สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โลกใหม่ 8.8 พันล้านดวง รอการสำรวจ

จากประชาชาติธุรกิจ

ทีมนักดาราศาสตร์ที่่้อุทิศเวลาให้กับการ "ล่าดาวเคราะห์" เพิ่งเผยแพร่ผลการศึกษาข้อมูลล่าสุดที่ได้จากโครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เคปเลอร์ ขององค์การบริหารการบินอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ของสหรัฐอเมริกา ผ่านทางวารสาร โปรซีดดิ้ง ออฟ เดอะ เนชั่นแนล อคาเดมี ออฟ ไซน์ซ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ระบุว่า ดาวเคราะห์ที่มีลักษณะเบื้องต้นคลับคล้ายกับโลกที่เราใช้ชีวิตอยู่ในเวลานี้ นั้น อาจจะมีมากกว่าที่เราคิดกันไว้มากมายเลยทีเดียว

เป็นการสรุปในทำนองที่ว่า แม้จักรวาลนี้จะกว้างใหญ่ไพศาล แต่มีความเป็นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆว่า "เรา" ที่หมายถึง "มนุษยชาติ" นั้นในที่สุดแล้วอาจไม่ได้อยู่เพียงลำพังแต่อย่างใด

เหตุผลสำคัญก็ คือ จากการประเมินเบื้องต้น โดยใช้วิธีการ "คำนวณ" ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด พบว่ามีดาวเคราะห์ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับโลก ซึ่งโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับดวงอาทิตย์ของเรา และอยู่ห่างออกมา ในระยะที่พอเหมาะ ไม่ร้อนเกินไป ไม่หนาวเกินไปสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น มีอยู่มากถึง "อย่างน้อย" 8,800 ล้านดวง

 


และทั้งหมดนั่นเป็นเพียงแค่ภายในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา เพียงกาแล็กซีเดียวเท่านั้น ในขณะที่ทั้งจักรวาลมีกาแล็กซีอยู่มากมายอีกหลายพันล้านแกเล็กซีนัก

เจฟฟ์ มาร์ซี ผู้เขียนร่วมของรายงานชิ้นดังกล่าวนี้ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ ที่เป็นพวก "แพลเนท ฮันเตอร์" มายาวนาน บอกว่า ในขั้นตอนต่อไปจากนี้ ก็คือ การรอคอยให้มี "กล้องโทรทรรศน์อวกาศ" ที่มีพลานุภาพสูง ซึ่งจะถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศเพื่อทำหน้าที่แทนที่ เคปเลอร์ ซึ่งกลายเป็นกล้องพิกลพิการไปแล้วในเวลานี้ เพื่อที่จะใช้สำรวจเบื้องต้นต่อไปว่า มีดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งในจำนวนกว่า 8,000 ล้านนี้ สามารถเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่

"การค้น พบครั้งนี้ ยังทำให้เกิดคำถามสำคัญตามมาอีกด้วยว่า ถ้าเราไม่ได้อยู่เพียงลำพังในจักรวาลอันกว้างใหญ่นี้ ทำไมที่ผ่านมาเราถึงไม่ได้รับการติดต่อจากอารยธรรมก้าวหน้าจากโลกอื่น?"

การ คำนวณครั้งนี้อาศัยพื้นฐานของข้อมูลที่เคปเลอร์ เทเลสโคป ส่งลงมาให้ในช่วงระยะเวลา 4 ปีที่ทำงานอยู่ในห้วงอวกาศ ตรวจสอบไปยังพื้นที่แคบๆ ส่วนหนึ่งของกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา เมื่อนำมาประมวล วิเคราะห์ ทั้งหมดแล้ว นักดาราศาสตร์พบว่า ในทางช้างเผือก มีดาวฤกษ์เหมือนดวงอาทิตย์อยู่ราว 1 ใน 5 ของดาวฤกษ์ทั้งหมด ที่ว่าเหมือนกัน เป็นการเปรียบเทียบลักษณะเบื้องต้นทั้งในเรื่องของ ขนาด สีสัน ช่วงอายุ และนอกจากนั้นยังมีดาวเคราะห์ซึ่งโคจรอยู่โดยรอบของดาวฤกษ์ดังกล่าวนั้นที่ มีขนาดพอๆ กันกับโลก และดาวเคราะห์ที่ว่านั้นยังอยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ จะมีน้ำในลักษณะที่เป็นของเหลวคงอยู่ได้ ซึ่งเป็นคุณลักษณะ "เอื้อ" ต่อการมีสิ่งมีชีวิตอยู่

เมื่อนำมาคำนวณ คิดเป็นสัดส่วนออกมา นักวิทยาศาสตร์พบว่า สัดส่วนของดาวฤกษ์ซึ่งมีดาวเคราะห์คล้ายโลก อยู่ด้วยนั้น มีมากถึง 22 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด ค่าความผิดพลาดอยู่ที่บวกหรือลบ 8 เปอร์เซ็นต์

ในกาแล็กซีของเรามี ดาวฤกษ์อยู่ราว 200,000 ล้านดวง ที่มีคุณลักษณะคล้ายกับดวงอาทิตย์มีอยู่ราว 40,000 ล้านดวงเรื่อยไปจนถึงใกล้ๆ 50,000 ล้านดวง ดังนั้น มาร์ซีบอกว่า จึงมีอยู่อย่างน้อย 11,000 ล้านดวง หรืออย่างน้อยที่สุด 8,800 ล้านดวงที่มีดาวเคราะห์คล้ายโลกโคจรอยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นการคำนวณในลักษณะที่นักดาราศาสตร์ทั่วๆ ไปก็ยอมรับว่ามีความเป็นไปได้สูงและเป็นธรรมดี

บิล โบรุคกี หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการเคปเลอร์ของนาซา กล่าวติดตลกถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ถ้าหากมนุษย์เราสามารถท่องไปในอวกาศห้วงลึกได้ อาจพบว่าที่นั่นมีอาการ "ติดขัด" เหมือนกับการจราจรบนพื้นโลกก็เป็นได้

 

ที่มานสพ.มติชน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view