สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รอยล จับตาปริมาณน้ำปี57เจ้าพระยาจ่อวิกฤติ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"รอยล"จับตาปริมาณน้ำ ปี 57 น้ำเค็มรุก-เจ้าพระยาจ่อวิกฤติ

นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สสนก. เปิดเผยสถานการณ์น้ำฝนในปี 2557 จากการผลการวิเคราะห์โดยแบบจำลองสภาพอากาศว่า ในปี 2557 ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนสูงกว่าปกติในช่วง 1,500-1,600 มิลลิเมตร มากกว่าปี 2556 ซึ่งปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ 1,400 มิลลิเมตรปัจจัยทางสมุทรศาสตร์และมรสุม ที่ยังคงมีอิทธิพลกับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมมรสมุตะวันออกเฉียงใต้ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิค และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งผลการวิเคราะห์จากแบบจำลองโดยทีม สสนก. มีความใกล้เคียงกับผลการวิเคราะห์โดย APAC Climate Change ทำให้มั่นใจได้ว่าสถานการณ์น้ำในปี 2557 จะใกล้เคียงกับปี 2545

"ปริมาณน้ำจะมากในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง แต่ปริมาณน้ำจะไม่เท่ากับปี 2554 ที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ โดยฤดูฝนจะเริ่มในเดือน พ.ค. ทำให้มีฝนตกมากในภาคตะวันออก เช่น จังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง ในเดือน ม.ค-มี.ค โดยรวมทั้งประเทศจะมีฝนใกล้เคียงค่าปกติ แต่ภาคกลางตอนล่างจะมีปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติ"

นายรอยล บอกว่า ผลจากการคาดการณ์สภาพอากาศล่วงหน้า 3 เดือนและ 6 เดือน ทำให้สามารถวางแผนจัดสรรน้ำเพื่อรองรับกับความต้องการใช้น้ำในประเทศแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือการใช้น้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค การใช้น้ำเพื่อการเกษตร และการใช้น้ำเพื่อป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำ โดยอาศัยปริมาณน้ำในเขื่อนเป็นตัวตั้งภาพรวมการใช้น้ำของประเทศ 62% เป็นการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด ที่ถึงแม้จะคำนวนปริมาณการใช้น้ำสำหรับทำการเกษตรเอาไว้ชัดเจน แต่ความจริงที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี คือเกษตรกรปลูกพืชมากว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ โดยเฉพาะการทำนาที่มากกว่าปีละ 2 ครั้ง ตามปริมาณน้ำที่มีอยู่ เช่นในปี 2556 ได้สำรองน้ำสำหรับภาคการเกษตร 4 ล้านไร่ แต่มีการใช้จริงถึง 6 ล้านไร่

อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ปัจจุบัน จากสภาพอากาศของประเทศไทยมีที่อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็วใน 2 พื้นที่ คือภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจุดศูนย์กลางความกดอากาศสูงอยู่ที่ประเทศจีน ค่อนไปทางทิเบต ทำให้อากาศแห้ง และโอกาสที่ปี 2557 จะแห้งแล้งมีค่อนข้างสูงปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำเกินครึ่งมาเพียงเล็กน้อย ซึ่งถือว่าน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี โดยเขื่อนภูมิพลปริมาณน้ำที่ใช้ได้คือ 3,478 ล้านลบ.ม. และเขื่อนสิริกิติ์ 2,979 ล้านลบ.ม. และเขื่อนแควน้อย 568 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งทั้ง 3 เขื่อนเป็นเขื่อนหลักที่ทำหน้าที่จ่ายน้ำให้กับภาคการเกษตร ได้ 3 ล้านไร่ ตลอดช่วงฤดูแล้งในปีหน้าดังนั้น หากปริมาณการใช้น้ำในภาคการเกษตรมากขึ้นจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ในภาคเหนือ และลุ่มน้ำเจ้าพระยาภาคกลาง ซึ่งการแก้ไขจะต้องทำในภาครวม ซึ่งปัจจุบันบนแนวโน้มการใช้น้ำในภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นถึง 6 ล้านไร่นอกจากนี้ ตามแผนจัดสรรน้ำได้มีการสำรองน้ำไว้ 1,800 ล้านลบ.ม. เพื่อใช้แก้ปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ ซึ่งในปี 2557 กรมอุทกศาสตร์ได้คาดการณ์ว่าในปี 57 ระดับน้ำทะเลค่อนข้างสูงส่งผลต่อระดับน้ำเค็ม ที่ปัจจุบันสถานกาณ์การรุกของน้ำเค็มได้กินเวลานานขึ้น จาก 8 ชั่วโมง เป็น 12 ชั่วโมง จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาโดยพยายามรักษาน้ำจืดเอาไว้ให้มากที่สุดเพื่อใช้ในการผลักดันน้ำเค็ม ซึ่งส่งผลต่อการเกษตรอาชีพประมงน้ำกร่อย ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นครปฐม ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพมหานคร


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view