สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โคราชประกาศ 20 อำเภอ พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม น้ำป่าเขาใหญ่พัดสะพานขาด

โคราชประกาศ 20 อำเภอ พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม น้ำป่าเขาใหญ่พัดสะพานขาด

จากประชาชาติธุรกิจ

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดนครราชสีมา รายงานเมื่อวันที่ 29 กันยายน ว่า ภายหลังจากที่เกิดฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นวันที่ 3 ส่งผลให้น้ำในลำน้ำมูลมีปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณเหนือเขื่อนพิมาย ซึ่งมีปริมาณน้ำขึ้นสูงวันละ 10 เซนติเมตร ตลอด 3 วันที่ผ่านมา เนื่องจากบริเวณหน้าเขื่อนพิมาย มีวัชพืชและผักตบชวาลอยมาติดอยู่หน้าเขื่อนเป็นจำนวนมาก จนทำให้ประตูระบายน้ำซึ่งเคยระบายได้วันละ 19 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ขณะนี้ระบายได้เพียง 15 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น เช้าวันนี้เจ้าหน้าที่ของโครงการส่งนำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชาวบ้านในพื้นที่ ช่วยกันลงไปผลักดันวัชพืชและผักตบชวาที่มาติดอยู่หน้าเขื่อนพิมาย ให้ไหลลงไปตามน้ำใต้เขื่อน เพื่อช่วยให้ประตูระบายน้ำของเขื่อนพิมาย สามารถระบายน้ำได้ดีขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้นำเครื่องช่วยดันน้ำขนาดใหญ่จำนวน 4 เครื่อง มาติดตั้งบริเวณประตูเขื่อนพิมาย เพื่อช่วยดันน้ำให้ไหลลงสู่ลำน้ำมูลได้เร็วขึ้นอีกด้วย

ด้าน นางปิยะฉัตร อินทร์สว่าง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางจังหวัดนครราชสีมา ได้ประกาศพื้นที่ประสบปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมแล้ว 20 อำเภอ จากทั้งหมด 32 อำเภอ อาทิ อ.เมือง, ด่านขุนทด, โนนไทย, พิมาย, แก้งสนามนาง, ปากช่อง, บัวใหญ่ และ อ.คง

ขณะเดียวกันก็ได้รับรายงานว่ามีน้ำป่าจากเขาใหญ่ ไหลบ่าทำสะพานขาด บริเวณหมู่บ้านหนองยาง ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง ทำให้ประชาชนไม่สามารถสัญจรผ่านไป-มาได้ ส่วนการช่วยเหลือขณะนี้ทาง ปภ.จังหวัดนครราชสีมา ก็ได้จัดเข้าหน้าที่นำเรือท้องแบนที่มีอยู่ทั้งหมด ลงพื้นที่ไปช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว ถึงอย่างไรก็ตามในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อนนั้น ทางจังหวัดนครราชสีมา ก็มีงบฉุกเฉินอยู่ประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือทั้ง 20 อำเภอ จึงต้องกระจายช่วยเหลืออำเภอที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดก่อน ส่วนพื้นที่อื่นก็ขอให้ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยเหลือในเบื้องต้น ก่อนในระยะนี้


น้ำท่วมสุโขทัยหนัก นาข้าวจมน้ำ 6 พันไร่ ชาวนาขู่ปิดสนามบินทั้งน้ำตา จี้เปิดทางระบายน้ำ

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 29 กันยายน ถึงสถานการณ์น้ำท่วม ในพื้นที่หมู่ 5 ,6 ,8 ,10 ,11 ต.ย่านยาว และหมู่ที่ 4 ,10 ต.คลองกระจง รวมทั้งที่บ้านหนองชุมแสง ต.ท่าทอง และบ้านหนองแขม ต.หนองกลับ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ยังคงวิกฤตและขยายวงกว้าง ส่งผลให้นาข้าวเสียหายกว่า 6,000 ไร่ ส่วนชาวนาในพื้นที่หมู่ 5 ต.ย่านยาว นั้นก็ยังมีการระดมญาติพี่น้องและเพื่อนบ้าน มาช่วยกันตักดินใส่กระสอบ แล้วขนลงเรือนำไปวางเสริมคันดินทำแนวกั้น ไม่ให้น้ำทะลักท่วมนาข้าวอีกฝั่งด้วย

นาง จำเรียง ศรีสวัสดิ์ อายุ 41 ปี ชาวนาหมู่ที่ 5 ต.ย่านยาว เผยทั้งน้ำตาว่า ตนเองทำนาทั้งหมดรวม 150 ไร่กำลังจะได้เก็บเกี่ยว แต่ตอนนี้ถูกน้ำท่วมจนต้นข้าวเน่าตายเกือบหมดแล้ว จึงขอวิงวอนให้ทางสนามบินสุโขทัย ช่วยเร่งเปิดทางระบายน้ำให้ด้วย เพราะถ้าไม่เปิดหรือไม่สนใจความเดือดร้อนครั้งนี้ ชาวนาทั้ง 4 ตำบลที่ได้รับผลกระทบ จะรวมตัวกันเอารถไถกับรถอีแต๋นไปปิดทางเข้าออกสนามบินอย่างแน่นอน เพื่อให้รับรู้ถึงความเดือดร้อนของชาวนา ที่ต้องทนกันมานานกว่า 10 ปี

“ปัญหา น้ำท่วมนาข้าวพื้นที่แห่งนี้ มีมานานกว่า 10 ปีแล้ว รุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะน้ำไม่มีทางไป เนื่องจากทางสนามบินสุโขทัยได้มีการสร้างคันดิน เป็นแนวกั้นน้ำล้อมรอบป้องกันพื้นที่ตัวเอง แม้ชาวนาเคยขอร้องให้ช่วยเปิดทางระบายน้ำผ่านพื้นที่ของสนามบินแต่ก็ไม่เป็น ผล จนปัญหาเกิดขึ้นมาทีก็พากันไปขอร้องกันที เป็นแบบนี้มาตลอด”

นาง สาวดวงเนตร คำนึงควร อายุ 21 ปี กล่าวด้วยน้ำตาว่า ตนเองกำลังศึกษาอยู่ระดับมหาวิทยาลัย แม่ซึ่งทำนาตรงนี้มีหนี้สินเยอะมากหลายแสนบาท ถ้าน้ำท่วมข้าวที่เหลืออยู่ซ้ำอีก ก็จะทำให้มีหนี้สะสมเพิ่มขึ้น แล้วก็จะไม่เหลือเงินส่งตนเองเรียนด้วย จึงไม่อยากให้น้ำท่วมนาอีกแล้ว อยากขอความอนุเคราะห์ทางสนามบินให้ช่วยเปิดทางน้ำ เพราะชาวนาทุกคนเดือดร้อนกันหมด ต้องส่งลูกเรียน ต้องจ่ายหนี้ทุกอย่าง จึงขอความเห็นใจด้วย

ด้านนายคำรณ สังวาลย์ อายุ 55 ปี ชาวนาในพื้นที่ เปิดเผยว่า ตนเองทำนาทั้งหมด 148 ไร่ ถูกน้ำท่วมเสียหายแล้วบางส่วน จึงต้องเร่งจ้างรถแบ็คโฮมาขุดทำคันดิน ป้องกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมนาข้าวที่เหลืออยู่ หมดเงินไปเกือบ 500,000 บาทแล้ว ขณะที่นางวาสนา ถนอมวงษ์ เพื่อนบ้านก็ต้องจ้างรถแบ็คโฮชั่วโมงละ 1,800 บาทเช่นกัน เสียเงินไปแล้วกว่า 200,000 บาท เป็นค่าจ้างขุดทำคันดินป้องกันน้ำท่วมนาครั้งนี้

“ถ้าไม่เร่งเปิดทาง น้ำผ่านสนามบินสุโขทัย นาข้าวที่เหลืออยู่จะต้องเน่าตายหมดแน่นอน รวมทั้งนาข้าวที่อยู่ตำบลใกล้เคียงก็จะมีเสียหายเพิ่มขึ้นด้วย เพราะยังไม่หมดช่วงฤดูฝน ระดับน้ำก็เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน และนาข้าวก็ถูกท่วมขังมานานเกือบ 2 เดือนแล้ว ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องปิดสนามบินสุโขทัย เพื่อให้เขาสนใจความเดือดร้อนของชาวนาครั้งนี้”


ที่มา มติชนออนไลน์


จวกรัฐล้มเหลวใช้1.2แสนล้านป้องน้ำท่วม

"มัลลิกา"จวกรัฐบาลล้มเหลวใช้ 1.2 แสนล้านบาท ป้องกันน้ำท่วม

น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นว่า จังหวัดภัยพิบัติน้ำท่วม 29 จังหวัด โดยข้อมูลของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการอนุมัติงบกลางไปก่อนหน้านี้ 1.2 แสนล้านไม่รวมอีก 1 หมื่นล้านจากเงินกู้ 3.5 แสนล้านที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี นำไปใช้นั้น มีอะไรเป็นรูปธรรมบ้าง เพราะปัญหาน้ำท่วมยังคงอยู่และในบางพื้นที่หนักกว่าปี 2554

รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะที่ข้อมูลของสำนักนายกรัฐมนตรี มี 146 โครงการใช้งบประมาณถึง 1.2 แสนล้าน เพื่อขุดลอกคูคลอง ทำผนังกั้นน้ำ และฝาย เพื่อให้มีการระบายน้ำอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การเปิดประตูระบายน้ำก็ยังเป็นไปตามปกติแต่เงิน 1.2 แสนล้านไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

"เพราะมีการทุจริต เจ๊ ด. เรียกรับ 40% เป็นความจริงใช่หรือไม่ เพราะประชาชนนครสวรรค์ อ่างทอง ไล่ลงมา เคยร้องเรียนว่าเป็นแค่การขุดแปะจริงใช่หรือไม่ เมื่อนายกฯอนุมัติงบ 1.2 แสนล้านแต่ยังเกิดน้ำท่วมที่ผิดปกติ จึงจะนำเรื่องยื่นต่อ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบด้วย อีกทั้งการใช้เงิน 1 หมื่นล้านบาทจากเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท เอาเงินไปใช้อะไร รายละเอียดเป็นอย่างไร ช่วยชี้แจงให้ประชาชนรับทราบด้วย เพราะไม่มีการนำประสบการณ์ปี 2554 มาใช้ให้เป็นประโยชน์" รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว


น้ำท่วมไทย30จว.เดือดร้อน2ล้านคน

จาก โพสต์ทูเดย์

ปภ.เผยทั่วไทยเจอน้ำท่วมรวม30จังหวัด 210อำเภอ ราษฎรเดือดร้อนกว่า2ล้านคน กรมชลฯเผยเขื่อนยังรับน้ำไหว

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวตั้งแต่วันที่ 17 กันยายนทั่วประเทศประสบอุทกภัย รวม 30 จังหวัด 210 อำเภอ มีประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 2 ล้านคน แบ่งผู้ประสบภัยที่ได้รับความเดือดร้อนจากสภาวะฝนตกหนักและน้ำไหลหลาก มีพื้นที่ 26 จังหวัด สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 5 จังหวัด และผู้ประสบภัย จากสถานการณ์ปริมาณน้ำล้นตลิ่ง 4 จังหวัด

กระทรวงมหาดไทย ได้เตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนล่วงหน้าไว้แล้ว ขณะเดียวกัน ได้แบ่งการช่วยเหลือประชาชนตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการเยียวยาความเสียหาย ซึ่งยืนยันว่าจะสำรวจพื้นที่ความเสียหายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม นอกจากนี้ ได้เร่งสำรวจความเสียหายของถนน สะพาน วัด และสถานที่ราชการด้วย

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ  สำรวจเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 56 มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 47,262 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 67 ของความจุอ่างฯ ขนาดใหญ่ รวมกันทั้งหมด สามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนได้อีกกว่า 22,800 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ยังคงเน้นการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกลงมา ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง อีกใน 1 - 2  เดือนข้างหน้านี้.


น้ำป่าทะลักท่วม2อำเภอพิษณุโลก

จาก โพสต์ทูเดย์

น้ำป่าทะลักท่วม2อำเภอพิษณุโลก

น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ทะลักท่วม 2 อำเภอ จ.พิษณุโลก ขณะที่ทั้งจังหวัดประสบภัยน้ำท่วมแล้ว 8 อำเภอ 

เมื่อวันที่ 29 ก.ย.หลังจากฝนตกหนักในในช่วงหลายวันติดต่อกัน ทำให้น้ำจากเทือกเขาเพชรบูรณ์หลากเข้าท่วมในพื้นที่ อ.เนินมะปราง และ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก โดยเฉพาะที่ อ.วังทอง มวลน้ำได้ทะลักจากแม่น้ำวังทอง เข้าท่วม 3 หมู่บ้าน คือหมู่ 8 บ้านวังสำโรง และหมู่ 14 บ้านวังฉำฉา หมู่ 7 บ้านวังพิกุล  ต.วังพิกุล อ.วังทอง น้ำได้ทะลักท่วมพื้นที่ทางเกษตรหลายพันไร่ น้ำตัดถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านขาดเป็นทางยาวกว่า 1 กม. ระดับน้ำสูงกว่า 30 ซม. จนชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้านต้องช่วยกันระดมขนกระสอบทรายมากั้นทางน้ำ

นายบุญยิ่ง คุ้มสุพรรณ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ขณะนี้ทางจังหวัดได้ประกาศให้ 8 อำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว ส่วนใหญ่จะมีน้ำท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตรมากกว่า ส่วนที่น้ำที่หลากจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ หลากเข้าท่วม อ.เนินมะปรางเมื่อวานที่ผ่านมา ได้ทรงตัวแล้ว แต่ในช่วงเช้านี้ได้รับรายงานว่า น้ำจากแม่น้ำวังทอง ได้ทะลักเข้าท่วมในหลายพื้นที่ของ อ.วังทอง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปสำรวจและเร่งดำเนินการช่วยเหลือต่อไป 


ชาวนาขู่ปิดสนามบินสุโขทัยจี้ช่วยระบายน้ำ

จาก โพสต์ทูเดย์

ชาวนาสุโขทัยขู่ปิดสนามบิน จี้ให้ช่วยระบายน้ำออกจากที่นา หลังน้ำท่วมเสียหายกว่า 6,000ไร่

เมื่อวันที่ 29 ก.ย.สถานการณ์น้ำท่วมนาในพื้นที่หมู่ 5 ,6 ,8 ,10 ,11 ต.ย่านยาว และหมู่ที่ 4 ,10 ต.คลองกระจง รวมทั้งที่บ้านหนองชุมแสง ต.ท่าทอง และบ้านหนองแขม ต.หนองกลับ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เป็นพื้นที่กว่า 6,000 ไร่ ยังคงวิกฤตและขยายวงกว้าง

นางจำเรียง  ศรีสวัสดิ์ อายุ 41 ปี ชาวนาหมู่ที่ 5 ต.ย่านยาว กล่าวว่าทำนาทั้งหมดรวม 150 ไร่กำลังจะได้เก็บเกี่ยวแต่ตอนนี้ถูกน้ำท่วมจนต้นข้าวเน่าตายเกือบหมดแล้ว จึงขอวิงวอนให้ทางสนามบินสุโขทัย ช่วยเร่งเปิดทางระบายน้ำให้ด้วย เพราะถ้าไม่เปิดหรือไม่สนใจความเดือดร้อนครั้งนี้ ชาวนาทั้ง 4 ตำบลที่ได้รับผลกระทบ จะรวมตัวกันเอารถไถกับรถอีแต๋นไปปิดทางเข้าออกสนามบินอย่างแน่นอน เพื่อให้รับรู้ถึงความเดือดร้อนของชาวนา ที่ต้องทนกันมานานกว่า 10 ปี

“ปัญหาน้ำท่วมนาข้าวพื้นที่แห่งนี้ มีมานานกว่า 10 ปีแล้ว รุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะน้ำไม่มีทางไป เนื่องจากทางสนามบินสุโขทัยได้มีการสร้างคันดิน เป็นแนวกั้นน้ำล้อมรอบป้องกันพื้นที่ตัวเอง แม้ชาวนาเคยขอร้องให้ช่วยเปิดทางระบายน้ำผ่านพื้นที่ของสนามบินแต่ก็ไม่เป็น ผล จนปัญหาเกิดขึ้นมาทีก็พากันไปขอร้องกันที เป็นแบบนี้มาตลอด”นางจำเรียงกล่าว

ด้านนายคำรณ  สังวาลย์ อายุ 55 ปี ชาวนาในพื้นที่ กล่าวว่า ทำนาทั้งหมด 148 ไร่ ถูกน้ำท่วมเสียหายแล้วบางส่วน จึงต้องเร่งจ้างรถแบ็คโฮมาขุดทำคันดิน ป้องกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมนาข้าวที่เหลืออยู่ หมดเงินไปเกือบ 500,000 บาทแล้ว ขณะที่นางวาสนา  ถนอมวงษ์ เพื่อนบ้านก็ต้องจ้างรถแบ็คโฮชั่วโมงละ 1,800 บาทเช่นกัน เสียเงินไปแล้วกว่า 200,000 บาท เป็นค่าจ้างขุดทำคันดินป้องกันน้ำท่วมนาครั้งนี้

“ถ้าไม่เร่งเปิดทางน้ำผ่านสนามบินสุโขทัย นาข้าวที่เหลืออยู่จะต้องเน่าตายหมดแน่นอน รวมทั้งนาข้าวที่อยู่ตำบลใกล้เคียงก็จะมีเสียหายเพิ่มขึ้นด้วย เพราะยังไม่หมดช่วงฤดูฝน ระดับน้ำก็เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน และนาข้าวก็ถูกท่วมขังมานานเกือบ 2 เดือนแล้ว ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องปิดสนามบินสุโขทัย เพื่อให้เขาสนใจความเดือดร้อนของชาวนาครั้งนี้”นายคำรณกล่าว


เขื่อนป่าสักเร่งปล่อยน้ำหลังใกล้เต็มความจุ

จาก โพสต์ทูเดย์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เร่งปล่อยน้ำหลังระดับน้ำใกล้เต็มเขื่อน ขณะที่อำเภอท่าเรือใช้กระสอบทรายปิดจุดเสี่ยงน้ำป่าสักล้นตลิ่งแล้ว

เมื่อวันที่ 29 ก.ย. เวลา 18.00น.  นายวิทิต ปิ่นนิกร นายอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ยังเฝ้าติดตามสถานการณ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีน้ำเกือบเต็มเขื่อน จนต้องเร่งปล่อยระบายน้ำลงท้ายเขื่อน ล่าสุดที่ 322 ลบ.ม./วินาทีแล้ว ส่งผลให้เขื่อนพระรามหก ในเขตอำเภอท่าเรือ ซึ่งรับน้ำโดยตรงจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ต้องเพิ่มการปล่อยน้ำท้ายเขื่อน ลงแม่น้ำป่าสักตอนล่าง  มากถึง 450 ลบ.ม./วินาที  โดยกรมชลประทานแจ้งว่า จะปล่อยให้ได้ถึง  500 ลบ.ม./วินาทีในเร็วๆนี้

สำหรับตลาดสดอำเภอท่าเรือริมแม่น้ำป่าสัก ระดับน้ำยังต่ำกว่าตลิ่ง 1 เมตร และเพื่อความไม่ประมาท ได้นำกระสอบทราย มาปิดจุดเสี่ยงใต้สะพานจักรี และสะพานมนตรี ด้วยการอุดท่อน้ำทิ้ง  เพื่อป้องกันน้ำจากแม่น้ำป่าสักไหล ย้อนเข้าถนนหน้าตลาด พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ เพื่อสูบน้ำฝนทิ้งลงแม่น้ำ


น้ำท่วมพิจิตรครอบคลุม11อำเภอ

สถานการณ์น้ำท่วม ในจ.พิจิตร ยังน่าเป็นห่วง โดยมีปัจจัยมาจากน้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ที่ไหลมาจาก อ.ทับคล้อ ไหลลงสู่เขตพื้นที่ อ.บางมูลนาก

กระแสน้ำได้ไหลผ่านมาทางลำคลองสาขา ท่วมโรงเรียน และบ้านเรือนประชาชน ท่วมสูง 1 เมตร และยังเพิ่มระดับท่วมสูงขึ้น เนื่องจากมวลน้ำจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาชนแดน จะไหลมารวมกันที่อ.บางมูลนาก สำหรับที่อ.บางมูลนาก พบว่า น้ำท่วม 8 ตำบล 43 หมู่บ้าน ประชาชนเดือดร้อน 2,526 คน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ กว่า 3,000 ไร่

ด้านเจ้าหน้าที่ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดพิจิตร และผู้นำท้องถิ่น เร่งประกาศเตือนประชาชน ใน อ.ทับคล้อ อ.ดงเจริญ เตรียมรับมือมวลน้ำก้อนใหม่ที่ ไหลมาจากเทือกเขา เพชรบูรณ์ ที่จะท่วม รอบที่ 2

ขณะที่ศูนย์อุทกภัยจังหวัดพิจิตร รายงาน น้ำท่วมจังหวัดพิจิตร รวมเป็น 11 อำเภอ คือ ทับคล้อ ,เมือง,ดงเจริญ,สากเหล็ก,บึงนาราง,วังทรายพูน,สามง่าม ,

ตะพานหิน,วชิรบารมี, โพธิ์ประทับช้าง และ บางมูลนาก จากทั้งหมด 12 อำเภอของจังหวัดพิจิตร โดยมีผู้เดือดร้อน รวม 1,1521 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต จากน้ำท่วม 1 ราย พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 42,213 ไร่ โรงเรียน จำนวน 12 โรงเรียน วัด 2 แห่ง


ปลอดฯ"มั่นใจ2สัปดาห์น้ำท่วมปราจีนฯคลี่คลาย

จาก โพสต์ทูเดย์

ปลอดประสพมั่นใจอีก 2 สัปดาห์น้ำท่วมปราจีนบุรีคลี่คลาย หลังระบายน้ำออกจากพื้นที่แล้ว 2 ล้าน ลบ.ม. เหลืออีก 800 ลบ.ม.

นายปลอดประสพ สุรัสวดี รอนายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน กบอ. กล่าวระหว่างเดินทางลงพื้นที่จ.ปราจีนบุรีเพื่อติดตามสถานการณืน้ำท่วมว่า ปัจจุบันสามารถระบายน้ำจากพื้นที่ปราจีนบุรีได้แล้ว 200 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลืออีก 800 ล้านลูกบาศก์เมตร ถ้าอีก 2 สัปดาห์ สามารถระบายน้ำได้อีก 600 ล้านลูกบาศก์เมตร ทุกอย่างก็จะคลี่คลาย ปัจจุบันพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ในกบินทร์บุรี มีประชาชนเข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งในอดีตเรียกว่าทุ่งกบินทร์บุรี รองรับน้ำ 800-900 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปริมาณน้ำก็เท่าเดิม เพียงแต่เมืองขยาย ประชาชนเข้ามาอาศัย มีโรงงาน การไหลของน้ำก็ย่อมล่าช้าซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข

ด้าน น.ส.จิตรา พรหมชุติมา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า จังหวัดปราจีนบุรี มีแม่น้ำปราจีนบุรีไหลผ่านอำเภอกบินทร์บุรี อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอเมือง และอำเภอบ้านสร้าง ซึ่งเป็นลำน้ำสายเดียวในการระบายน้ำ พื้นที่ตอนบนมีศักยภาพในการสร้างอ่างเก็บน้ำ แต่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทำให้ไม่มีเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำ เมื่อเกิดฝนตกทำให้เกิดอุทกภัยทุกปี นอกจากนี้ฝนที่ตกในลำน้ำสายต่างๆ ที่ไหลมาจากจังหวัดสระแก้ว มาบรรจบที่แควหนุมาน ซึ่งไหลมาจากเขาใหญ่ในจังหวัดปราจีนบุรี ที่อำเภอกบินทร์บุรี ทำให้จังหวัดปราจีนบุรี ต้องบริหารจัดการน้ำของสระแก้วด้วย

ทั้งนี้ ในปีนี้มีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. ทำให้ปริมาณน้ำของลำน้ำสาขาและแม่น้ำปราจีนมีปริมาณน้ำสูงขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับเมื่อวันที่ 19 ก.ย.มีฝนตกเกิน 100 ม.ม.ทั้งในพื้นที่ปราจีนฯและสระแก้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในลำน้ำเพิ่มมากขึ้นและท่วมพื้นที่ชุมชนตลาดเก่า ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.และเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 27 ก.ย. มีระดับน้ำวัดได้ 11.81 เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับตลิ่ง 3.31 เมตร สูงที่สุดเท่าที่มีการจัดเก็บสถิติตั้งแต่ปี 2484 เป็นต้นมา ซึ่งสถิติเคยสูงสุดในปี 2533 สูง 11.70 เมตร พื้นที่ประสบอุทกภัยและผลกระทบ 7 อำเภอ 45 ตำบล 363 หมู่บ้าน 3 เทศบาลตำบล 21 ชุมชน ราษฎรประสบภัยพิบัติ 11,765 ครัวเรือน พื้นที่เกษตร 94,601 ไร่ บ่อปลา 605 บ่อ สัตว์เลี้ยง 77,979 ตัว ถนน 311 สาย สะพาน 6 แห่ง วัด 36 แห่ง โรงเรียน 42 แห่ง เสียชีวิต 2 ราย

สำหรับแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วยการเปิดน้ำเข้าทุ่งบางพลวง ที่ประตูระบายน้ำหาดยาง อำเภอศรีมหาโพธิ เปิดน้ำเข้าทุ่งท่าแห 3 ประตู และได้รับการสนับสนุนเครื่องผลักดันน้ำจาก กบอ. 17 เครื่อง สำหรับอุปสรรคในการทำงาน ประกอบด้วยเรือไม่เพียงพอในการช่วยเหลือ , ปัญหาความขัดแย้งของประชาชนระหว่างชุมชนเมืองและชุมชนเกษตรด้านการระบายน้ำ ซึ่งต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือในระบบป้องกันและบรรเทาอุทกภัย (Flood Way) จากอำเภอศรีมหาโพธิไปลงคลองคูมอญ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะทาง 54.5 ก.ม. สร้างอ่างเก็บน้ำใสน้อย ใสใหญ่และสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหนองแก้ว อำเภอประจันตคาม


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view