สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สว.อัดจำนำข้าวทำชาติพังเสี่ยงขาดทุน1ล้านล.

สว.อัดจำนำข้าวทำชาติพังเสี่ยงขาดทุน1ล้านล.

จาก โพสต์ทูเดย์

สว.เปิดอภิปรายรัฐบาล อัดจำนำข้าวพาชาติพัง หวั่นปล่อยไว้เสี่ยงขาดทุนถึง 1 ล้านล.บาท

การประชุมวุฒิสภาที่มีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ได้มีวาระพิจารณาญัตติอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)แถลง ข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มี การลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้นำครม.มารับฟังการอภิปราย

ทั้งนี้ นายนิคม แจ้งต่อที่ประชุมถึงกรอบเวลาในการอภิปรายว่า การอภิปรายในครั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.เรื่องการรับจำนำข้าว 2.ปัญหาราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน 3.ปัญหาประมง และ 4.ผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ โดยกำหนดให้สว.มีสิทธิ์อภิปรายได้เพียง 10 นาที

ต่อมา พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี สว.สรรหา ในฐานผู้เสนอญัตติได้อภิปรายเป็นคนแรกว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้เงินในการรับจำนำข้าวไปแล้วโดยไม่รวมค่าบริหาร จัดการประมาณ 4.6 แสนล้านบาท แต่ขายข้าวได้เพียง 1.1 แสนล้านบาท ทั้งที่รัฐบาลลงทุนไปกับโครงการนี้ประมาณ 6 แสนล้านบาท ส่งผลให้ขาดทุนประมาณ 5 แสนล้านบาท

พล.ต.ท.ยุทธนา กล่าวว่า ในกรณีของการจำหน่ายข้าวถุงนั้นคณะอนุกรรมาธิการติดตามตรวจสอบเรื่องการ ระบายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลจากโครงการรับจำนำข้าว วุฒิสภา ได้ตรวจสอบพบว่าคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวได้ดำเนินการผลิตข้าวถุงใน ราคาประมาณ 1.3 หมื่นบาทต่อตัน ซึ่งบริษัท เจียเม้ง จำกัดเป็นผู้รับปรับปรุงข้าวและขนส่งข้าวให้กับตามร้านค้าทั่วไป ปรากฏว่าข้าวขององค์การคลังสินค้า(อคส.)ไม่ได้รับความนิยม ต่อมาคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) มีมติเมื่อวันที่ 13 ก.พ.2555 ที่ผ่านมาให้ลดราคาเหลือประมาณ 7 พันบาทต่อตัน

พล.ต.ท.ยุทธนา กล่าวว่า ขณะเดียวกันยังตรวจพบอีกว่าบริษัทที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดจำหน่าย ข้าวถุงมีจำนวน 3 บริษัท ได้แก่ 1.บริษัท สยามรักษ์ จำกัด 2.บริษัทคอนไซน์ เทรดดิ้ง จำกัด และ 3.บริษัท ร่มทอง จำกัด ซึ่งทั้ง3บริษัททั้งหมดนี้ไม่เคยมีความรู้เรื่องการค้าขายข้าวมาก่อน โดยบริษัทสยามรักษ์ เป็นบริษัททำไม้กระดาษส่งออกต่างประเทศ บริษัทร่มทองตั้งอยู่ที่เชียงใหม่เป็นบริษัทรับปลูกสร้างอาคารและบ้านจัดสรร เช่นเดียวกับบริษัทคอไซน์ก็เป็นบริษัทที่รับก่อสร้างอยู่ในกทม.

"ทำไมกขช.ถึงไม่ได้รับกำกับดูแลในเรื่องนี้ เพราะบริษัทสยามรักษ์ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งเมื่อปี 2533 แต่ต่อมาปี 2553 เลขานุการของรมว.พาณิชย์เข้ามาเป็นกรรมการบริหารของบริษัท ซึ่งเลขานุการคนนี้ก็ยังเป็นคณะอนุกรรมการเกี่ยวการระบายข้าวของรัฐบาลเกือบ ทุกคณะด้วย" พล.ต.ท.ยุทธนา กล่าว

พล.ต.ท.ยุทธนา กล่าวว่า ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ปรับปรุงจะทำความเสียหายให้กับโครงการรับจำนำข้าวอย่าง มาก โดยในปีหน้าจะมีหนี้จากโครงการนี้ไม่ต่ำกว่า 6 แสนล้านบาทและอาจจะถึง 8 แสนล้านบาท และ 1 ล้านล้านบาทในปีต่อๆไปตราบใดรัฐบาลยังไม่ทบวนโครงการนี้ ซึ่งระบบเศรษฐกิจไทยจะพังทั้งระบบ

ถัดมา นายคำนูณ สิทธิสมาน สว.สรรหา กล่าวว่า นโยบายจำนำข้าวสร้างภาระหนี้สาธารณะให้กับประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นบาป 3 ประการ หรือ บาปยกกำลัง3 บาปที่ 1 คือ การเกิดการทุจริตในทุกขั้นตอนของการดำเนินการ บาปที่ 2 การทุจริตในการทำลายข้าวไทยทั้งด้านคุณภาพและกลไกการตลาด และบาปที่ 3 เป็นการทุจริตที่อ้างทฤษฎีปฏิวัติสังคมมากล่าวอย่างน่าละอายด้วยการอ้างว่า ชาวนาได้ประโยชน์

"อยากให้รัฐบาลเดินหน้าด้วยความกล้าหาญว่าจะปรับลดปริมาณการรับจำนำข้าว ไม่มีใครปฏิเสธนโยบายประชานิยมแต่ควรใช้ภายใต้ระยะเวลาจำกัดเพื่อเยียวยา อาการเบื้องต้นเท่านั้น ในทางกลับกันหากยังใช้นโยบายประชานิยมต่อไปเรื่อยๆจะมีผลให้ปัญหาเรื้อรัง ต่อไป" นายคำนูณ กล่าว

สว.สรรหา กล่าวว่า ทำไมรัฐบาลไม่เอาเงินที่บอกว่าขาดทุนปีละ 1 แสนล้านบาทมาพัฒนาเพิ่มมูลค่าการผลิตหรือการส่งเสริมการวิจัยข้าวทั้งระบบ เพื่อให้กลับเข้ามาสู่กลไกตลาดได้เร็วรวมไปถึงการสร้างโครงสร้างป้องกันการ ทุจริตทุกขั้นตอน


วราเทพยันจำนำข้าวขาดทุนแต่ชาวนาได้ประโยชน์

จาก โพสต์ทูเดย์

วราเทพ แจงข้าวเจ๊งไม่ใช่การทุจริต รับสภาพขาดทุนได้เพราะชาวนาได้ประโยชน์

การประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาญัตติอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)แถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการ บริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 ในช่วงบ่ายยังเป็นไปตามปกติ โดยมีสว.ได้อภิปรายไปแล้วจำนวน 22 คนจากทั้งหมด 52 คน

นายวราเทพ รัตนากร รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี และ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า ข้าวราคาตันละ 1.5 หมื่นบาทมีความเป็นไปได้ยากเพราะวิถีการเพาะปลูกได้เปลี่ยนแปลงไป โดยปัจจุบันเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้วก็ไม่ได้มีการเอาไปตากให้แห้ง ส่งผลให้ข้าวมีความชื้นและจำเป็นต้องตัดลดทอนราคาจำนำข้าวลง ที่สุดแล้วจะได้ราคาประมาณ 1.2-1.3 หมื่นบาทขึ้นอยู่กับความชื้น

"ผมเชื่อมั่นว่า 2 ปีที่ผ่านมา ชาวนาส่วนใหญ่มีโอกาสลืมตาอ้าปากได้ โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่ติดค้างมานาน หรือคุณภาพชีวิตที่ขาดทุนมาโดยตลอด และผมเชื่อว่าโครงการรับประกันรายได้ของรัฐบาลก่อนหน้านี้ก็ให้ความช่วย เหลือชาวนาเหมือนกันแต่ยังไม่เพียงพอ" นายวราเทพ กล่าว

นายวราเทพ กล่าวว่า ยอมรับการรับจำนำข้าวในราคา 1.5 หมื่นบาทเป็นราคาที่สูงถ้าเทียบกับราคาตลาดในตอนนี้ และไม่ปฏิเสธว่ารัฐบาลต้องรับภาระการขาดทุน อย่างไรก็ตาม อยากให้ลองคิดกันว่านี่คือการชดเชยให้ชาวนาบ้างก็จะช่วยให้ความรู้สึกที่มี ต่อการใช้เงินของรัฐบาลน่าจะดีขึ้น โดยอย่าเหมารวมว่าการขาดทุนในโครงการ 4 แสนล้านบาทเป็นการทุจริตไปทั้งหมด เพราะวันนี้ชาวนาได้รับเงินจากโครงการรับจำนำสูงกว่าเอาไปขายในตลาดเองอย่าง แน่นอน

"ผมเชื่อมั่นว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรมันจะไม่ลบเลือนไป ใครไปดำเนินการและมีทุจริตตรงไหนยังมีหลักฐานอยู่ วันนี้มีกระบวนการตรวจสอบที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เราก็ต้องดูผลกันต่อไป แต่ผมไม่เชื่อว่าชาวนาจะไปร่วมขบวนการทุจริต" นายวราเทพ กล่าว

จากนั้นการอภิปรายได้เข้าสู่ประเด็นปัญหายางพาราและปาล์มน้ำมัน ซึ่งมีสว.เตรียมอภิปรายจำนวน 11 คน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view