สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จี้รัฐเปิดราคากลางโครงการน้ำ3.5แสนล.

จาก โพสต์ทูเดย์

ป.ป.ช.ย้ำทุกโครงการรัฐต้องเปิดราคากลาง หากฝ่าฝืนมีสิทธิ์โดนถอดถอน "สุภา"ชี้โครงการน้ำ3.5แสนล.ถ้าปิดราคากลางเจอดีแน่

ที่โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ "มาตรการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและหลักเกณฑ์การแสดง บัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงาน ของรัฐ"

นายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ป.ป.ช.ได้ให้ความสำคัญต่อการปราบปรามการทุจริตตั้งแต่ต้นทาง โดยปัจจุบันพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต พ.ศ. 2542 กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุที่มี มูลค่ามากกว่า 2 ล้านบาทในทุกกรณี ต้องเปิดเผยราคากลางเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายให้สาธารณชนได้รับทราบ นอกจากนี้ยังบัญญัติให้คู่สัญญาของรัฐที่เป็นบริษัทสัญชาติไทยและต่างประเทศ ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละโครงการให้กรมสรรพากรรับทราบ เพื่อป้องกันไม่ให้นำรายได้จากการเป็นคู่สัญญากับรัฐไปใช้ในทางทุจริต

นายภักดี กล่าวว่า การที่กฎหมายกำหนดให้เปิดเผยราคากลางต่อสาธารณะ เพราะต้องการให้เกิดความโปร่งใสและประชาชนได้มีส่วนตรวจสอบว่าตัวเลขการจัด ซื้อจัดจ้างของภาครัฐในแต่ละโครงการนั้นมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ ซึ่งสำนักงานป.ป.ช.ได้ดำเนินการเปิดเผยราคากลางในทุกโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ตามกฎหมายแล้ว

"มาตรการนี้จะมีความศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ก็อยู่ที่ตัวกฎหมาย เพราะในกฎหมายป.ป.ช.มีบทกำหนดโทษสำหรับบุคคลที่ไม่เปิดเผยราคากลางด้วย คือ ถ้าผู้ฝ่าฝืนเป็นข้าราชการก็จะมีความผิดทางวินัย แต่หากเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งสูงกว่านั้นก็อาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ ซึ่งมาตรการนี้ของป.ป.ช.ไม่ได้เป็นการขมขู่แต่เป็นการขอความร่วมมือมากกว่า" นายภักดี กล่าว

ด้าน นางสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โครงการบริหารจัดการน้ำวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายกระทรวงการคลังและป.ป.ช.ที่จะทำให้เกิดความโปร่งใส ทั้งนี้ก่อนการใช้งบประมาณในทุกครั้งหน่วยงานภาครัฐจะต้องมีความคิดที่ตก ผลึกว่าจะดำเนินโครงการอย่างไร เพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

นางสุภา กล่าวว่า ในอดีตก่อนจะบังคับให้เปิดเผยราคากลาง พบว่า มีกระบวนการกีดกันไม่ให้เอกชนบางรายมายื่นซองประมูลต่อหน่วยงานของรัฐ ต่อมาได้แก้ไขกฎหมายให้สามารถประมูลโครงการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด ดังนั้น คิดว่าการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ทำการเปิดเผยราคากลางจึงเป็นแนวทางที่สำคัญที่ ช่วยลดการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

"การทำให้เกิดความโปร่งใสผ่านการเปิดเผยราคากลางถือว่าเป็นมาตรการที่ดี เพราะต่อไปจะมีผลต่อการจัดทำดัชนีชี้วัดความโปร่งใสของประเทศไทยด้วย" นางสุภา กล่าว

ทั้งนี้ ได้มีตัวแทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สอบถามว่า โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท จะต้องประกาศราคากลางตามกฎหมายป.ป.ช.หรือไม่ เพราะในพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวาง ระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 ได้มีการระบุว่าการจัดซื้อจัดจ้างไม่ต้องดำเนินการระเบียบว่าด้วยพัสดุ

นางสุภา ตอบว่า แม้จะมีการออกกฎหมายเพื่อใช้ดำเนินการจัดซื้อจ้างเป็นการเฉพาะ แต่บทบัญญัติดังกล่าวจะไม่สามารถมายกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแม่บทอย่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯในมาตรา 103/7 และ 103/8 ที่กำหนดให้ต้องเปิดเผยราคากลางได้ ซึ่งเท่ากับว่าโครงการนี้จะต้องเปิดเผยราคากลางตามกฎหมาย

นางสุภา กล่าวว่า โดยหลักแล้วการดำเนินการประมูลโครงการควรจะมีแบบแปลนก่อสร้างที่ชัดเจนและ สมบูรณ์ที่มาจากผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรก่อน เพื่อให้มีรูปแบบการก่อสร้างที่ชัดเจน โดยจะมาออกแบบไปและก่อสร้างไปพร้อมๆกันไม่ได้

"จะแยกหรือรวมกันประมูลในแต่โครงการหรือจะเอางบประมาณมากองไว้ไม่เป็นไร แต่ต้องมีแบบแผนการก่อสร้างให้ชัดเจนและเปิดเผยราคากลางต่อสาธารณะ เพราะในกฎหมายป.ป.ช.ระบุชัดเจนว่าการจัดซื้อจัดจ้างต้องเปิดเผยราคากลางและ รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ถ้าไม่ทำตามนี้ป.ป.ช.และกระทรวงการคลังก็ไม่อาจละเว้นไปได้" นางสุภา กล่าว


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view