สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผู้ส่งออกกุ้งลั่น2 ปีขอทวงแชมป์คืน

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สมาคมกุ้งไทยหวังอีก2ปีทวงแชมป์กุ้งคืน หลังปีนี้ส่งออกวูบไม่เกิน 2 แสนตัน ปีหน้าคาดเริ่มฟื้นตั้งเป้าผลิตได้ 3.2 แสนตันเพิ่มขึ้น 20%

นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย กุ้งไทย' class='anchor-link' target='_blank'>นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์กุ้งในปีนี้ถือว่าสาหัสมากจากการโรคตายด่วนหรืออีเอ็มเอสยังมีการระบาดอยู่ใาจณะที่เกษตรกรไมั่นใจจะลงกุ้งในบ่อ ทำให้ปริมาณกุ้งในปีนี้มีเพียง 2.5แสนตันเท่านั้นลดลงจากปีที่ผ่านมา 54% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากทั้งโลกที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดรวม 1,815,000ตัน ลดลง 11% ส่งผลให้การส่งออกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาทำได้เพียง 175,713 ตันเท่านั้น ลดลง 38.40%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มูลค่า 56,274 ล้านบาทลดลง 28.89%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คาดว่าทั้งปีจะส่งออกได้ไม่เกิน 200,000 ตันเท่านั้น มูลค่าประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มสถานการณ์กุ้งในปี 2557 คาดว่าจะดีขึ้นเรื่องจากไทยได้ผ่านจุดวิกฤติที่สุดมาแล้วในปี 2556 ปัญหาอีเอ็มเอสหลายฝ่ายได้วิเคราะห์และร่วมกันแก้ไข อย่างหลากหลายวิธี ทั้งการอนุบาลบูกกุ้งก่อนลงบ่อเลี้ยง มีการเลี้ยงด้วยไบโอระบบซิเคียวริตี้ ซึ่งและฟาร์มก็ได้ผลที่แตกต่างกันไป แต่ปัญหาอีเอ็มเอสก็คลี่คลายลงตามลำดับ

ประกอบกับราคากุ้งที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากจะจูงใจให้เกษตรกรลงกุ้งในบ่อมากขึ้น คาดว่า ผลผลิตในปี57จะอยู่ที่ 300,000 -320,000 ตัน เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณ และมูลค่าประมาณ 20% แต่ทั้งนี้ปัญหาการระบาดของอีเอ็มเอสดังกล่าวจะต้องใช้ระยะเวลาแก้ไข่อย่างน้อย 1-2 ปีข้างหน้าเป็นอย่างเร็ว แต่ในภาพรวมความร่วมมือของอุตสาหกรรมกุ้งทั้งระบบ ที่ตั้งใจในการแก้ไขปัญหานี้จะทำให้ไทยกลับมาเป็นผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่อีกครั้งใน 2ปีข้างหน้าอย่างแน่นอน

สำหรับปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2557 ในส่วนของปัญหาแรงงานที่สหรัฐอเมริกาจะจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองการใช้แรงงานอย่างผิดกฎหมาย หรือขั้นที่ 3 นั้นปัจจุบันพบว่าจากที่อุตสาหกรรมประมง 8 สมาคมรวมกันจัดตั้งเป็นสมาพันธ์ประมงแห่งชาติ โดยที่หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนนั้น ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของไทยในสายตาของสหรัฐฯ เริ่มดีขึ้น และมีความเป็นไปได้ที่จะไม่ปรับให้ไทยอยู่ในบัญชีขั้นที่ 3 โดยเรื่องนี้ทางสมาพันธ์ จะติดตามอย่างใกล้ชิดและน่าจะทีข่าวดีในเดือน ก.พ. 2557 นี้

ปัญหาการตัดสิทธิพิเศษทางด้านภาษี หรือ จีเอสพี ของสหภาพยุโรป หรืออียู ที่จะส่งผลให้ภาษีกุ้งแช่แข็งของไทยเพิ่มขค้นจาก 7 เป็น 20% ในปีหน้านั้น ทางสมาคมได้ทำหนังสือถึงสถานฑูตอียูประจำประเทศไทย เพื่อขอความเป็นธรรม โดยระยุว่ากุ้งของไทยปัจจุบันมีปัญหาเรื่องการระบาดของโรคอีเอ็มเอส ซึ่งทำให้ผลผลิตลง หากต้องมีการตัดจีเอสพี อีกจะเป็นการซ้ำเติมกุ้งของไทย ประกอบกับอียู ได้ประกาศผ่อนผันจีเอสพีให้กับเอกวาดอร์ไปแล้ว อีก 1 ปี ซึ่งไทยก็อยู่ในกลุ่มนี้ ดังนั้น อียู่น่าจะพิจารณากับไทยในลักษณะเดียวกัน และจะส่งผลให้ไทยมีเวลาเพิ่มขึ้นอีก 1 ปีเพื่อรอให้รัฐบาลเจรจาการเปิดเขตการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอ ระหว่างไทยกับอียู หากประสบผลสำเร็จจะส่งผลให้ไทยไม่มีความจำเป็นจะใช้สิทธิในจีเอสพีอีกต่อไป ในขณะที่ตลาดกุ้งในอียูยังมีความต้องการนำเข้ามากถึงปีละ 7 แสนตันไทยมีสัดส่วนในตลาดนี้เพียงปีละ 5-6 หมื่นตันเท่านั้นถือว่าน้อยมาก

กรณีปัญหาการฟ้องมาตรการทุ่มคลาด หรือเอดี ของสหรัฐฯ ในขณะนี้สถานการณ์ได้คลี่คลายลงมาก ภาษีที่เรียกเก็บไม่สูงมาก และไม่มีผลต่อการแข่งขันการตลาด แต่สิ่งที่สมาคมกุ้งไทยมีความกังวลมากคือ การที่กรมประมงเปิดให้มีการนำเข้ากุ้งจากอินโดนีเซียและอินเดีย เดือนละ20,000ตันเริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค. นี้เป็นต้นไปตามข้อเสนอของสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ทางสมาคมฯเห็นว่าอินโดนีเซียเป็นบ่อเกิดของโรค ไอเอ็มเอ็นที่ระบาดมากในปี 2552-2553 ปัจจุบันยังไม่ชัดเจนถึงการแก้ไขปัญหา การนำเข้ากุ้งจากออนโดนีเซียจึงเสี่ยวต่อการระบาดของโรคดังกล่าวในไทย และจะเป็นผลในระยะยาว

ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมาทางสมาคมกุ้งไทยจึงทำหนังสือถึงกรมประมงให้ยับยั้งการนำเข้ากุ้งจากอินโดนีเซียดังกล่าว และควรมีการตรวจสอบที่มาจองแหล่งผลิตให้ชัดเจน รวมทั้งควรกำหนดกรอบระยะเวลาการนำเข้าให้ชัดเจนเนื่องจากการนำเข้ากุ้งดังกล่าวจะส่งผลต่อราคากุ้งในประเทศที่คาดว่าจะผลิตได้มากขึ้นในปีหน้า โดยระยะเวลาการนำเข้ากุ้งที่เหมาะสมอยู่ในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. 2557 เท่านั้น เพราะผลผลิตกุ้งในประเทศจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือน เม.ย.


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view