สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สหรัฐปฏิเสธนำเข้าอาหารจากไทย12รายการ

สหรัฐปฏิเสธนำเข้าอาหารจากไทย12รายการ

จาก โพสต์ทูเดย์

กรมการค้า ต่างประเทศ เผย เดือนก.ย. สหรัฐปฏิเสธนำเข้าอาหารจากไทย 12 รายการ เหตุพบสิ่งสกปรกเจือปน สารเคมีปนเปื้อน กระป๋องบวม ขั้นตอนการผลิตไม่ถูกสุขอนามัย

นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (ยูเอสเอฟดีเอ) ได้เผยแพร่รายงาน Import Refusal Report เกี่ยวกับการตรวจสอบและห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยประจำเดือนก.ย.56 โดยประกาศห้ามนำเข้าสินค้าที่ส่งออกจากไทยรวม 9 ราย ซึ่งเป็นสินค้าผลไม้และผลิตภัณฑ์อาหาร 12 รายการ เพราะตรวจพบสิ่งสกปรกเน่าเสีย หรือยาปราบศัตรูพืชเจือปน หรือพบการว่าผู้ประกอบการไทยไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับเอฟดีเอ

สำหรับทั้ง 12 รายการ ได้แก่ มะขามหวาน มะขาม เส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก น้ำปลา ชนิด Mud Fish Sauce และ Gouramy Fish Sauce เพราะพบสิ่งสกปรก/เน่าเสียเจือปน, ลิ้นจี่กระป๋องในน้ำเชื่อม พบการบวกของภาชนะบรรจุ หรือมีการรั่วซึม, เครื่องแกงเขียวหวาน และเครื่องแกงแดง  พบว่าผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนการเป็นผู้ผลิตอาหารกระป๋องที่มีความเป็น กรดต่ำ หรือทะเบียนผู้ผลิตอาหารที่ใช้กรดเป็นส่วนประกอบ, มะม่วงหั่นเป็นชิ้นในน้ำเชื่อม พบสารเคมีจำพวกยาปราบศัตรูพืชเจือปน, กล้วยอบแห้ง พบสารซัลไฟต์ ซึ่งไม่ได้ระบุไว้บนฉลากสินค้า, ปลาแมกเคอเรลทอดรสเผ็ด และปลาแมกเคอเรลทอด ในซอสพริก พบว่าสินค้าถูกผลิต บรรจุ หรือเก็บอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกต้องตามสุขอนามัย

ทั้งนี้ ก่อนที่เอฟดีเอ จะออกประกาศห้ามนำเข้าสินค้าของผู้ประกอบการดังกล่าว เอฟดีเอได้แจ้งไปยังผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ถึงสิ่งที่ตรวจพบ ข้อสงสัย หรือความไม่ชัดเจนในการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน/กฎระเบียบ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจัดส่งข้อมูลยืนยันเพื่อแก้ข้อกล่าวหา แต่ปรากฏว่าผู้ประกอบการดังกล่าวไม่สามารถชี้แจง หรือจัดทำข้อมูลได้เพียงพอ ดังนั้น เอฟดีเอ จึงต้องประกาศห้ามนำเข้า  และจะทำลายสินค้าดังกล่าวหรือส่งกลับภายใน 90 วัน

“ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาระเบียบปฏิบัติในการตรวจสอบสินค้านำเข้าของยู เอสเอฟดีเอ โดยให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้าที่ได้มาตรฐาน และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ อย่างเคร่งครัด เพื่อจะได้ไม่ถูกห้ามนำเข้า ซึ่งจะเป็นการทำลายภาพพจน์สินค้าไทยโดยรวม และอาจเสียตลาดได้ในอนาคต”

นายทิฆัมพร  กล่าวต่ออีกว่า ยูเอสเอฟดีเอ ได้ประกาศร่างระเบียบใหม่เกี่ยวกับการรับรองการผลิตอาหารของประเทศผู้ผลิต (Foreign Supplier Verification Program (FSVP) และการจัดตั้งโครงการในการรับรองหน่วยงานที่สาม (Accreditation of Third Party Auditors) เพื่อตรวจสอบและออกหนังสือรับรองความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าสหรัฐฯ  โดยประกาศดังกล่าวจะมีความเข้มงวดในการตรวจสอบมากขึ้น เช่น กำหนดให้มีระบบการตรวจสอบเพื่อควบคุมอันตราย การทบทวนหลักฐานด้านความปลอดภัยอาหาร ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า อาหารที่นำเข้าสหรัฐฯ ได้ผลิตอย่างถูกต้องตามหลักสาธารณสุขในระดับเดียวกันกับสินค้าที่ผลิตเพื่อ บริโภคภายในประเทศผู้ส่งออก

”กฎระเบียบใหม่นี้มีรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งจะเป็นการผลักภาระการตรวจสอบรับรองความปลอดภัยของอาหารให้กับผู้ค้า ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรจะให้ความสำคัญและพิจารณาเสนอข้อคิดเห็นเพื่อประโยชน์ใน การปกป้องรักษาโอกาสทางการค้าสินค้าอาหารด้วย โดยผู้ประกอบการสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fda.gov/Food/default.htm และยังคงยื่นข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับต่อเอฟดีเอได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 26 พ.ย.นี้”


สหรัฐฯ แบนผลไม้และอาหารไทย 12 รายการ หลังพบสิ่งสกปรก สารเคมีปนเปื้อน เตรียมทำลายหรือส่งกลับ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

       สหรัฐฯ แบนผลไม้และอาหารไทย 12 รายการจากผู้ผลิต 9 ราย เหตุพบสิ่งสกปรก สารเคมีปนเปื้อน กระป๋องบวม ขั้นตอนการผลิตไม่ถูกสุขอนามัย เตรียมทำลายทิ้งหรือส่งกลับใน 90 วัน พร้อมยกร่างระเบียบคุมอาหารนำเข้าใหม่อีก แนะผู้ผลิตไทยศึกษาให้รอบคอบ
       
       นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (USFDA) ได้เผยแพร่รายงาน Import Refusal Report เกี่ยวกับการตรวจสอบและห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยประจำเดือน ก.ย. 2556 โดยประกาศห้ามนำเข้าสินค้าที่ส่งออกจากไทยรวม 9 ราย ซึ่งเป็นสินค้าผลไม้และผลิตภัณฑ์อาหาร 12 รายการ เพราะตรวจพบสิ่งสกปรกเน่าเสีย หรือยาปราบศัตรูพืชเจือปน หรือพบว่าผู้ประกอบการไทยไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ FDA
       
       สินค้าทั้ง 12 รายการ ได้แก่ มะขามหวาน มะขาม เส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก น้ำปลา ชนิด Mud Fish Sauce และ Gouramy Fish Sauce เพราะพบสิ่งสกปรก เน่าเสียเจือปน, ลิ้นจี่กระป๋องในน้ำเชื่อม พบการบวมของภาชนะบรรจุ หรือมีการรั่วซึม, เครื่องแกงเขียวหวาน และเครื่องแกงแดง พบว่าผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนการเป็นผู้ผลิตอาหารกระป๋องที่มีความเป็น กรดต่ำ หรือทะเบียนผู้ผลิตอาหารที่ใช้กรดเป็นส่วนประกอบ, มะม่วงหั่นเป็นชิ้นในน้ำเชื่อม พบสารเคมีจำพวกยาปราบศัตรูพืชเจือปน, กล้วยอบแห้ง พบสารซัลไฟต์ ซึ่งไม่ได้ระบุไว้บนฉลากสินค้า, ปลาแม็กเคอเรลทอดรสเผ็ด และปลาแม็กเคอเรลทอดในซอสพริก พบว่าสินค้าถูกผลิต บรรจุ หรือเก็บอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกต้องตามสุขอนามัย
       
       ทั้งนี้ ก่อนที่สหรัฐฯ จะออกประกาศห้ามนำเข้าสินค้าของผู้ประกอบการดังกล่าว ได้แจ้งไปยังผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องถึงสิ่งที่ตรวจพบ ข้อสงสัย หรือความไม่ชัดเจนในการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน กฎระเบียบ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจัดส่งข้อมูลยืนยันเพื่อแก้ข้อกล่าวหา แต่ปรากฏว่าผู้ประกอบการดังกล่าวไม่สามารถชี้แจง หรือจัดทำข้อมูลได้เพียงพอ จึงต้องประกาศห้ามนำเข้าและจะทำลายสินค้าดังกล่าวหรือส่งกลับภายใน 90 วัน
       
       “ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาระเบียบปฏิบัติในการตรวจสอบสินค้านำเข้าของ USFDA ให้ดี โดยให้ความสำคัญต่อการส่งออกสินค้าที่ได้มาตรฐาน และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ อย่างเคร่งครัดเพื่อจะได้ไม่ถูกห้ามนำเข้า ซึ่งจะเป็นการทำลายภาพลักษณ์สินค้าไทยโดยรวม และอาจเสียตลาดในอนาคต”
       
       นายทิฆัมพรกล่าวว่า USFDA ยังได้ประกาศร่างระเบียบใหม่เกี่ยวกับการรับรองการผลิตอาหารของประเทศผู้ ผลิต (Foreign Supplier Verification Program (FSVP) และการจัดตั้งโครงการในการรับรองหน่วยงานที่สาม (Accreditation of Third Party Auditors) เพื่อตรวจสอบและออกหนังสือรับรองความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าสหรัฐฯ โดยประกาศดังกล่าวจะมีความเข้มงวดในการตรวจสอบมากขึ้น เช่น กำหนดให้มีระบบการตรวจสอบเพื่อควบคุมอันตราย การทบทวนหลักฐานด้านความปลอดภัยอาหาร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าอาหารที่นำเข้าสหรัฐฯ ได้ผลิตอย่างถูกต้องตามหลักสาธารณสุขในระดับเดียวกันกับสินค้าที่ผลิตเพื่อ บริโภคภายในประเทศผู้ส่งออก
       
       “กฎระเบียบใหม่นี้มีรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งจะเป็นการผลักภาระการตรวจสอบรับรองความปลอดภัยของอาหารให้แก่ผู้ค้า ผู้ประกอบการไทยควรจะให้ความสำคัญและพิจารณาเสนอข้อคิดเห็นเพื่อประโยชน์ใน การปกป้องรักษาโอกาสทางการค้าสินค้าอาหารด้วย โดยผู้ประกอบการสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fda.gov/Food/default.htm และยังคงยื่นข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับต่อ FDA ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 26 พ.ย.นี้” นายทิฆัมพรกล่าว


สหรัฐห้ามนำเข้าสินค้าจากไทย 12 รายการ หลังพบสิ่งเจือปน

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(U.S. Food and Drug Administration:FDA) ได้เผยแพร่รายงาน Import Refusal Report เกี่ยวกับการตรวจสอบและห้ามนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยประจำเดือน ก.ย.56 โดยประกาศห้ามนำเข้าสินค้าที่ส่งออกจากผู้ประกอบการไทยรวม 9 ราย ซึ่งเป็นสินค้าผลไม้และผลิตภัณฑ์อาหารรวม 12 รายการ เช่น มะขามหวาน ลิ้นจี่กระป๋อง เครื่องแกงเขียวหวาน เป็นต้น เนื่องจากตรวจพบสิ่งสกปรกเน่าเสีย หรือยาปราบศัตรูพืชเจือปน หรือพบการไม่ขึ้นทะเบียนกับ FDA ของผู้ประกอบการไทย
 


ก่อนที่ FDA จะออกประกาศห้ามนำเข้าสินค้าของผู้ประกอบการดังกล่าว FDA ได้ดำเนินการแจ้งไปยังผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง(Import Detention Notice) เกี่ยวกับสิ่งที่ตรวจพบ ข้อสงสัย หรือความไม่ชัดเจนในการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน/กฎระเบียบ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจัดส่งข้อมูลยืนยันเพื่อแก้ข้อกล่าวหา แต่ปรากฏว่าผู้ประกอบการดังกล่าวไม่สามารถชี้แจงหรือจัดทำข้อมูลได้เพียงพอ ดังนั้น FDA จึงต้องประกาศห้ามนำเข้า(Import Refusal) และจะทำลายสินค้าดังกล่าวหรือส่งกลับภายใน 90 วัน

 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติในการตรวจสอบสินค้านำเข้า ของ FDA สหรัฐฯ โดยให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้าที่ได้มาตรฐาน และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ อย่างเคร่งครัด เพื่อจะได้ไม่ถูกห้ามนำเข้า อันเป็นการทำลายภาพพจน์สินค้าไทยโดยรวม

 

สำหรับสินค้าที่ห้ามนำเข้า ประกอบด้วย มะขามหวาน(Sweet Tamarind) หลังพบสิ่งสกปรก/เน่าเสียเจือปน, มะขาม(Tamarind) หลังพบสิ่งสกปรกเจือปน, ลิ้นจี่กระป๋องในน้ำเชื่อม(Canned Lychee in Syrup) หลังพบการบวมของภาชนะบรรจุ หรือมีการรั่วซึม, เส้นก๊วยเตี๋ยวเส้นเล็ก(Rice Stick) หลังพบสิ่งสกปรก/เน่าเสียเจือปน, เครื่องแกงเขียวหวาน(Amoy Thai Green Curry Paste) หลังพบว่าผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนการเป็นผู้ผลิตอาหารกระป๋องที่มีความ เป็นกรดต่ำ(low acid canned food) หรือทะเบียนผู้ผลิตอาหารที่ใช้กรดเป็นส่วนประกอบ(acidified food) และ พบว่าผู้ประกอบการไม่ได้ให้ข้อมูลในส่วน scheduled process ตามที่กำหนด,เครื่องแกงแดง(Amoy Thai Red Curry Paste) หลังพบว่าผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนการเป็นผู้ผลิตอาหารกระป๋องที่มีความ เป็นกรดต่ำ(low acid canned food) หรือทะเบียนผู้ผลิตอาหารที่ใช้กรดเป็นส่วนประกอบ(acidified food) และ พบว่าผู้ประกอบการไม่ได้ให้ข้อมูลในส่วนscheduled process ตามที่กำหนด, มะม่วงกระป๋องหั่นเป็นชิ้นในน้ำเชื่อม(Canned Mango Sliced in Syrup) หลังพบสารเคมีจำพวกยาปราบศัตรูพืชเจือปน, กล้วยอบแห้ง(Dried Banana SMC) หลังพบสารซัลไฟต์ Sulfites ซึ่งไม่ได้ระบุไว้บนฉลากสินค้า, ปลาแมกเคอเรลทอดรสเผ็ด(Spicy Fried Mackerels) หลังพบว่าสินค้าถูกผลิต บรรจุ หรือเก็บอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกต้องตามสุขอนามัย, ปลาแมกเคอเรลทอดในซอสพริก(Fried Mackerels with Chili Sauce) หลังพบว่าสินค้าถูกผลิต บรรจุ หรือเก็บอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกต้องตามสุขอนามัย และน้ำปลา(Mud Fish Sauce) อีก 2 รายการ หลังพบสิ่งสกปรก/เน่าเสียเจือปน


กรมการค้าต่างประเทศ เผยสหรัฐปฏิเสธนำเข้าอาหารจากไทย 12 รายการ

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (ยูเอสเอฟดีเอ) ได้เผยแพร่รายงาน Import Refusal Report เกี่ยวกับการตรวจสอบและห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยประจำเดือนก.ย.56 โดยประกาศห้ามนำเข้าสินค้าที่ส่งออกจากไทยรวม 9 ราย ซึ่งเป็นสินค้าผลไม้และผลิตภัณฑ์อาหาร 12 รายการ เพราะตรวจพบสิ่งสกปรกเน่าเสีย หรือยาปราบศัตรูพืชเจือปน หรือพบการว่าผู้ประกอบการไทยไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับเอฟดีเอ

 สำหรับทั้ง 12 รายการ ได้แก่ มะขามหวาน มะขาม เส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก น้ำปลา ชนิด Mud Fish Sauce และ Gouramy Fish Sauce เพราะพบสิ่งสกปรก/เน่าเสียเจือปน, ลิ้นจี่กระป๋องในน้ำเชื่อม พบการบวกของภาชนะบรรจุ หรือมีการรั่วซึม, เครื่องแกงเขียวหวาน และเครื่องแกงแดง  พบว่าผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนการเป็นผู้ผลิตอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ หรือทะเบียนผู้ผลิตอาหารที่ใช้กรดเป็นส่วนประกอบ, มะม่วงหั่นเป็นชิ้นในน้ำเชื่อม พบสารเคมีจำพวกยาปราบศัตรูพืชเจือปน, กล้วยอบแห้ง พบสารซัลไฟต์ ซึ่งไม่ได้ระบุไว้บนฉลากสินค้า, ปลาแมกเคอเรลทอดรสเผ็ด และปลาแมกเคอเรลทอด ในซอสพริก พบว่าสินค้าถูกผลิต บรรจุ หรือเก็บอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกต้องตามสุขอนามัย

 ทั้งนี้ ก่อนที่เอฟดีเอ จะออกประกาศห้ามนำเข้าสินค้าของผู้ประกอบการดังกล่าว เอฟดีเอได้แจ้งไปยังผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ถึงสิ่งที่ตรวจพบ ข้อสงสัย หรือความไม่ชัดเจนในการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน/กฎระเบียบ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจัดส่งข้อมูลยืนยันเพื่อแก้ข้อกล่าวหา แต่ปรากฏว่าผู้ประกอบการดังกล่าวไม่สามารถชี้แจง หรือจัดทำข้อมูลได้เพียงพอ ดังนั้น เอฟดีเอ จึงต้องประกาศห้ามนำเข้า  และจะทำลายสินค้าดังกล่าวหรือส่งกลับภายใน 90 วัน

 “ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาระเบียบปฏิบัติในการตรวจสอบสินค้านำเข้าของยูเอสเอฟดีเอ โดยให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้าที่ได้มาตรฐาน และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ อย่างเคร่งครัด เพื่อจะได้ไม่ถูกห้ามนำเข้า ซึ่งจะเป็นการทำลายภาพพจน์สินค้าไทยโดยรวม และอาจเสียตลาดได้ในอนาคต”

 นายทิฆัมพร  กล่าวต่ออีกว่า ยูเอสเอฟดีเอ ได้ประกาศร่างระเบียบใหม่เกี่ยวกับการรับรองการผลิตอาหารของประเทศผู้ผลิต (Foreign Supplier Verification Program (FSVP) และการจัดตั้งโครงการในการรับรองหน่วยงานที่สาม (Accreditation of Third Party Auditors) เพื่อตรวจสอบและออกหนังสือรับรองความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าสหรัฐฯ  โดยประกาศดังกล่าวจะมีความเข้มงวดในการตรวจสอบมากขึ้น เช่น กำหนดให้มีระบบการตรวจสอบเพื่อควบคุมอันตราย การทบทวนหลักฐานด้านความปลอดภัยอาหาร ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า อาหารที่นำเข้าสหรัฐฯ ได้ผลิตอย่างถูกต้องตามหลักสาธารณสุขในระดับเดียวกันกับสินค้าที่ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศผู้ส่งออก

 ”กฎระเบียบใหม่นี้มีรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งจะเป็นการผลักภาระการตรวจสอบรับรองความปลอดภัยของอาหารให้กับผู้ค้า ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรจะให้ความสำคัญและพิจารณาเสนอข้อคิดเห็นเพื่อประโยชน์ในการปกป้องรักษาโอกาสทางการค้าสินค้าอาหารด้วย โดยผู้ประกอบการสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fda.gov/Food/default.htm และยังคงยื่นข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับต่อเอฟดีเอได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 26 พ.ย.นี้”


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags :

view