สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กมธ.ไร้ข้อสรุปเดินหน้า-หยุดเขื่อนแม่วงก์

จาก โพสต์ทูเดย์

กมธ.ถกสร้างเขื่อนแม่วงก์ กรมชลฯไม่หนุนดำเนินการขณะนี้ เหตุรัฐ-ปชช.-เอ็นจีโอ ไร้ข้อสรุปร่วมกัน เชิญ“ปลอดประสพ-ศศิน”แจงสัปดาห์หน้า

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. คณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายศุภชัย ศรีหล้า สส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานกมธ. ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ได้มีการพิจารณาศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนและกระบวนการจัดทำรายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระ ะทบต่อชุมนุมอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (EHIA) กรณีโครงการเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์

โดยเชิญ นายชัชวาล ปัญญาวาทินันท์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายวิชาการ นายเกื้อศักดิ์ ทาทอง หัวหน้ากลุ่มสิ่งแวดล้อมโครงการ และนายสันติ บุญประดับ เลขาธิการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าชี้แจง

นายสันติ กล่าวว่า เรื่องนี้มีความเข้าใจผิดอยู่มาก เพราะในพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมฯ มีเรื่อง EHIA อยู่ 2 มาตรา สำหรับการรับฟังความคิดเห็น ไม่ใช่มีแค่มาตราเดียว แต่ด้วยปัญหาปัจจุบันมีการพูดคุยกันเพียงมาตราเดียว  โดยการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน มีกำหนดไว้ว่าต้องรับฟังคความคิดเห็นจำนวน 3 ครั้ง

อย่างไรก็ดี ที่ประชุมกมธ. ได้สอบถามถึงความคุ้มค่าในการก่อสร้างและประโยชน์ที่จะได้รับ โดยเกื้อศักดิ์ ชี้แจงว่า ผลประโยชน์ จากประเมินโครงการช่วยเหลือการเกษตร 3 แสนกว่าไร่ และทำการเพาะปลูกได้ทุกฤดู อีกทั้ง ยังสามารถบรรเทาเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำแม่วงก์

นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มรายได้ของเกษตรกร จาก 700 บาทต่อกิโลกรัมต่อไร่ เป็น 800-860 บาทต่อกิโลกรัมต่อไร่ รวมทั้งยังเพิ่มผลผลิตการเลี้ยงปลา กบ ทำให้เพิ่มรายได้เฉลี่ย 162,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ซึ่งจากการลงพื้นที่พบเกษตรกรมีหนี้สิน จากภาคการเกษตรถึง 80% ถ้าทำ จะยกรายได้เป็น 285,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี 

นายเกื้อศักดิ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี ยังสามารถผลิตไฟฟ้า และประปา ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ทางตรง ส่วนผลประโยชน์ทางอ้อม จะทำให้พื้นที่บริเวณโดยรอบชุ่มชื่น พื้นที่ป่าจะอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ส่งผลต่อการรักษาระบบนิเวศน์ท้ายน้ำได้ตลอด ทั้งยังส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น ล่องแกร่ง นอกจากนั้นบริเวณรอบๆพื้นที่ยังมีโฮมเสตย์เป็นการเพิ่มรายได้ให้ประชาชน

ขณะที่ด้านคมนาคม ได้มีการพัฒนาคลองส่งน้ำ ด้วยการสร้างถนนบริการทำให้ใช้ขนส่งสินค้าการเกษตรออกมาจากพื้นที่ได้สะดวก อีกทั้ง เป็นการเพิ่มมูลค่าที่ดิน ส่วนในเรื่องของผลกระทบ เนื่องจากพื้นที่สร้างอยู่ปากทางเข้าอุทยาน และท้ายเขื่อนเป็นเขตชุมชน ขนาดเนื้อที่ 12,000 ไร่ มูลค่าไม้จากความเสียหายในการตัดรวม 1 พันล้านบาท

ส่วนการนำไม้ออกจากพื้นที่จะใช้หน่วยงานรัฐเข้ามาดำเนินการ และการตัดไม้จะเป็นการตัดจากขอบนอก เพื่อดันสัตว์เข้าไปในป่าลึก ทั้งนี้ จาการหารือร่วมกับกรมออุทยานแห่งชาติ จะมีการปลูกป่าชดเชย บนพื้นที่ 30,000 ไร่ ซึ่งเป็นป่าเสื่อมโทรม ส่วนกรมชลก็จะจจัดสรรงบประมาณเข้าไป จะปลูกและดูแลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี เรื่องพัฒนาจะไม่มีการตัดถนนเข้าป่า เพราะพื้นที่เขื่อนอยู่ในเขตชุมนุม

ด้านนายชัชวาล กล่าวว่า โครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ กรมชลประทานไม่มีอำนาจไปก้าวกายสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย แห่งชาติ (กบอ.) ส่วนโครงการใกล้เคียงกับการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะมีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์  และขื่อนอุบลรัตน์

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ซักถามว่าการก่อสร้างเขื่อนจะส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าชนิดใดบ้าง นายเกื้อศักดิ์ กล่าวว่า บริเวณพื้นที่อยู่ขอบสร้างเขื่อนมีสัตว์รวม 239 ชนิด โดยครึ่งหนึ่งเป็นนก 136 ชนิด ที่เหลือเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ

ทั้งนี้ เมื่อสร้างทำให้สัตว์สููญเสียที่อยู่อาศัย แต่สัตว์ส่วนใหญ่เป็นนกสามารถอพยพเข้าไปอยู่ในป่าลึกได้ จากการสำรวจพบสัตว์สงาน 3 ชนิด อาทิ กวางผา แต่สัตว์ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่สูงจึงไม่กระทบ และที่กังวลว่าจะกระทบต่อเสือได้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด และพบว่าเส้นทางการเดินของเสือไม่เดินลงมาบริเวณพื้นที่สร้างเขื่อน

อย่างไรก็ตาม นายวัชระ เพรชทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานกมธ. ได้สอบถามประเด็นการคัดค้านของภาคประชาาชน จะเป็นเหตุผลเพียงให้ล้มเลิกโครงการหรือไม่ นายชัชวาล กล่าว การก่อสร้างเขื่อนใหญ่ๆ ถ้ารัฐบาลมุ่งมั่นทำก็จะสำเร็จได้ ทว่า ส่วนตัวเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา เนื่องจากรัฐบาล ภาคประชาชน และเอ็นจีโอ ไม่ได้มีการคุยกันอย่างจริงจัง หากรัฐเดินหน้าทำก็จะเกิดสงคราม ดังนั้น ต้องรอให้เข้าใจกันแล้วจึงเดินหน้า ก็จะเหมาะสม ให้การประชุมครั้งหน้าจะเชิญ เชิญ ปลอดประสพ มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในสัปดาห์ทางกมธ.จะเชิญนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกบอ. และนายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เข้าชี้แจงเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ จะให้กมธ.ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วย


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view