สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้ทันน้ำท่วมด้วยปลายนิ้ว คลิก เว็บ โหลด แอป

จากประชาชาติธุรกิจ

คนไทยยังจำและเจ็บกับมหาอุทกภัยปี 2554 ทำให้สถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้แม้จะเปลี่ยนพื้นที่ไปบ้าง แต่ก็ยังสร้างความรู้สึกประหวั่นพรั่นพรึงไม่น้อย

ผ่านมาแล้วครั้ง หนึ่ง เราได้บทเรียนอะไรบ้างดูจะยังเป็นคำถามที่หาคำตอบได้ยาก เพราะข้อมูลต่าง ๆ สำหรับระแวดระวังเตรียมตัวเตรียมใจรับมือยังหาได้ไม่ง่าย กระจัดกระจายไร้ทิศทาง

ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าจะแล้งไร้ข้อมูลซะทีเดียว ทั้งเข้าถึงง่ายผ่าน "สมาร์ทดีไวซ์" ต่าง ๆ ด้วยแอปพลิเคชั่น "NDWC และ Water4Thai"

2 แอปนี้พัฒนาโดย "ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ" เพื่อแจ้งเตือนภัย ติดตามสถานการณ์ฝน และปริมาณน้ำ

"น.อ.สม ศักดิ์ ขาวสุวรรณ์" ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงไอซีที กล่าวว่า ทั้ง NDWC และ Water4Thaiเกิดจากการรวบรวมฐานข้อมูลการพยากรณ์สภาพอากาศและระบบเตือนภัย พิบัติจากทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และอื่น ๆ แล้วนำมาประมวลผลเพื่อให้ทราบสถานการณ์น้ำ, ปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่, การพยากรณ์ฝน รวมถึงคาดการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นระบบพยากรณ์อากาศ และแจ้งเตือนภัยแบบเบ็ดเสร็จ

"เราเป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลเพื่อนำไป ประมวลผลและอัพเดตตลอดเวลา ซึ่งมีความแม่นยำของข้อมูลการพยากรณ์และการเตือนภัยกว่า 90% สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าได้นานขึ้น"

ทั้ง NDWC และ Water4Thai ดาวน์โหลดได้ฟรี รองรับทุกระบบปฏิบัติการทั้งไอโอเอสและแอนดรอยด์ เมื่อติดตั้งแล้วผู้ใช้จะติดตามข้อมูลสภาพอากาศและสถานการณ์ฝนได้ทันที เช่น ข้อมูลระบบการไหลของน้ำ, เส้นทางน้ำ, ระดับน้ำในเขื่อนผ่านกล้องวงจรปิด (CCTV) ตามพื้นที่ต่าง ๆ และแจ้งเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติจากศูนย์เตือนภัย

ใครอยากติดตามข้อมูลโดยละเอียดผ่านเว็บไซต์ก็มี "รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์" หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ได้พัฒนาเว็บไซต์ www.thaicrisis.chula.ac.th เพื่อรับมือภัยพิบัติ และช่วยงานฟื้นฟูที่จะอำนวยความสะดวกในการรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ ต่าง ๆ ทั่วประเทศ

"ปีนี้น้ำท่วมไม่เลวร้ายเท่าปี 2554 แน่นอน เพราะไม่ได้มาจากอิทธิพลของน้ำเหนือ แต่เกิดจากน้ำฝนกระจุกตัวและมีปริมาณมาก ประกอบกับระบายน้ำไม่ทัน คาดว่าพื้นที่ประสบอุทกภัยมีปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา อุบลราชธานี พระนครศรีอยุธยา และริมแม่น้ำเจ้าพระยานอกคันกั้นน้ำจะท่วมเพียง 45 วัน ส่วนในกรุงเทพฯคาดว่าจะท่วม 37 เขต และเพียง 2-3 ชั่วโมง เนื่องจากระบายน้ำไม่ทัน"

โดยข้อมูลที่นำมาอัพเดตมาจากความร่วมมือ ของกรมชลประทานและกรุงเทพมหานคร ทั้งเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในเส้นทางสายหลัก โดยการสำรวจของพนักงานกรมชลประทานกว่า 100 คน พนักงานจากกรุงเทพมหานคร 40 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกว่า 50 คนที่เข้ามาอัพเดตข้อมูล 3 วันครั้ง พร้อมทำฟังก์ชั่นบนเว็บไซต์ให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่รายงานสถานการณ์ได้ด้วย

"เราทำทุกอย่างให้ง่ายที่สุด เข้าถึงได้ทุกสมาร์ทดีไวซ์เพื่อให้ผู้ใช้เว็บไซต์มีส่วนร่วมในการเข้ามา รายงานสถานการณ์ แค่เข้าเว็บไซต์คลิกที่ระบบรายงานสถานการณ์น้ำท่วม เลือกพื้นที่ที่ต้องการรายงานหรือทราบข้อมูล จะมีทั้งภาพรวมทั้งกรุงเทพฯหรือเฉพาะภาค หากพื้นที่ไหนมีการรายงานแล้วจะมีสัญลักษณ์บนแผนที่แสดงสถานการณ์ เช่น จุดสีเขียวเท่ากับน้ำไม่ท่วม สีเหลืองท่วมไม่เกินเข่า หรือจุดสีส้มท่วมไม่เกินอก เป็นต้น" ศักดิ์ สกุลไทย หัวหน้ากลุ่มสารสนเทศหน่วยปฏิบัติการวิจัย ระบบจัดการแหล่งน้ำ ย้ำและว่าต่อไปเว็บไซต์นี้จะพัฒนาให้เป็นแพลตฟอร์มรองรับสถานการณ์ความไม่ แน่นอนทางธรรมชาติอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นน้ำแล้ง, พายุ หรือแผ่นดินไหว


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view