สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

TDRIตอกย้ำเจ๊งจำนำข้าว

จาก โพสต์ทูเดย์

นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอยกข้อมูลตอกย้ำรัฐขาดทุนจำนำข้าว ชี้วันนี้ราคาข้าวในตลาดลดลงไปมากจากวันที่ปิดบัญชี การขาดทุนก็ย่อมมากขึ้นเพราะขายได้น้อย

นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล นำเสนอผลคำนวณการขาดทุนของโครงการรับจำนำข้าวในงานสัมมนาเรื่องมหากาพย์จำนำ ข้าว สู่มหกรรมกอบกู้สุจริตฯ ว่า รัฐบาลจะขาดทุนอย่างน้อยปีละ 2 แสนล้านบาท

รัฐมนตรีเศรษฐกิจที่รับผิดชอบโครงการจำนำข้าวต่างออกมาปฏิเสธว่า โครงการรับจำนำไม่ได้ขาดทุนมากขนาดนั้น จึงขอทำความกระจ่างให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมูลค่าการขาดทุน โครงการรับจำนำข้าว และประโยชน์ “ส่วนเพิ่ม” ที่ชาวนาได้รับจากการขายข้าวให้รัฐบาล โดยขอตอบคำถาม 3 ข้อ

คำถามแรก คือ ทำไมตัวเลขการขาดทุนของรัฐบาลจึงแตกต่างจากตัวเลขการขาดทุนของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร คำถามที่สอง คือ วิธีการคำนวณการขาดทุนทางบัญชีของโครงการจำนำข้าวควรยึดหลักการคำนวณอะไร คำถามที่สาม การขาดทุนจริงของโครงการจำนำข้าวจะเป็นเท่าไหร่กันแน่

คำถามแรก มูลค่าการขาดทุนที่ทั้งสองฝ่ายนำเสนอนั้น ต่างเป็นตัวเลขผลขาดทุนทางบัญชีทั้งสิ้น แต่สาเหตุที่ตัวเลขผลขาดทุนทางบัญชีของทั้งสองฝ่ายแตกต่างกัน เป็นเพราะฝ่ายรัฐบาลตีมูลค่าของข้าวในสต๊อกด้วยต้นทุนข้าวที่ซื้อมาในราคา ข้าวเปลือกตันละ 1.5 หมื่นบาท หรือคิดเป็นข้าวสารตันละ 2.4 หมื่นบาท ส่วน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ซึ่งอ้างอิงข้อมูลของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าว ใช้วิธีตีมูลค่าข้าวในสต๊อกด้วยราคาตลาด

คำถามที่สอง คือ โครงการจำนำข้าวควรยึดหลักการคำนวณวิธีใด หากย้อนกลับไปดูตำราวิชาการบัญชีว่าด้วยการตีมูลค่าสินค้าคงคลัง (Inventory Valuation Methods) จะมีหลักการตีราคา 2 รูปแบบ คือ (1) คำนวณด้วยต้นทุนของสินค้า หรือ (2) คำนวณด้วยราคาตลาดในการจัดหาสินค้านั้นมาทดแทน ทั้งสองวิธีต่างก็เป็นวิธีการที่ได้ยอมรับให้ใช้ และมีสอนกันในวิชาการบัญชีทั่วไป

ฝั่งรัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ เลือกจะใช้วิธีการแรกในการตีมูลค่าข้าวที่เหลืออยู่ในคลังด้วยราคาต้นทุนที่ ซื้อข้าวมา ผลการขาดทุนทางบัญชีจึงมีประมาณ 1 แสนล้านบาท แต่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เลือกจะใช้วิธีการแอลซีเอ็ม หรือราคาตลาดเป็นตัวกำหนดมูลค่าของข้าวที่เหลืออยู่ในคลัง ผลขาดทุนจึงสูงกว่า

ประเด็นจึงมีอยู่ว่า ในกรณีการจำนำข้าวรัฐบาลควรใช้วิธีทางบัญชีวิธีใดจึงจะเหมาะสมในวงการธุรกิจ ที่สินค้าคงคลังมีราคาเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว นักบัญชีทราบดีว่าหลักวิชาการทางบัญชีที่นิยมใช้กัน คือ การตีราคาสินค้าคงคลังด้วยราคาตลาด เพราะว่าการตีราคาสินค้าคงคลังด้วยต้นทุนสินค้าที่ได้มาจะไม่สามารถแสดง มูลค่าที่แท้จริงของสินค้า โดยเฉพาะในกรณีราคาตลาดสินค้านั้นๆ ตกต่ำลงกว่าราคาต้นทุนที่ซื้อมาอย่างรวดเร็ว

การใช้ราคาต้นทุนจะก่อให้เกิดการบิดเบือนสถานะทางบัญชี ขัดกับวัตถุประสงค์ของวิชาบัญชีที่มุ่งเน้นให้ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรับ ทราบสภาพการดำเนินงานทางธุรกิจที่แท้จริง เพื่อให้การตัดสินใจบริหารองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีการจำนำข้าว รัฐบาลซึ่งเป็นผู้บริหารของประเทศจำเป็นต้องรับทราบสถานการณ์รายได้-รายจ่าย ที่เป็นจริงให้มากที่สุด

หากตัวเลขระบุว่าจะมีโอกาสขาดทุนมาก รัฐบาลก็จะได้เตรียมรับมือกับความเสี่ยงทางการคลัง ไม่ใช่ปล่อยให้ไฟไหม้บ้าน แล้วค่อยคิดซื้อประกันไฟทีหลัง

นี่คือเหตุผลที่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าวที่แต่งตั้งโดยคณะ กรรมการนโยบายข้าวเลือกใช้วิธีการแอลซีเอ็ม โดยตีมูลค่าสต๊อกข้าวด้วยราคาตลาด เพื่อสะท้อนฐานะที่แท้จริงของโครงการจำนำข้าว

แม้ในตอนต้นรัฐบาลจะไม่ยอมรับตัวเลขขาดทุนของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ จนกลายเป็นข่าวใหญ่โตมาแล้ว แต่ท้ายที่สุดก็ยอมรับว่าการจำนำข้าว 2 ฤดูแรก (นาปี 2554/2555 และนาปรัง 2555) ขาดทุนถึง 136,896 ล้านบาท มาวันนี้ราคาข้าวในตลาดลดลงไปมากจากวันที่ปิดบัญชี การขาดทุนก็ย่อมมากขึ้น เพราะรัฐบาลขายข้าวได้น้อยมาก


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view