สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ม็อบชาวนาสุรินทร์ฮือทวงเงินจำนำข้าว

ม็อบชาวนาสุรินทร์ฮือทวงเงินจำนำข้าว

จาก โพสต์ทูเดย์

สุรินทร์-ชาวนาชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัด ทวงเงินจำนำข้าวจากรัฐบาล

กลุ่มเกษตรกรชาวนาชาวจ.สุรินทร์ กว่า 2,000 คน เดินทางมาจาก 17 อำเภอของจังหวัดสุรินทร์ นำโดย นายกอบสิน พ่อค้า ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์, เครือข่ายผู้แทนเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ และผู้สมัครสส.สุรินทร์ พรรคภูมิใจไทย  ประกอบด้วย นายปกรณ์  มุ่งเจริญพร เขต 1 นายสุริยะ  ร่วมพัฒนา เขต 3 และนายพรชัย  มุ่งเจริญพร เขต 8  ร่วมชุมนุมที่บริเวณสนามด้านหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ พร้อมติดตั้งเวทีปราศรัยผ่านเครื่องขายเสียงและป้ายข้อความต่างๆ เพื่อเรียกร้องเงินจากการจำนำข้าวกับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 (ครั้งที่ 1)

ทั้งนี้ ชาวนาได้รับความเดือดร้อนหนัก เนื่องจากยังไม่ได้รับเงินค่าข้าวเปลือกที่นำไปจำนำมานานกว่า 3 เดือนแล้ว ซึ่งรัฐบาลยังไม่สามารถจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้แก่เกษตรกรได้ โดยจ่ายได้เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ส่วนเกษตรกรที่เหลืออีกกว่า 5.6 หมื่นราย คิดเป็นเงินกว่า 5,500 ล้านบาท ยังต้องคอยเพื่อรอทำสัญญา และเบิกรับเงินจากธนาคาร ธ.ก.ส. ในแต่ละสาขา โดยไม่สามารถรู้คำตอบที่แน่ชัดจากรัฐบาล และหน่วยงานของรัฐว่า จะจัดหาเงินจากแหล่งใดมาจ่ายให้กับเกษตรกร จึงได้รวมตัวกันมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องเงินค่าจำนำข้าวจากรัฐบาลในครั้งนี้ พร้อมทั้งยื่นหนังสือข้อเรียกร้องของเกษตรกรผ่านผวจ.สุรินทร์  ถึงนายกรัฐมนตรีได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแก้ไขปัญหาการเบิกจ่ายเงิน ค่าจำนำข้าวเปลือกให้แก่เกษตรกรโดยเร่งด่วน มิฉะนั้นเกษตรกร จ.สุรินทร์ จะยกระดับการชุมนุมให้เข้มข้นขึ้น อาจถึงขั้นปิดถนนเพื่อให้รัฐบาลหันมาดูแลชาวนาให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ขณะเดียวกันยังแจกจ่ายและอ่านแถลงการณ์เครือข่ายผู้แทนเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ เรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของเกษตรกร กรณีการจ่ายเงินค่าข้าวเปลือกตามโครงการรับจำนำข้าวฯ เป็นไปด้วยความล่าช้า สร้างภาระหนี้สินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้จากรถเกี่ยวข้าว ค่าปุ๋ย เงินกู้นอกระบบ เงินกองทุนต่างๆ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน รุมเร้าสารพัดปัญหาสร้างความทุกข์ความเดือดร้อนแก่เกษตรกรชาวนาสุรินทร์ซ้ำซากขาดการเหลียวแลจากรัฐบาล

นายกอบสิน ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์  กล่าวว่า ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์เร่งรัดในการ ดำเนินการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จ่ายเงินให้เป็นไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่โครงการกำหนดโดยเร่งด่วน หากภายใน 2 สัปดาห์ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา จะยกระดับการต่อสู้ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรชาวนาทั่วประเทศเข้ากรุงเทพฯเพื่อทวงหนี้กับรัฐบาลต่อไป โดยมีนายพิภพ  ดำทองสุข  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้ลงมารับหนังร้องเรียนจากแกนนำม็อบและกล่าวว่าจะดำเนินการตามที่เกษตรกรเรียกร้องโดยเร็วที่สุด   จากนั้นผู้ชุมนุมจึงได้สลายตัวในเวลาต่อมา


ม็อบชาวนา-ข้าวโพดทวงเงินค่าจำนำ

จาก โพสต์ทูเดย์

เพชรบูรณ์-กลุ่มชาวนาและข้าวโพดชุมนุมหน้าศูนย์ราชการจังหวัด ทางเงินหลังจำนำ 4 เดือนยังไม่ได้รับเงิน

กลุ่มชาวนาเพชรบูรณ์จาก 14 หมู่บ้านของต.วังชมพู อ.เมืองเพชรบูรณ์  ได้ชุมนุมกันที่หน้าศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเร่งรัดให้รัฐบาลและธ.ก.ส.จ่ายเงิน หลังนำข้าวเปลือกเข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล แต่ถูก ธ.ก.ส. ปฎิเสธการจ่ายเงินหลังนำใบประทวนไปขึ้นเงิน ทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะมีปัญหาเรื่องภาวะหนี้สินที่จะต้องจ่าย จึงพากันมาติดตามทวงถาม

ต่อมานายชัยพร ประกอบการณ์ ผู้ช่วย ผอ.ธ.ก.ส.เพชรบูรณ์ มาเจรจาพร้อมชี้แจงว่า ในเดือนม.ค.รัฐบาลจะนำเงินเข้าระบบจำนวน 1.3 แสนล้านบาท จะทำให้จ่ายเงินให้แก่ชาวนาได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐบาล รัฐบาลคงจะหาเงินมาจ่ายได้ครบตามโครงการซึ่งตามกำหนดจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค.นี้ ระหว่างนี้ชาวนาสามารถกู้เงินดอกเบี้ยตามชั้นลูกค้ามาใช้จ่ายก่อน กรณีที่ชาวนาขอให้ปลอดดอกเบี้ยจะรับไปเสนอทางสำนักงานใหญ่

อย่างไรก็ตาม กลุ่มชาวนาบางส่วนต่างแสดงความไม่พอใจกับคำชี้แจงดังกล่าว บางรายที่ขู่ว่าหากไม่มีความชัดเจนและยังไม่ได้รับเงินก่อนวันที่ 13 ม.ค.นี้ ก็จะไปสมทบกับกำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส.พร้อมทั้งยังกล่าวตำหนิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่เห็นใจเกษตรกร โดยเฉพาะเวลาหาเสียงรับปากไว้แต่ก็ทำไม่ได้

วันเดียวกันยังมีม็อบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จ.เพชรบูรณ์ นำโดยนายศักดิ์ชัย  ลาภพรศิริกุล และนายวิรัช บุญคุณ มาติดตามเรื่องเกษตรกรที่ยื่นเอกสารขอรับเงินชดเชยตามโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาล จำนวน 291 ราย ที่ยื่นเอกสารไปก่อนและยังไม่ได้รับเงินชดเชย การจ่ายเงินชดเชยเป็นไปด้วยความล่าช้า

ด้านนายสุชาติ ราษฎร์ดุษดี รอง ผวจ.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า ทางจังหวัดมีหนังสือติดตามไปยังกระทรวงพาณิชย์และทราบว่า อยู่ระหว่างยื่นขออนุมัติจ่ายเงิน 96 ล้านบาทจาก กกต. เนื่องจากอยู่ระหว่างมีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง สส. นอกจากนี้ยังมีปัญหาโควต้าไม่พออีกด้วย

ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view