สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดเหตุเลือกประชาพิจารณ์อ่างเก็บน้ำห้วยตั้ง

เปิดเหตุเลือกประชาพิจารณ์อ่างเก็บน้ำห้วยตั้ง

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เปิดสาเหตุเลือกทำประชาพิจารณ์ รับฟังความเห็นโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยตั้ง จ.ลำพูน

1 ทำไมเลือก ประชาพิจาณ์โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยตั้ง

1. เป็นอ่างขนาดเล็กเพียงแค่ 9.23 ล้านลูกบาศก์เมตร ผลกระทบน้อย

2 ชาวบ้าน 2 อำเภอ คือ อ.ห้วยโฮง และ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ส่วนใหญ่ต้องการอ่างเก็บน้ำ เพราะเป็นพื้นที่เพาะปลูก 632 ไร่ และส่วนใหญ่ปลูกลำไยร้อยละ 53.8

3.เพื่อทำให้โครงสำรวจความเห็นในจุดต่อไปง่ายขึ้น โดย ตามโครงการ3.5 แสนล้าน ต้องสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางประมาณ21 แห่งแบ่งเป็นในโมดูลเอ 18 แห่ง โมดูลบี 3 แห่ง โดยเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ความจุเกิน 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีเอชไอเอ) จำนวน 4-5 แห่ง

4. ถ้าเริ่มจากเขื่อนแม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ แรงต้านมากกว่า เพราะกระทบกับวิถีชาวปะกากญอในพื้นที่ ทำให้การเลือกพื้นที่เล็ก และมีความต้องการมากกว่าจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

5. โครงการขนาดเล็กกว่า 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ไม่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมแต่กบอ.จัดให้ทำรายงานผลกระทบกับสังคมเพราะมีพื้นที่ผลกระทบจากน้ำท่วมจาการก่อสร้าง

2. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยตั้ง

2.1.โครงการเดิมที่กรมชลประทานศึกษาไว้แล้วในปี 2533 วัตถุประสงค์เพื่อชลประทานและป้องกันน้ำท่วม มีจุดที่ตั้ง บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตั้ง หมู่2 ต. ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน โดยตัดน้ำท่าจากแม่น้ำลี้ลงสู่แม่น้ำปิงเพื่อลดปริมาณต้นน้ำก่อนที่จะไหลลงไปรวมกับเจ้าพระยา

ปริมาณน้ำท่าจากแม่น้ำลี้ที่ไหลลงไปที่แม่ปิงประมาณ 100 ล้านลุกบาสเมตร ทำให้กรมชลประทานออกแบบระดับกักเก็บน้ำในอ่างห้วยตั้งเอาไว้ที่ 34 ล้านลูกบาศเมตรเพื่อลดระดับน้ำท่าลงไป

ผลกระทบจากโครงการเดิมจะมีหมู่บ้านถูกน้ำท่วมรวม 1,611 ไร่ เป็นพื้นที่เพาะปลูก 632 ไร่ และ5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านวังหลวง หมู่ 8 บ้านแม่ลอบ หมู่ 2 บ้านป่าพูล หมู่ 10 บ้านดอยโตน ต.ป่าพูล อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

ในจำนวนนั้นมี 2 หมู่บ้านคือหมู่ 1 บ้านวังหลวง และหมู่ 8 บ้านแม่ลอบ ต.ป่าพูล อ.บ้านโฮ่ง จะถูกน้ำท่วมทั้งหมู่บ้านมีครัวเรือนได้รับผลกระทบ683 ครัวเรือน

2.2 โครงการใหม่ศึกษาโดบคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) จุดที่ตั้งยังคงเป็นบริเวณห้วยตั้ง แต่ลดระดับความจุของอ่างลงมาเหลือ เพียง 9.23 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ สามารถลดน้ำท่าจำนวน 100 ล้านลุกบาศก์เมตรได้น้อยมาก

ผลกระทบมีหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมลดลงเหลือเพียง 3 หมู่บ้าน คือ หมู่1 บ้านวังหลวง หมู 8 บ้านแม่ลอบ หมู่ 2 บ้านป่าพูล ต.ป่าพูล อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน และมีพื้นที่น้ำท่วมลดลงเหลือ 1,446 ไร่ เป็นพื้นที่เพาะปลูก 435 ไร่


ค้านโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยตั้งจ.ลำพูน

แกนนำเขื่อนแม่แจ่ม-เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยตั้ง จ.ลำพูน

นายสมเกียรติ มีธรรม ผู้อำนวยการสถาบันอ้อผะหญา และแกนนำคัดค้านเขื่อนแม่แจ่ม ได้แถลงการณ์ร่วมกับคณะกรรมการคัดค้านเขื่อนแก่งเสื้อเต้น ยมบน ยมล่าง. เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ, สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต, มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย), สภาลุ่มน้ำท่าจีน นครปฐม, ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนโป่งอ่าง จ.เชียงใหม่ ร่วมออกแถลงการณ์ วิพากษ์เวทีรับฟังความคิดเห็นแผนบริหารน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ครั้งแรก จ.ลำพูน ว่า การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโครงการเพื่ออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งแรกที่จังหวัดลำพูน เป็นเวทีสืบเนื่องมาจากแผนบริหารจัดการน้ำในโมดูลเอ 1 ของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ที่มีโครงการ 1 แห่งในพื้นที่จังหวัดลำพูน คือ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยตั้ง ต.ป่าพูล อ.บ้านโฮ่ง โครงการนี้มีความจุน้ำเพียง 9 ล้าน ลูกบาศก์เมตร แต่เวทีรับฟังความคิดเห็นกลับระบุกลุ่มเป้าหมายมากถึง 800 คน จากทุกอำเภอ

จากการเข้าร่วมเวทีตั้งแต่ช่วงเช้า เครือข่ายภาคประชาชนตามรายนามข้างท้ายมีความเห็นดังนี้ คือ 1. การให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเพียงพอ พบว่าเอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นในวันนี้เป็นเอกสารเดิมๆ ที่มีการแจกจ่ายในการจัดนิทรรศการ “น้ำเพื่อชีวิต” มมาแล้วก่อนหน้านี้ในเอกสารมีข้อมูลระบุเพียงสั้นๆ ถึงจุดสร้างเขื่อน ที่ตั้งโดยสังเขปความจุอ่างเก็บน้ำ แต่กลับไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ได้รับผลกระทบตามระเบียบสำนักนายกว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นประชาชน พ.ศ.2548 ข้อ 7(7) คือ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนที่อยู่อาศัยหรือประกอบอาชีพอยู่ในสถานที่ที่จะดำเนินโครงการและพื้นที่ใกล้เคียง และประชาชนทั่วไป รวมทั้งมาตรการป้องกัน แก้ไข หรือเยียวยาความเดือดร้อนหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบดังกล่าว นอกจากนี้ในเวทีมีเพียงคู่มือการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่แจกช่วงลงทะเบียนในช่วงเช้าเท่านั้น ไม่ได้มีการขัดส่งเอกสารให้กลุ่มเป้าหมายล่วงหน้าก่อน 15 วัน จึงขาดโอกาสทำความเข้าใจในเอกสารก่อนร่วมเวที

2. ผิดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงที่เข้าร่วมเวทีในวันนี้มีจำนวนน้อย ไม่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายหลักที่เจ้าของเวทีจัดไว้ เมื่อมาลงทะเบียนผู้เข้าร่วมจึงถูกผลักไปอยู่ในกลุ่มประชาชนทั่วไป ไม่ได้เข้าร่วมอยู่ในห้องประชุมหลัก ขาดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น และกระบวนการรับฟังได้กำหนดเวลาให้ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเพียงคนละ 3 นาที จึงไม่สามารถอธิบายเนื้อหาได้ครบถ้วน3. สถานที่จัดเวทีไม่เหมาะสม เวทีในวันนี้จัดที่หประชุมโรงเรียนจักรคำคณาทร ที่มีพื้นที่จำกัดไม่สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ทั้งหมดในห้องเดียวกัน จึงทำให้ผู้เข้าร่วมขาดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น

ด้วยข้อสังเกตดังที่กล่าวมา เครือข่ายภาคประชาชนฯ มีความเห็นว่าการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 57(2) ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็น บรรยากาศเวทีโดยรวมเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลตามแผนโมดูลต่างๆ อย่างครบถ้วน นอกจากนี้พบว่าผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ในเวทีที่จังหวัดลำพูนไม่เห็นด้วยกับโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยตั้ง มีการตั้งคำถามอย่างมากในเวทีช่วงเช้า

"จึงสรุปได้ว่า การรับฟังเวทีคราวนี้ไม่ได้ดำเนินการตามหลักการรับฟังแผนการจัดการน้ำอย่างทั่วถึงตามที่ศาลปกครองมีคำสั่ง ทั้งนี้ จากการกำหนดการพบว่าจะมีการจัดเวทีการรับฟังเพียงจังหวัดละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 วัน จึงเกิดคำถามว่าจะได้รับฟังอย่างทั่วถึงหรือไม่ ซึ่งทางเครือข่ายภาคประชาชนในนามเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเงินกู้ 3.5 แสนล้านจะติดตามการดำเนินการรับฟังของหน่วยงานอย่างใกล้ชิดต่อไป" นายสมเกียรติ กล่าวในที่สุด


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view