สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แพทย์เตือนนักท่องเที่ยวระวังโรคไข้รากสาดใหญ่ที่นิยมเที่ยวภูเขา-ดอย

จากประชาชาติธุรกิจ

นายแพทย์พิษณุ ขันติพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน เปิดเผยว่า ขณะนี้สภาพอากาศ ในประเทศไทยเริ่มหนาวเย็นลง ประชาชนมักเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นซึ่งจังหวัดน่าน ถือว่าเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวตามภูเขา หรือตามดอย เพราะมีบรรยากาศที่เย็นสบายเหมาะแก่การกางเต็นท์นอนจึงอยากเตือนนักท่อง เที่ยวหรือประชาชนให้ระมัดระวังตัวไรอ่อน (chigger)กัด เมื่อตัวไรเมื่อกัดคนจะปล่อยเชื้อที่เรียกว่าริกเก็ตเซีย (Rickettsia) โรคไข้รากสาดใหญ่หรือสครับไทฟัส (Scrub typhus) ซึ่งมีพาหะนำโรค คือ ไรอ่อนกัดมีระยะฟักตัวประมาณ6-21วัน แต่โดยทั่วไปประมาณ10-12 วัน

 

โดยไรอ่อนมักจะเข้าไปกัดบริเวณร่มผ้า เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ ขาหนีบ เอว ลำตัวบริเวณใต้ราวนม รักแร้ และคอ โรคนี้จะพบมากในช่วงฤดูฝน และต้นฤดูหนาว อาการที่สำคัญ ได้แก่ ปวดศีรษะอย่างรุนแรงบริเวณขมับและหน้าผาก ตัวร้อนจัด มีไข้สูง 40-40.5 องศาเซลเซียส หนาวสั่น เพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดกระบอกตา เยื่อบุตาแดง และเยื่อบุช่องปากแดงบริเวณที่ถูกไร่อ่อนกัด เมื่อกดจะเจ็บ มีจุดสีแดงคล้ำบางรายมีแผลคล้ายถูกบุหรี่จี้กัด เมื่อกดจะเจ็บ มีอาการไอแห้งๆ ไต ตับ ม้ามโต และผู้ป่วยร้อยละ30-40 จะพบแผลคล้ายบุหรี่จี้ (eschar) ตรงบริเวณที่ถูกไรอ่อนกัด มีสีแดงคล้ำ เป็นรอยบุ๋ม ไม่คัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรค ผู้ป่วยประมาณร้อยละ20-50 อาจจะมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ การอักเสบที่ปอด สมอง ในรายที่อาการรุนแรงอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วมาก ความดันโลหิตต่ำ อาจถึงขั้นช็อก เสียชีวิตได้ โดยบริเวณที่มีตัวไรชุกชุม ได้แก่ บริเวณป่าโปร่ง ป่าละเมาะ บริเวณที่มีการปลูกป่าใหม่ หรือตั้งรกรากใหม่ พื้นที่ทุ่งหญ้าชายป่า หรือบริเวณมีต้นไม้ใหญ่ที่แสงแดดส่องไม่ถึง ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่มียารักษาให้หายได้ ทั้งนี้ จึงขอให้ประชาชนที่จะไปท่องเที่ยวตั้งแคมป์ไฟ กางเต็นท์นอนในป่า เก็บกวาดบริเวณค่ายพักให้โล่งเตียน หลีกเลี่ยงการนั่งและนอนบนพื้นหญ้า บริเวณพุ่มไม้ ป่าละเมาะ หรือหญ้าขึ้นรก ควรใส่รองเท้า ถุงเท้า ที่หุ้มปลายขากางเกงไว้ และเหน็บชายเสื้อเข้าในกางเกง ใส่เสื้อแขนยาวปิดคอ ใช้ยาทากันแมลงกัด ตามแขนขาแต่ไม่แนะนำให้ใช้ในรายที่ผิวหนัง มีรอยถลอกหรือมีแผล และไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า4ปี เพราะเด็กอาจเผลอขยี้ตาหรือหยิบจับอาหารและสิ่งของใส่ปาก ทำให้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายเป็นอันตรายได้ ซึ่งขณะนี้ในจังหวัดน่าน พบผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวแล้ว จำนวน 5-6 ราย ส่วนมากจะพบผู้ป่วยกลุ่มอายุ 25-34 ปี เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มสูงขึ้นทางโรงพยาบาลน่าน ได้รณรงค์ให้โรงพยาบาลที่อยู่ในอำเภอที่มีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางเข้าไป ท่องเที่ยวให้ติดป้ายประกาศตามแห่งท่องเที่ยว เพื่อเตือนให้นักท่องเที่ยงหรือประชาชนระวังถ้ามีอาการป่วยให้รีบพบแพทย์ ทันที


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view