สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปลุกครัวเรือนมีวินัยการเงินสร้างรากฐานศก.มั่นคง

จาก โพสต์ทูเดย์

ธปท.เห็นสัญญาณครัวเรือนละเลยวินัยทางการเงิน แนะใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ชวนมีส่วนร่วมตรวจสอบภาคอื่นๆ ทั้งรัฐบาล และสถาบันการเงิน

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาหัวข้อ วินัยกับความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวไทย ว่า หากจับชีพจรสังคมไทยในขณะนี้จะพบว่ามีความกังวลเรื่องปัญหาเศรษฐกิจค่อนข้าง มาก โดยมีการถกกันเรื่องของอัตราการเติบโตกันอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อมองไปข้างหน้าจะเห็นว่าการลงทุนจากภาครัฐฯ และเอกชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศ หากดำเนินไปอย่างรอบคอบและเหมาะสม ก็จะช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศสามารถเติบโตไปได้

ทั้งนี้ นอกจากอัตราการเติบโตแล้ว ต้องให้ความสำคัญกับวินัยและภูมิคุ้มกันด้วย โดยการมีวินัยเป็นหลักการพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ หากครอบครัวหรือประเทศต้องการที่จะเติบโตอย่างยั่งยืน โดยวินัยนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันที่จะช่วยรองรับสถานการณ์หรือวิกฤตต่าง ๆ ได้โดยไม่ถึงกับทรุดตัวลง วินัยนั้นเป็นหลักคิดหรือทัศนคติซึ่งวัดเป็นตัวเลขมาตรฐานเพื่อเปรียบเทียบ ให้เห็นชัดได้ยาก อย่างไรก็ดี การประเมินวินัยนั้นสามารถดูได้ทางอ้อมจากระดับภูมิคุ้มกันหรือพัฒนาการใน การสร้างภูมิคุ้มกันนั่นเอง

"หากเปรียบประเทศเป็นเสมือนคนหนึ่งคน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยย่อยที่สุดคือภาคครัวเรือน ขยายเป็น ภาคธุรกิจ เป็นภาครัฐฯ โดยมีภาคการเงินเป็นตัวเชื่อมโยงภาคต่างๆเข้าด้วยกัน การประเมินภูมิคุ้มกันของภาคใดภาคหนึ่งโดยไม่มองถึงภาคอื่น ๆ นั้นจะทาให้ภาพไม่ครบถ้วน เนื่องจากทุกภาคส่วนล้วนเชื่อมโยงกัน หากภูมิคุ้มกันในจุดใดจุดหนึ่งโดนกระทบก็จะลุกลามไปยังจุดอื่น ๆ ได้" นายประสาร กล่าว

นายประสาร กล่าวว่า ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในอดีตชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่สา คัญสองประการ ประการแรก คือ เศรษฐกิจจะไม่สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนได้หากภูมิคุ้มกันของประเทศถูกทำลาย ลงโดยการขาดวินัยในแต่ละภาคส่วนในสังคม แม้กระทั่งหน่วยที่เล็กที่สุดได้แก่ภาคครัวเรือน ดังที่เห็นจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งครัวเรือนของสหรัฐฯ ขาดวินัยโดยใช้เงินเกินตัว ขณะเดียวกันวิกฤตถูกขยายผลโดยภาคการเงินขาดวินัยในการปล่อยกู้และการขาย ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และภาครัฐก็ขาดวินัยโดยก่อหนี้สาธารณะไว้มากเกินควร

ส่วนข้อเท็จจริงประการที่สอง คือ ปัญหาเศรษฐกิจจะนำไปสู่ปัญหาสังคม และเมื่อใดก็ตามที่เรา พูดถึงปัญหาสังคม นั่นหมายถึงความทุกข์ร้อนที่จับต้องได้ อาทิ คุณภาพชีวิต การว่างงาน อาชญากรรม ซึ่งแม้แต่ครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งก็จะถูกกระทบเช่นกัน ดังที่เราเห็นได้จากวิกฤตในหลายประเทศ ทุกครัวเรือน ถูกกระทบจากปัญหาการประท้วง คุณภาพการให้บริการภาครัฐฯ ที่ทาให้การดาเนินชีวิตไม่ราบรื่นเช่นเดิม

ดังนั้น เมื่อภูมิคุ้มกันที่บกพร่องในแต่ละภาคส่วนจะนำไปสู่ความทุกข์ร้อนของคนใน สังคม จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคนในสังคมที่จะร่วมกันสอดส่องดูแล รักษาภูมิคุ้มกันทั้งของตนเองและภาคส่วนอื่นไว้ให้ดี เริ่มจากภูมิคุ้มกันของภาคครัวเรือนไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และการเชื่อมโยงของภูมิคุ้มกันในภาคครัวเรือนกับภาคส่วนอื่น

ในด้านภูมิคุ้มกันของครอบครัวไทย หากนำตรรกะของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาวิเคราะห์แล้ว จะเห็นจุดที่น่าเป็นห่วง สัดส่วนเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในไตรมาส 2 ปี 2556 อยู่ที่ 79% แม้ส่วนหนึ่งเป็นการกู้ยืมเพื่อทำธุรกิจและการลงทุนซื้อที่อยู่อาศัย แต่สัดส่วนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชี้ว่าครัวเรือนไทยมีการกู้เงินหรืออีกนัยหนึ่งคือ นำเงินรายได้ในอนาคตมาใช้เพื่อการบริโภค ในปัจจุบันมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งไม่คำนึงถึงหลักความเพียงพอและความมีเหตุผล

นอกจากนี้ จากข้อมูลของบัญชีรายได้ประชาชาติที่จัดทำโดยสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า สัด ส่วนการออมต่อรายได้ (saving rate) ของครัวเรือนไทยลดลงจากค่าเฉลี่ยในอดีต(ช่วงปี 2533-2553) ที่ 11.3% เป็น 9.2% ในปี 2554 ชี้ให้เห็นถึงภูมิคุ้มกันของภาคครัวเรือนไทยที่เริ่มพร่องลง

ทั้งนี้ เมื่อภูมิคุ้มกันในระยะสั้นไม่ดีพอ การมีภูมิคุ้มกันในระยะยาวรองรับการเกษียณอายุย่อมเป็นไปได้ยาก จากข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุนในปี 2555 เรื่อง “การวิเคราะห์พอร์ตการลงทุนของมนุษย์เงินเดือนก่อนวันเกษียณกับการเพิ่ม โอกาสเกษียณสุข” จะพบว่าแรงงานในระบบช่วงอายุ 40-60 ปีในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งน่าจะเป็นตัวแทนของกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันที่ดี กลับพบว่า สัดส่วนของคนออมไม่เพียงพอที่จะใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพภายหลังเกษียณมีสัด ส่วน 39% โดยสาเหตุหนึ่งเป็นผลจากภาระค่าใช้จ่ายและหนี้สิน ที่มากกว่ากลุ่มที่มีการออมเพียงพอ

อย่างไรก็ดี การกระตุ้นให้ครัวเรือนไทยเพิ่มภูมิคุ้มกัน โดยสร้างวินัยทางการเงินจึงเป็นสิ่งสาคัญยิ่ง การใช้จ่ายและก่อหนี้เกินตัวในระยะสั้น หากรู้ตัวและปรับตัวได้เร็วก็อาจส่งผลให้ยอดการใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลงใน ระยะสั้น แต่ก็ถือเป็นการปรับตัวเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันที่พร่องลง อย่างไรก็ดีหากมีการกระตุ้นให้มีการใช้จ่าย และก่อหนี้อย่างต่อเนื่อง แม้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้แต่ก็จะทำให้ภูมิคุ้มกันครอบครัวพร่องลงไปอีก

นอกเหนือจากประเด็นวินัยทางการเงิน ครอบครัวไทยบางส่วนมีภูมิคุ้มกันทางการเงินต่ำ โดยมีสาเหตุจากปัญหาโครงสร้างการกระจายรายได้ของไทยยังไม่ดี ครอบครัวที่ฐานะยากจนบางส่วนมีภาระหนี้ต่อรายได้สูงถึง 60% ซึ่งทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างยากลำบาก

ผู้ว่าการธปท. แนะว่า การแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชนกลุ่มนี้ ด้วยมาตรการ เพิ่มรายได้ หรือ ลดรายจ่าย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในระยะสั้น รวมทั้งสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ครัว เรือนไปติดกับดักการพึ่งพาหนี้นอกระบบซึ่งมีดอกเบี้ยที่แพงมาก มีความจำเป็น แต่ต้องทำด้วยความรอบคอบ รัดกุม โดยต้องไม่ไปบั่นทอนวินัยของครัวเรือนหรือนำไปสู่การก่อหนี้เกินตัว รวมทั้ง ต้องช่วยเหลือให้ตรงจุดและตรงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจริง ๆ โดยไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ สำหรับการเพิ่มภูมิคุ้มกันของครอบครัวไทยกลุ่มนี้อย่างยั่งยืน ต้องเน้นสร้างโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคง และคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดย อาทิ การเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและ มีระบบสวัสดิการที่เหมาะสม

นายประสาร ยังกล่าวต่อถึงความเชื่อมโยงของภูมิคุ้มกันในภาคครัวเรือนกับภาคส่วนอื่น ว่า สังคมไทยรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างสำคัญที่จะกระทบภูมิคุ้มกัน ภาคครัวเรือนที่เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย อาทิ สัดส่วนผู้สูงอายุต่อคนวัยทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้โอกาสที่ผู้สูงอายุจะพึ่งพาบุตรหลานได้เต็มที่มีน้อยลง นอกจากนี้ ประชากรจะมีอายุยาวขึ้นขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลมีแนวโน้มสูงขึ้น ตามลำดับ อย่างไรก็ดีการรับรู้ยังไม่ได้นาไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทัศนคติ พฤติกรรมและการผลักดันให้เกิดการดูแลรักษาและเพิ่มภูมิคุ้มกันอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเพราะเห็นเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของครัวเรือน

อย่างไรก็ดี ทุกภาคส่วนมีความเชื่อมโยงกันและมีส่วนเสริมภูมิคุ้มกันซึ่งกันและกัน ดังนั้นครัวเรือนไทยควรตื่นตัวเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ส่วนหนึ่งก็เพื่อเตรียมความพร้อมภูมิคุ้มกันตัวเองและเพื่อร่วมสร้างพลัง ผลักดันให้มีกลไกเสริมภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบทบาทภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาคการเงิน และหน่วยงานที่กำกับดูแลภาคการเงิน

สำหรับ บทบาทภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจเป็นแหล่งรายได้ของภาคครัวเรือนผ่านการจ้างงาน ในภาพใหญ่แม้ภาคธุรกิจจะมีระดับ การกู้ยืมสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาแต่ส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเพื่อการลงทุน หากเป็นการลงทุนอย่างมีวินัยและระมัดระวังก็จะทำให้ธุรกิจเติบโตเป็นแหล่ง รายได้ให้ครัวเรือนได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้สำหรับแรงงานในระบบ ผู้จ้างยังช่วยสนับสนุนการออมเพื่อการเกษียณผ่านเงินที่ส่งให้กองทุนประกัน สังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยหากจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและช่วยสนับสนุนนำเงินส่งเข้ากองทุนใน ระดับที่เหมาะสม นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดึงดูดแรงงานที่มีคุณภาพแล้วก็จะช่วยเสริม สร้างภูมิคุ้มกันของครัวเรือนไทยได้

อย่างไรก็ดี หากมองภาพตลาดแรงงานโดยละเอียดจะพบว่า ในปัจจุบันเริ่มเห็นความไม่สอดคล้องระหว่างทักษะของแรงงานและความต้องการของ ภาคธุรกิจมากขึ้น ความไม่สอดคล้องระหว่างทักษะแรงงานและความต้องการภาคธุรกิจนี้อาจนาไปสู่ ความไม่มั่นคงทางอาชีพหรือการมีเงินเดือนเพิ่มน้อย รวมถึงการลดสัดส่วนการจ้างงานในระบบ การทดแทนด้วยแรงงานต่างชาติ เครื่องจักรหรือการย้ายฐานการลงทุน ออกจากประเทศไทย ซึ่งล้วนแต่จะส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันภาคครัวเรือนไทย ดังนั้นจึงเป็นบทบาทของ ภาคครัวเรือนที่ต้องปรับตัวเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับความต้อง การแรงงานอย่างสม่ำเสมอ

ด้าน บทบาทภาครัฐ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดให้ระบบคุ้มภัยทางสังคม เพื่อคุ้มครองให้ภาคครัวเรือน ซึ่งรวมถึงแรงงานทั้งในและนอกระบบมีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตและรองรับ ภัยหรือวิกฤตต่างๆ ระบบคุ้มภัยทางสังคมที่ดีควรจะมีงบประมาณเพียงพอรองรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ขั้นต่า ในวาระต่าง ๆ อาทิ การยังชีพยามชรา การเจ็บป่วย นอกจากนี้ภาครัฐฯ ยังมีบทบาทหน้าที่เป็นกันชนทางเศรษฐกิจ ในกรณีที่เกิดวิกฤตในภาคธุรกิจหรือภาคการเงิน การมีวินัยในการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันประเทศโดย รองรับบทบาทคุ้มภัยทางสังคมและกันชนทางเศรษฐกิจ จึงเป็นหัวใจสาคัญไม่น้อยไปกว่าการอำนวยให้เศรษฐกิจเติบโต หากประเทศใดมีการจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอและมีระบบการบริหารจัดการภูมิคุ้ม กันที่ดีก็จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนได้

อย่างไรก็ดี จากตัวอย่างในหลายประเทศ หากภาคสังคมขาดความเข้าใจ ความสนใจ และการมีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดระบบภูมิคุ้มกันระยะยาวที่ดี ภาครัฐฯ ก็จะมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญและจัดสรรทรัพยากร เพื่อการเติบโตระยะสั้นโดยทิ้งปัญหาภูมิคุ้มกันระยะยาวไว้เป็นปัญหาสำหรับคน รุ่นหลัง ในกรณีประเทศไทย แม้ภาครัฐฯ จะมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง โดยมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมที่ 44% แต่หากมองไปข้างหน้ายังมีโครงการลงทุนอีกมาก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว หากมีระบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมรัดกุม แต่ก็จำเป็นต้องมีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันควบคู่ไปด้วย

"ภาคครัวเรือนจึงควรมีส่วนร่วมในการตั้งคาถามว่า 'ขณะนี้ภาครัฐฯ ได้เตรียมการและจัดสรรทรัพยากรรองรับภาระในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศ อย่างเพียงพอแล้วหรือไม่' โดยต้องเริ่มต้นจากการผลักดัน ให้มีข้อมูลที่เพียงพอและโปร่งใสเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ความเพียงพอของภูมิ คุ้มกันได้" นายประสาร กล่าว

ด้าน บทบาทภาคการเงิน ซึ่งเชื่อมโยงภาคต่างๆ ผ่านบทบาทการเป็นตัวกลางในการจัดสรรทรัพยากรจากผู้ออมไปยัง ผู้ที่ต้องการใช้เงินทุน ความมั่นคงของภาคการเงินส่งผลให้ทรัพยากรทุนสามารถหมุนเวียนในระบบได้โดยไม่ สะดุด ในทางตรงกันข้ามจากปัญหาที่พบทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ วิกฤตในภาคการเงินจะนาไปสู่การขาดความมั่นใจในระบบเศรษฐกิจการเงินและส่งผล ไปยังภูมิคุ้มกันของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนอย่างยืดเยื้อยาวนาน ในกรณีของประเทศไทย ระบบธนาคารพาณิชย์ในเวลาปัจจุบันมีภูมิคุ้มกันในระดับที่สูง โดยระดับเงินกองทุนและการกันสำรองอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง ในอนาคตภาคการเงินต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้เพียงพอเพื่อรองรับโอกาสการลง ทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐฯ และภาคธุรกิจไทยทั้งในและต่างประเทศ

ปัจจุบันภาคการเงินมีส่วนช่วยภาคครัวเรือนสร้างภูมิคุ้มกันมากขึ้นโดยจัด ให้มีผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่จาเป็น อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์ออมระยะยาว ผลิตภัณฑ์ประกันในรูปแบบต่างๆ อย่างไรก็ดีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ ทางการเงินอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ภาคการเงินจำเป็นต้องคานึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น โดยในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการจัดทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) แต่หมายถึงการรับผิดชอบอย่างแท้จริงต่อภูมิคุ้มกันของภาคครัวเรือน โดยให้ข้อมูลที่ถูกต้อง โปร่งใส และไม่จูงใจให้ ภาคครัวเรือนขาดวินัยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ตัวอย่างของการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่บิดเบือนความเข้าใจผู้ ใช้บริการและจูงใจให้ใช้กู้ยืม โดยที่ ผู้กู้ไม่ได้มีความสามารถในการชำระคืนและนำไปสู่ปัญหาสังคมมีให้เห็นมากมาย ทั้งกรณีการนิยมใช้บัตรเครดิตหลายใบและใช้วงเงินทุกใบจนครบโดยไม่ระวังถึง ความสามารถในการชำระหนี้ หรือแม้กระทั่งการให้สินเชื่อประเภทที่มีหลักประกัน อาทิ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือสินเชื่อเช่าซื้อบางประเภท โดยอาจให้น้ำหนักกับความสามารถในการชาระหนี้ในอนาคตน้อยเกินไป เพราะเห็นว่ามีหลักประกัน ในกรณีเหล่านี้แม้จะเป็น สถาบันการเงินมีฐานะแข็งแกร่งเพียงพอรองรับความเสียหายและเป็นสินเชื่อที่มี หลักประกัน แต่ความเสียหายเชิงสังคมที่จับต้องได้ อาทิ การหนีหนี้ การทิ้งหลักประกันและกลายเป็นหนี้เสีย ก็จะถูกสังคม ตั้งคำถามถึงวินัยและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจของภาคการเงินและนำไปสู่ความ เสียหายของชื่อเสียงสถาบันซึ่งยากจะฟื้นคืน หากความเสียหายนี้เกิดกับคนจานวนมากก็จะนำไปสู่ความน่าเชื่อถือของวินัยทาง การเงินของระบบการเงินระดับประเทศ

อย่างไรก็ดีในระบบการเงินไทยก็มีตัวอย่างที่ดีของการให้บริการควบคู่ไป กับการส่งเสริมด้านวินัยการเงิน เช่น “มีวินัย จ่ายตรงตามกาหนด ลดดอกเบี้ย” ซึ่งนำไปสู่ประโยชน์ร่วมทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ถือเป็นประโยชน์ในแง่ความรับผิดชอบต่อสังคม มากกว่ากิจกรรม CSR

ส่วน บทบาทหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงิน ปัจจุบันระดับการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินของประเทศไทยอยู่ในระดับที่สูง โจทย์สาคัญของผู้กำกับดูแลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับภาคครัวเรือน จึงต้องเน้นการคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้อย่าง ฉลาด และนำไปสู่ความเจริญที่ยั่งยืน

"ธปท. ได้ยกระดับการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักอย่าง ชัดเจน โดยในทางหนึ่ง ธปท.ทำหน้าที่กำกับดูแลให้สถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม โปร่งใส ให้ข้อมูลครบถ้วนชัดเจน และควบคู่กันนี้ ธปท. ได้ตั้งศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) เพื่อให้ความรู้ทางการเงินกับผู้ใช้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ และรับเรื่องร้องเรียนกรณีที่ลูกค้า ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามสิทธิที่ควรได้รับ การติดต่อทำได้ผ่าน call center เบอร์โทรศัพท์ 1213" นายประสาร ระบุ

ในกรณีของประเทศไทยนั้น บทบาทผู้ให้บริการทางการเงินนอกการกำกับดูแลของ ธปท. อาทิ สถาบันการเงินภาครัฐฯ และ สหกรณ์ มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงเป็นความท้าทายของภาครัฐฯ จะต้องร่วมมือกันขยายขอบเขตการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับภาคครัวเรือนที่ใช้ บริการผ่านผู้ให้บริการเหล่านี้อย่างทั่วถึงด้วย โดยการส่งเสริมระบบการประเมินความเสี่ยงและความสามารถในการชาระหนี้ของผู้ กู้ การส่งเสริมวินัยทางการเงินของผู้ใช้บริการ และการกำกับดูแลให้บริการด้วยความเป็นธรรม

นายประสาร กล่าวว่า เมื่อเห็นความเชื่อมโยงของวินัยการเงินภาคครัวเรือนไปสู่ภาคต่างๆ แล้ว ดังนั้น อาจพอสรุปได้ว่า ภาคครัวเรือนนั้นก็มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลรักษาและเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วย ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นชี้ว่า ภูมิคุ้มกันภาคครัวเรือนเริ่มมีสัญญาณพร่องลงทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาว ซึ่งหากละเลยอาจลุกลามกลายเป็นปัญหาสังคม ซึ่งก็คือปัญหาของทุกคน การสร้างความเข้มแข็ง ของภูมิคุ้มกันให้ฟื้นกลับขึ้นมาทำได้ด้วยการเสริมวินัยทางการเงินเท่านั้น

สำหรับ วินัยในความหมายทั่วไปอาจเกิดได้จาก 3 แหล่ง ได้แก่ การมีกรอบกฎเกณฑ์บังคับ การมีความรู้ถึงกรอบและประโยชน์ในการทำตามวินัย และการมีทัศนคติที่ถูกต้อง โดยทัศนคติถือเป็นสิ่งสาคัญที่สุดเพราะเป็นเข็มทิศกำหนดพฤติกรรมให้นำพาตน เองไปสู่สิ่งที่ดีโดยไม่ต้องมีเกณฑ์บังคับ ทัศนคติที่ดีงามตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อันได้แก่ ความเพียงพอ การมีเหตุผล และภูมิคุ้มกัน ควรจะถูกเผยแพร่และปลูกฝัง และนำมาใช้ปฏิบัติจริงให้มากขึ้นโดยเริ่มจากหน่วยที่เล็กแต่สำคัญที่สุดคือ ภาคครัวเรือน

"ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ภาคครัวเรือนจะได้ตระหนักถึงความสำคัญของวินัยและภูมิคุ้มกัน และช่วยกันปลูกฝังและส่งผ่านหลักคิดนี้ต่อไปยังสังคมไทย เพื่อขยายผลให้เสียงในสังคมช่วยกันตั้งคำถาม ตรวจสอบวินัยและระดับภูมิคุ้มกันของทั้งตนเองและภาคส่วนอื่นอย่างสม่ำเสมอ และอยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันปลุกคนไทยให้มีวินัยทางการเงิน โดยเริ่มจากการปรับทัศนคติในครอบครัวตนเองและขยายวงให้กว้างออกไปจนกลายเป็น ค่านิยมอันดี ซึ่งจะเป็นเข็มทิศกำหนดพฤติกรรมของสังคม เพื่อนาไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของไทยอย่างแท้จริง" นายประสาร กล่าว

*หมายเหตุ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานมหกรรมการเงิน “การเงินมั่นคงกับครอบครัวบัวหลวง : Bangkok Bank Family Banking” เรื่อง “วินัยกับความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวไทย” เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2556


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view