้า เพราะธนาคารไม่ได้รับปล่อยกู้ใบประทวนของเกษตรกร แต่เป็นการปล่อยสินเชื่อของผู้ให้เช่าคลังสินค้าที่เป็นคู่สัญญากับ อ.ต.ก.และ อคส. ซึ่งจะตั้งงบประมาณไว้อยู่แล้ว เพียงแต่ขั้นตอนการอนุมัติงบประมาณต้องผ่านการประชุมจาก กขช. ทำให้การได้เงินล่าช้าออกไป
       
       นายมนูญรัตน์ เลิศโกมลสุข กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) หรือ ธพว. เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) โดยระบุว่า เป็นการรายงานผลการดำเนินงานปี 2556 และแผนการดำเนินงานปี 2557 โดยในส่วนของปี 2556 ธนาคารมุ่งเน้นคุณภาพสินเชื่อ และสภาพคล่องของธนาคาร ทำให้ทั้งปีสามารถปล่อยสินเชื่อได้เพียง 93,000 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ได้รับ 101,500 ล้านบาท ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเป้าหมาย แต่ก็เป็นเรื่องที่ตกลงกับทางกระทรวงมาตั้งแต่แรกแล้วว่า การปล่อยสินเชื่อจะดูที่คุณภาพเป็นหลัก
       
       นายมนูญรัตน์ กล่าวถึงการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ว่า มียอดคงค้างทั้งสิ้น 31,000 ล้านบาท ลดลงจากต้นปีที่มียอดเอ็นพีแอลประมาณ 34,000-35,000 ล้านบาท เพราะแม้ว่าธนาคารจะสามารถแก้ไขเอ็นพีแอลให้กลายเป็นหนี้ปกติได้ประมาณ 8,000 ล้านบาท แต่มีเอ็นพีแอลใหม่ และหนี้ตกชั้นอีกเกือบ 5,000 ล้านบาท และธนาคารยังอยู่ระหว่างการเจรจาที่จะขายเอ็นพีแอลให้แก่บรรษัทบริหาร สินทรัพย์สุขุมวิท (SAM) อีก 3,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เอ็นพีแอล ลดเหลือเพียง 28,850 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28-29 ของสินเชื่อรวม และปี 2557 จะยังมีการขายเอ็นพีแอลออกไปด้วย แต่ต้องรอประเมินผลรอบแรกก่อนว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด
       
       สำหรับการปล่อยกู้สินเชื่อแฟกตอริ่งให้แก่ผู้ให้เช่าคลังสินค้า หรือเซอร์เวเยอร์กับองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ยืนยันว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากการจ่ายเงินในโครงการรับจำนำข้าวล่าช้าของรัฐบาล เพราะธนาคารไม่ได้รับปล่อยกู้ใบประทวนของเกษตรกร แต่เป็นการปล่อยสินเชื่อของผู้ให้เช่าคลังสินค้าที่เป็นคู่สัญญากับ อ.ต.ก.และ อคส. ซึ่งจะตั้งงบประมาณไว้อยู่แล้ว เพียงแต่ขั้นตอนการอนุมัติงบประมาณต้องผ่านการประชุมจากคณะกรรมการนโยบาย ข้าวแห่งชาติ (กขช.) ก่อน ทำให้การได้เงินล่าช้าออกไป ทำให้ผู้ให้เช่าคลังสินค้าเหล่านี้ขาดสภาพคล่อง ธนาคารก็เพียงแต่เป็นการปล่อยกู้เสริมสภาพคล่องในช่วงที่รับชำระเงินจากงบ ประมาณเท่านั้น ซึ่งเป็นโครงการที่เคยทำมาแล้ว และความเสี่ยงเป็นศูนย์
       
       “โครงการตั้งไว้ 5,000 ล้านบาท แต่ปล่อยกู้ได้จริงเพียง 600-700 ล้านบาทเท่านั้น เพราะพอมีข่าวออกไปเรื่องที่เกษตรกรไม่ได้รับเงินในโครงการรับจำนำข้าวจาก รัฐบาล ก็มองว่าจะได้รับผลกระทบไปด้วย ที่จริงไม่ใช่ เราไม่ได้รับจำนำใบประทวนของเกษตรกร เพราะทำไม่ได้ ใบประทวนเกษตรกรต้องนำไปขึ้นเงินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และโครงการนี้ถือว่าต้องจบไปเลย คงไม่ใช้เต็ม 5,000 ล้านบาทตามที่ตั้งไว้” นายมนูญรัตน์ กล่าว


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view