สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ทางหลวงเผย 6 เส้นทางน้ำท่วมรถผ่านไม่ได้

ทางหลวงเผย 6 เส้นทางน้ำท่วมรถผ่านไม่ได้

จาก โพสต์ทูเดย์

ทางหลวงเผย 6 เส้นทางน้ำท่วมรถผ่านไม่ได้

อธิบดีกรมทางหลวง เผย  6 เส้นทาง ใน อุทัยธานี ศรีสะเกษ ปราจีนบุรี ถูกน้ำท่วมสัญจรไม่ได้

นายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยปัจจุบันยังส่งผลให้เส้นทางการจราจรทางบกบางส่วนถูกน้ำ ทะลักเข้าท่วม จนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาตามปกติ ทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขต พื้นที่ประสบอุทกภัยคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงที่ประสบปัญหาอุทกภัย และเส้นทางที่เจ้าหน้าที่กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งห้ามใช้เส้นทาง แล้วใช้เส้นทางที่เจ้าหน้าที่แนะนำ เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง

ซึ่งจากสรุปรายงานการเกิดอุทกภัย กรมทางหลวง ประจำวันที่ 25 กันยายน 2556 (เวลา 09.30 น.) มีสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ 12 จังหวัด จำนวน 24 สายทาง (จำนวนรวม 25 แห่ง ผ่านได้ 19 แห่ง, ผ่านไม่ได้ 6 แห่ง) ทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขต พื้นที่ประสบอุทกภัยคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงเส้นทาง 6 สายทางที่ผ่านไม่ได้ ในพื้นที่ 3 จังหวัด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง ดังนี้

1. จังหวัดอุทัยธานี
1.1 ทางหลวงหมายเลข 3220 แยกสะแกกรัง – เขาพะแวง ท้องที่อำเภอเมืองอุทัยธานี ช่วงกม.ที่ 8 – 9 สะพานชำรุด ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 3319 บ้านหาดสูง – เนินเหล็ก – เขาวอพระแวง
1.2 ทางหลวงหมายเลข 3319 บันไดสามขั้น – ทัพทัน ท้องที่อำเภอทัพทัน ช่วงกม.ที่ 17 – 18 ระดับน้ำสูง 70 เซนติเมตร ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 3013 ลาดยาว – อุทัยธานี – ท่าน้ำอ่อย
1.3 ทางหลวงหมายเลข 3456 หนองกระดี่ - คลองข่อย ท้องที่อำเภอสว่างอารมณ์ ช่วงกม.ที่ 3 – 4 ระดับน้ำสูง 65 เซนติเมตร ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 3456 สว่างอารมณ์ – ทัพทัน – โกรกพระ

2. จังหวัดปราจีนบุรี
2.1 ทางหลวงหมายเลข 3078 ระเบาะไผ่ - ประจันตคาม ท้องที่อำเภอศรีมหาโพธิ ช่วงกม.ที่ 16 – 17 ระดับน้ำสูง 45 เซนติเมตร ให้ใช้ทาง ทช.
2.2 ทางหลวงหมายเลข 3079 ปราจีนบุรี - ศรีมหาโพธิ ท้องที่อำเภอศรีมหาโพธิ ช่วงกม.ที่ 18 – 23 เป็นแห่งๆ ระดับสูง 35 – 50 เซนติเมตร ให้ใช้ทาง ทช.

3. จังหวัดศรีสะเกษ
4.1 ทางหลวงหมายเลข 226 ห้วยทับทัน – ศรีสะเกษ ท้องที่อำเภอเมือง ช่วงกม.ที่ 268 – 269 ระดับน้ำสูง 45 เซนติเมตร ให้ใช้ทาง ทช. สายบ้านเล้า-หนองไผ่ – บ้านหอย – บ้านคูชอด

ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้อง สัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ขอให้โปรดใช้ความระมัดระวังในการใช้เส้นทางเพิ่มขึ้นด้วย และให้สอบถามเส้นทางก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือทุกระยะในการเดินทาง สำหรับประชาชนที่ต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง การจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรศัพท์ไปได้ที่

สายด่วนกรมทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1586
สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง 0 2354 6530, 0 2354 6668-76 ต่อ 2014
ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง 0 2354 6551
แขวงการทางอุทัยธานี 0 5652 4542
แขวงการทางปราจีนบุรี 0 3721 1098
แขวงการทางศรีสะเกษ 0 4561 1535
ตำรวจทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 119


ปราจีนบุรียังวิกฤต ถนน-สะพานขาดหลายจุด

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

      ปราจีนบุรี - น้ำท่วมปราจีนฯยังอยู่ในขั้นวิกฤต พบถนนขาดหลายจุด และสะพานขาด ชาวบ้านต้องสร้างสะพานชั่วคราวไว้ใช้
       
       วันนี้ (25 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.ปราจีนบุรี มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมแล้ว 5 อำเภอจาก 7 อำเภอ จุดวิกฤต คือ อ.กบินทร์บุรี และอ.ศรีมหาโพธิ โดยนายวิทวัฒน์ นาแรมงาม รองนายก อบต.ย่านรี อ.กบินทร์บุรี กล่าวว่า ที่ ต.ย่านรี หลายหมู่บ้านถนนถูกน้ำป่าหลากรอบ 2 ตัดขาด ไม่สามารถสัญจรได้ จุดแรกบ้านท่าทองดำ หมู่ 2 เชื่อมต่อหมู่ 4 ถนนขาดเป็ยาวประมาณ 3 กิโลเมตร น้ำลึกประมาณ 1 เมตร
       
       จุดที่ 2 บ้านย่านรี หมู่ 5 ถนนถูกตัดขาด 2 ช่วง ช่วงแรกกว้างประมาณ 20 เมตร น้ำลึกประมาณ 1 เมตร ห่างออกไปราว 300 เมตร ถนนอีกช่วงที่ถูกตัดขาดกว้างประมาณ 30 เมตร น้ำลึกประมาณ 1.50 เมตร ชาวบ้านกำลังก่อสร้างสะพานข้ามจุดที่ถูกกระแสน้ำตัดขาด
       
       นายวิทวัฒน์ กล่าวว่า ระดับน้ำยังสูงขึ้นต่อเนื่อง มีผู้ได้รับความเดือดร้อนกว่า 900 หลังคาเรือน ซึ่งขณะนี้อบต.ได้จัดรถนำถุงยังชีพ พร้อมน้ำดื่ม ไปมอบให้กับผู้ประสบภัยถึงบ้าน เพราะชาวบ้านไม่สามารถออกมารับเองได้


ปูโยนกบอ.คุยกลุ่มต้านเขื่อนแม่วงก์

จาก โพสต์ทูเดย์

นายกฯ มอบหมายกบอ.รับฟังความเห็นต่างกรณีสร้างเขื่อนแม่วงก์ พร้อมทบทวน

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวก่อนเข้าประชุมสภาฯ ในการแถลงผลงานรัฐบาลวันที่สอง ถึงกรณีเสียงค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ว่า จุดยืนของรัฐบาล และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ(กบอ.)จะยึดประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชน ซึ่งรัฐบาลยินดีรับฟังข้อคิดเห็น และข้อห่วงใยของประชาชน โดยมอบให้ กบอ.เชิญตัวแทนมารับฟังและพูดคุยกัน เพื่อสะท้อนปัญหาและข้อเท็จจริง ทั้งนี้เราต้องมองการแก้ปัญหาแบบองค์รวม ทั้งผู้ได้รับผลกระทบที่อยู่ในบริเวณที่สร้างเขื่อน และผู้ได้รับผลกระทบกรณีไม่มีการสร้างเขื่อน เพราะโจทก์และวัตถุประสงค์ใหญ่คือเราต้องการเรื่องการบริหารจัดการน้ำ และต้องการปกป้องไม่ให้มวลน้ำจากด้านบนไหลลงมาสร้างความเสียหาย ขณะเดียวกันเราก็เข้าใจประเด็นที่ห่วงว่าการสร้างเขื่อนจะทำให้ธรรมชาติ ต่างๆ สูญเสียไป เชื่อว่าทุกคนก็รักและหวงแหนธรรมชาติ จึงอยากให้ กบอ.ได้มองในทุกมิติ

อย่างไรก็ตาม หากผลสรุปออกมา พบว่าการสร้างเขื่อนแม่วงก์มีผลเสียมากกว่าผลดีนั้น รัฐบาลก็ต้องกลับมาทบทวนและหาวิธีแก้ปัญหาอุทกภัยทางเทคนิคในวิธีอื่น


เจ้าพระยาล้นตลิ่งสิงห์บุรี-อ่างทองท่วมแล้ว

จาก โพสต์ทูเดย์

น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นเอ่อท่วมสิงห์บุรีลึกกว่า1เมตร ขณะที่อ่างทองคันดินพังบ้านจมกว่า 100 หลังคาเรือน

เมื่อวันที่ 25 ก.ย.สถานน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่อ.อินทร์บุรี อ.พรหมบุรี และอ.เมืองสิงห์บุรี ที่ประชาชนอาศัยอยู่ริมชายฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับผลกระทบจากน้ำเอ่อล้นตลิ่งลึกกว่า 1 เมตร

นายสุรพล แสวงศักดิ์ ผวจ.สิงห์บุรี กล่าวว่า ได้สั่งการให้นายอำเภอทุกอำเภอ อบต.เทศบาลเมืองฯ ที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ให้จัดทำรายงานความคืบหน้าส่งจังหวัดวันละ 2 ครั้ง ในเวลา 09.00 น. และ 16.00 น.ของทุกวัน นอกจากนี้ยังกำชับให้ทุกอำเภอ เทศบาล อบต. มีความรอบครอบในเรื่องการแจกถุงยังชีพให้กับประชาชน ขอให้แจกผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง และขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ รวมทั้งเฝ้าระวังอันตรายจากสภาวะน้ำล้นตลิ่งอย่างใกล้ชิด

นายณรงค์ศักดิ์ วิงวอน นายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรี กล่าวว่า วันนี้การระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาได้เพิ่มขึ้น อยู่ที่ 2,212 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ชุมชนบ้านบางแคใน เขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ได้รับผลกระทบ จากระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอีก ชาวบ้านต้องเร่งขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่สูง ประกอบกับได้รับทราบประกาศเตือนของกรมชลประทานที่จะมีการเพิ่มการระบายน้ำ ขึ้นอีก ในช่วงที่มีมรสุมเข้า ขณะเดียวกัน ทางเทศบาลเมืองสิงห์บุรีได้ทำการป้องกันโดยใช้วิธีปิดท่อระบายน้ำทุกจุดไม่ ให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาย้อนเข้ามาในเขตชุมชนเศรษฐกิจและใช้วิธีสูบออก

นอกจากนี้ ที่หมู่ 1 ต.บางกระบือ อ.เมือง ยังได้รับผลกระทบจากน้ำที่เอ่อล้นตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตก จำนวน 30 หลังคาเรือน น้ำลึกประมาณ 1 เมตร ประชาชนช่วยกันขนย้ายสิ่งของไปไว้บนที่สูง

ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จ.ดอ่างทองยังคงวิกฤต ล่าสุดน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยายังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและได้ทะลักเข้าท่วม บ้านเรือนประชาชนขยายเป็นวงกว้าง

นอกจากนี้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ยังได้ได้กัดเซาะคันดินจุดก่อสร้างเขื่อนเรียงหินริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณหน้าบ้านเลขที่ 45 หมู่ 6 ต.บ้านแห อ.เมือง จ.อ่างทอง จนทรุดตัวลง และขยายวงกว้างทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในหมู่ที่ 5 และ 6 ต.บ้านแห อ.เมือง จ.อ่างทอง กว่า 100 หลังคาเรือนสูงกว่า 30 เซนติเมตร และเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวบ้านต้องเร่งเก็บของหนีน้ำกันจ้าละหวั่น

ขณะที่บางบ้านมีแต่ผู้สูงอายุอยู่ภายในบ้านไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจากอำเภอเมืองอ่างทอง ต้องเข้าช่วยเหลือในการย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง โดยคันดินดังกล่าวอยู่ระหว่างการก่อสร้างเขื่อนเรียงหินที่ยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการสร้างแนวป้องกันได้

นายไพรวัลย์ รวมจิตร ปลัด อบต.บ้านแห ต.บ้านแห อ.เมือง จ.อ่างทอง พร้อมเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่สำรวจคันดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาหมู่ที่ 6 ต.บ้านแห ที่ถูกน้ำกัดเซาะและล้นคันกั้นน้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน โดยนายไพรวัลย์ กล่าวว่า ทาง อบต.บ้านแห พยายามเต็มที่แล้วที่จะเสริมคันดินบริเวณดังกล่าวเพื่อไม่ให้น้ำทะลักเข้า ท่วมบ้านเรือนประชาชน แต่ด้วยระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและไหลแรงคันดิน จึงไม่สามารถต้านทานอยู่จึงต้องปล่อยให้น้ำท่วมตามธรรมชาติ

นายฉัตรณรงค์ ศิริพร ณ นครราชสีมา ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอ่างท่อง กล่าวว่า ระดับน้ำที่อ่างทองยังสูงขึ้นตลอด โดยมีปัจจัยมาจากเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่ราบลุ่มในเขต ต.จำปาหล่อ อ.เมือง และ ต.โผงเผง ใน อ.ป่าโมก ได้รับผลกระทบวงกว้าง โดยขณะนี้ที่ ต.โผงเผง ท่วมแล้วเกือบทั้งตำบล

ขณะที่สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล่าสุดเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำลงสู่ ท้ายเขื่อนอยู่ที่ 2,220 ลบ.เมตร/วินาที ทำให้ระดับน้ำที่ไหลผ่านสถานีโทรมาตร C7A หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทองอยู่ที่ 2,152 ลบ.เมตร/วินาที ระดับน้ำสูง 8.05 เมตร/รทก. ส่งผลให้พื้นที่ราบลุ่มในเขต ต.จำปาหล่อ ต.บ้านแห ต.บ้านอิฐ อ.เมืองอ่างทอง และ ต.โผงเผง อ.ป่าโมก ได้รับผลกระทบขยายวงกว้า

ด้าน นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย กล่าวว่า ได้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้มาตลอด โดยเฉพาะ จ.สุรินทร์ ศรีสะเกษ ที่ยังน่าเป็นห่วงอยู่ ถ้าไม่ติดที่ต้องมาประชุมสภาก็คงลงพื้นที่ แต่ขณะนี้ได้มอบหมายให้รมช.มหาดไทยลงพื้นที่ไปแล้ว

อย่างไรก็ดี สถานการณ์น้ำที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาน่าจะคลี่คลายไปได้เร็ว เพราะไม่มีฝนเข้ามาเติมอีก ทั้งนี้ คิดว่าฝนที่ตกลงมาเป็นลักษณะน้ำหลากที่ไหลมาแล้วไหลไป จะมีท่วมขังก็บริเวณที่เป็นแอ่งกระทะ ซึ่งการแก้ไขสถานการณ์เป็นไปอย่างทันการและทั่วถึง เพราะมีการทำงานอย่างใกล้ชิดในระบบจังหวัดที่มีป้องกันจังหวัด

“เรามีงบเผชิญเหตุ 20 ล้านบาท ที่สามารถเอาไปแก้ปัญหาได้เลย ทั้งยังมีการระดมการช่วยเหลือจากส่วนกลางที่นำอุปกรณ์ไปช่วยเหลือหมดแล้ว พร้อมถุงยังชีพ”นายจารุพงศ์ กล่าว


ลำบริบูรณ์โคราชวิกฤตน้ำสูงต่อเนื่อง

จาก โพสต์ทูเดย์

ลำบริบูรณ์โคราชวิกฤตระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง บางพื้นขอบตลิ่งต่ำล้มท่วมบ้านเรือนประชาชน

ระดับน้ำภายในลำน้ำบริบูรณ์ช่วงบ้านโพนสูง ต.หมื่นไว อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยระดับน้ำมีปริมาณที่เสมอกับขอบตลิ่ง และระดับน้ำยังได้ห่างจากขอบสะพานกลางทางเข้าหมู่บ้านโพนสูง หมู่ที่4 ต.หมื่นไว อ.เมือง เพียง 10 -15 เซนติเมตร ก็จะเอ่อล้มท่วมสะพาน ซึ่งหากในช่วง 1-2 วันนี้ ระดับน้ำมีปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นจนเอ่อท่วมสะพานเข้าออกหมู่บ้าน ก็จะทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในหมู่บ้านโพนสูง กว่า 200 หลังคาเรือน ได้รับความเดือดเรือนในการสัญจรเข้าออกหมู่บ้านเป็นอย่างมาก
 
ทั้ง นี้เช่นเดียวกันกับที่บ้านหนองนาลุ่ม หมู่ที่ 7 ต.หมื่นไว อ.เมือง จ.นครราชสีมา ระดับน้ำภายในลำน้ำบริบูรณ์ ก็ยังคงมีปริมาณน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นจนชาวบ้านต่างต้องช่วยกันนำกระสอบทรายมา กั้นเป็นกำแพง เพื่อป้องกันน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของตนเอง โดยล่าสุดระดับน้ำสูงกว่าพื้นที่ผิวการจราจรแล้วกว่า 60 เซนติเมตร ซึ่งกระแสน้ำที่แรงยังได้กัดเซาะริมตลิ่งจนเป็นโพลงลึกเข้าไปกว่า 50-60 เซนติเมตร ขณะที่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ติดกับลำบริบูรณ์ที่มาพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำ ก็เริ่มมีปริมาณน้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนหลายหลังคาเรือน ทำให้ชาวบ้านต้องประสานไปองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไว นำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้งเพื่อเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขัง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
 
ขณะปริมาณน้ำในอ่างหลักๆของ จังหวัดนครราชสีมา ทั้ง 5 แห่ง ล่าสุดมีปริมาณน้ำเฉลี่ยอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของความจุ หลังจากในทุกพื้นที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 2-3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยอ่างเก็บน้ำลำตะคองมีปริมาณน้ำ อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำ 143.247 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 45.55 % ของความจุที่ระดับกักเก็บ 314 ล้าน ลบ.ม. , อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ปริมาณน้ำ 75.420 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 68.80 % ของความจุที่ระดับกักเก็บ 110 ล้าน ลบ.ม.
 
นอก จากนี้อ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 185.425 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 67.43 % ของความจุที่ระดับกักเก็บ 275 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำมูลบน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 71.397 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 50.64 % จากความจุกักเก็บทั้งหมด 141 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ อ.เสิงสาง มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 64.629 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 65.95 % จากความจุกักเก็บทั้งหมด 98 ล้าน ลบ.ม.ทั้งนี้ทางชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ยืนยันว่า อ่างเก็บน้ำทุกอ่างฯยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้อีกเป็นจำนวนมาก


น้ำป่าหลากรอบสองท่วมปราจีนฯทั้งจังหวัด

จาก โพสต์ทูเดย์

น้ำป่าจากเขาใหญ่หลากรอบสองหลังฝนตกหนักในพื้นที่ ส่งผลให้จังหวัดปราจีนบุรีเจอน้ำท่วมทั้งจังหวัด 7 อำเภอ

เมื่อวันที่ 25 ก.ย.สถานการณ์น้ำท่วม จ.ปราจีนบุรี ได้ขยายวงกว้างมากขึ้นหลังจากที่เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ส่งผลให้มีน้ำป่าจาก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่หลากลงมาท่วมซ้ำอีกครั้ง ส่งผลให้มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมเพิ่มขึ้นอีก 2 อำเภอคือ อ.ศรีมโหสถ และ อ.บ้านสร้าง จากเดิมที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมทั้งสิ้่น 5 อำเภอได้แก่ อ.นาดี อ.กบินทร์บุรี อ.ศรีมหาโพธิ และ อ.เมือง มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 314 หมู่บ้าน

ในพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี น้ำจากแม่น้ำปราจีนบุรีได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมชุมชนตลาดเก่าเทศบาลตำบลกบินทร์ อ.กบินทร์บุรีทั้งชุมชนสูงกว่า 1.50-2.00 เมตร ทำให้ต้องใช้เรือเท่านั้นในการเดินทางเข้า-ออกเท่านั้น

น.ส.จิตรา  พรหมชุติมา ผู้ว่าฯจ.ปราจีนบุรีกล่าวว่า จากที่ฝนตกลงมา น้ำจากอ.นาดีที่ไหลผ่านแควหนุมานลงสมทบกับแควพระปรงที่ต้นน้ำแม่น้ำ ปราจีนบุรีทำให้ ระดับน้ำที่ล้นตลิ่งแต่เดิม 1.40 เมตร เพิ่มระดับเป็น 1.47 เมตร น้ำกลับมาท่วมสูงอีกครั้งเป็นรอบ 2  รวมถึงพื้นที่ อ.ศรีมหาโพธิ พื้นที่รับน้ำต่อเนื่องกัน
 
“ผลกระทบน้ำท่วมในขณะนี้มี ประชาชนเดือดร้อนรวม  19,179 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมรวมกว่า 42,428 ไร่ ถนน รวม 116 สาย โรงเรียนถูกน้ำท่วม รวม 16แห่ง วัดรวม 31แห่งสัตว์เลี้ยง 12,379ตัว มีผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วม 1 คน"น.ส.จิตรากล่าว

ทั้งนี้ทางจังหวัดได้ร่วมกับกองทัพภาคที่ 1 นำกำลังทหารจากมณฑลทหารบกที่ 12 ,กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ หน่วยกู้ภัย อพปร.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)และทุกภาคส่วนในการช่วยเหลือประชาชน แล้ว

ด้านนายอนุชา สระกำ กำนัน ต.บ้านทาม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า หมู่บ้านรวม 7 หมู่ที่ตั้งติดริมแม่น้ำปราจีนบุรีถูกน้ำล้นตลิ่งท่วมแล้วทั้งหมด  โดยชาวบ้าน วัด โรงเรียนที่ถูกน้ำท่วมได้เตรียมขนย้ายสิ่งของ ตั้งเต๊นท์ไว้บนถนนก่อนล่วงหน้าแล้วเนื่องจากพบภาวะน้ำท่วมทุก ๆ ปี


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view