สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

น้ำมูล-ปราจีน ล้นทะลัก กรุงเทพฯ-นนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยาปริ่ม

น้ำมูล-ปราจีน" ล้นทะลัก กรุงเทพฯ-นนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยาปริ่ม

จากประชาชาติธุรกิจ

ประเทศไทยยังคงเผชิญกับสถานการณ์ฝนตกหนักจากพายุดีเปร สชั่น ซึ่งอาจจะพัฒนาเป็นพายุโซนร้อนจากทะเลจีนใต้ต่อไปต่อเนื่องไปจนถึงต้นเดือน ตุลาคม

ส่งผลให้พื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประสบภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรง โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ปริมาณน้ำฝนที่ตกจากอิทธิพลของพายุที่พัดผ่านประเทศไทยนั้น กลับตกในพื้นที่ท้ายเขื่อน หรือระหว่างท้ายเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ (เขื่อนภูมิพลปริมาตรน้ำ ณ วันที่ 27 กันยายน 5,717 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 42-เขื่อนสิริกิติ์ 5,508 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 58) กับภาคกลางตอนล่าง 2 เขื่อนรวมกันยังสามารถรับน้ำได้อีก 11,747 ล้าน ลบ.ม.ทีเดียว

สำหรับสถานการณ์น้ำล่าสุด ณ วันที่ 27 กันยายน ปรากฏปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ลุ่มน้ำยมกับลุ่มน้ำน่าน รวมกับลุ่มน้ำปิง ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในอัตรา 1,608 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เมื่อรวมกับแม่น้ำสะแกกรังที่ไหลจากจังหวัดอุทัยธานี มีผลทำให้น้ำไหลผ่านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาทอยู่ใน อัตรา 1,970 ลบ.ม./วินาที ในจำนวนนี้ระบายน้ำเข้าคลองฝั่งตะวันตก 76 ลบ.ม./วินาที กับคลองฝั่งตะวันออก 85 ลบ.ม./วินาที

กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำด้วยการเร่งพร่องน้ำจากลุ่มน้ำตอนบนเตรียม รับพายุที่จะทยอยเข้ามาในช่วงนี้ถึงต้นเดือนตุลาคม เขื่อนเจ้าพระยา ได้เพิ่มปริมาณปล่อยน้ำมาตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน จาก 1,000 ลบ.ม./วินาที เป็น 2,000 ลบ.ม./วินาที และล่าสุดวันที่ 27 กันยายน ระบายออกมาในอัตรา 2,195 ลบ.ม./วินาที ซึ่งน่าจะเป็นระดับสูงสุดก่อนที่น้ำจะล้นตลิ่งในช่วงจังหวัดสิงห์บุรี-พระนครศรีอยุธยา

โดย ระดับน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานี C.3 สิงห์บุรี ปัจจุบันอยู่ที่ 2,212 ลบ.ม./วินาที 11.38 เมตร ความจุลำน้ำรับได้ 2,340 ลบ.ม./วินาที ตลิ่งสูง 11.70 เมตร, สถานี C.74 อ่างทอง ระดับปัจจุบัน 2,172 ลบ.ม./วินาที 8.10 เมตร ความจุลำน้ำ 2,690 ลบ.ม./วินาที ตลิ่ง 9.32 เมตร และสถานี C.35 อยุธยา 1,054 ลบ.ม./วินาที 4.15 เมตร ความจุลำน้ำ 1,155 ลบ.ม./วินาที ตลิ่ง 4.58 เมตร

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ทางฝั่งตะวันตก กรมชลประทานได้ปิดประตูระบายน้ำมะขามเฒ่าอู่ทอง เปิดประตูระบายน้ำพลเทพให้น้ำผ่าน 10 ลบ.ม./วินาที ประตูระบายน้ำบรมธาตุ 50 ลบ.ม./วินาที เพื่อรักษาพื้นที่นาข้าวทางฝั่งตะวันตก รวมถึงจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดระบายน้ำที่ประตูระบายน้ำมโนรม 80 ลบ.ม./วินาที กับประตูระบายน้ำมหาราช 5 ลบ.ม./วินาที เพื่อควบคุมแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก ไม่ให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น รองรับสถานการณ์เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณกักเก็บน้ำสูงสุดถึง 222 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่างอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้เขื่อนพระรามหกต้องเร่งระบายน้ำในอัตรา 320 ลบ.ม./วินาที ก่อนที่แม่น้ำป่าสักจะไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือ อ.บางไทร ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาช่วง อ.บางไทร-จังหวัดปทุมธานี อยู่ในระดับ 2,012 ลบ.ม./วินาที

สภาพการณ์บริหารจัดการน้ำข้างต้น มีผลกระทบทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำตลอดแนวแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้า พระยาประสบภาวะน้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วง อ.เสนา-บางบาล-ผักไห่ เข้าสู่พื้นที่จังหวัดปทุมธานี ซึ่งจะเห็นผลกระทบอย่างชัดเจน หากเขื่อนเจ้าพระยาเร่งระบายน้ำมากกว่าอัตรา 2,195 ลบ.ม./วินาที ในขณะที่กรุงเทพมหานคร ระดับน้ำเจ้าพระยาเริ่มมีปริมาณสูงขึ้น แต่ลำน้ำยังรองรับปริมาณน้ำไหลผ่านได้จนกว่าจะเกินกว่าอัตรา 3,000 ลบ.ม./วินาที ถึงจะเกิดภาวะน้ำท่วมหนักอย่างปี 2554

ส่วนสถานการณ์ น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ปรากฏพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมกำลังขยายตัวเข้าสู่ อ.ศรีมหาโพธิ และเขต อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี โดยอัตราน้ำไหลผ่านสถานี Kgt 3 ตลาดเก่ากบินทร์บุรีอยู่ที่ 742 ลบ.ม./วินาที แต่ความจุของ
ลำน้ำปราจีนบุรี-บางปะกงมีอยู่แค่ 559 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้น้ำยังคงท่วมสูงไม่ต่ำกว่า 1 เมตร 40 ซม. โดยน้ำจะ
ใช้ เวลาเดินทางอีก 19 ชั่วโมงถึงสถานี Kgt 1 ตลาดหน้าเมืองปราจีนบุรี อัตราน้ำไหลผ่านปัจจุบันอยู่ที่ 816 ลบ.ม./วินาที ความจุลำน้ำหน้าตลาดอยู่ที่ 838 ลบ.ม./วินาที มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วมต่อไปจนกว่าจะสามารถระบายน้ำผ่านเขื่อนบาง ปะกง ที่ปัจจุบันยกบานขึ้นหมดเพื่อไหลลงสู่อ่าวไทย

ขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือน้ำยังคงท่วมหนักใน จังหวัดสุรินทร์-ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี ที่สถานี M 7 อุบลราชธานี น้ำไหลผ่านแม่น้ำมูลในอัตรา 3,424 ลบ.ม./วินาที ความจุลำน้ำรับได้แค่ 2,360 ลบ.ม./วินาทีเท่านั้น

ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รายงานพื้นที่ประสบอุทกภัยล่าสุดอยู่ที่ 29 จังหวัด 191 อำเภอ 1,078 ตำบล และ 7,962 หมู่บ้าน (ณ วันที่ 26 กันยายน) ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 628,766 ครัวเรือน 2,108,977 คน บ้านเรือนเสียหาย 6,900 หลัง พื้นที่ทางการเกษตร 1,146,237 ไร่ ถนน 2,310 สาย และสะพาน 145 แห่ง


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view