สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ พุ่ง คพ.อบรมวิธีกำจัดซาก

จากประชาชาติธุรกิจ

เมื่อวันที่ 24 กันยายน นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 ตุลาคมนี้ คพ.ได้ร่วมกับสำนักเลขาธิการอนุสัญญาบาเซล โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชน (SBC/UNEP) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 ให้กับผู้แทนหน่วยงานจากภาครัฐ สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ เพื่อเผยแพร่แนวทางและเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องในการ จัดการซากผลิตภัณฑ์ ลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการกำจัดของเสียหรือวัสดุที่เป็นอันตราย

นายวิเชียรกล่าวว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันกว่าร้อยละ 50 จะขายซากผลิตภัณฑ์เมื่อไม่ใช้แล้ว ส่วนที่เหลือจะเก็บปะปนรวมกับขยะทั่วไป โดยผู้ที่รับซื้อไม่ได้มีการจัดการอย่างถูกต้อง ส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งคาดว่าในปี 2559 จะเกิดซากผลิตภัณฑ์ประมาณ 24.30 ล้านเครื่อง ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ประมาณ 280 ล้านหลอด และซากแบตเตอรี่แห้งประมาณ 650 ล้านก้อน

"การจัดการ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีความยุ่งยากซับซ้อน และอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะมีองค์ประกอบจากวัสดุหลายอย่าง โดยเฉพาะสารอันตราย เช่น โลหะหนัก สารในกลุ่มสารมลพิษที่ตกค้างยาว หากการถอดแยกชิ้นส่วนโดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในส่วนของการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า และเกิดการปล่อยสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมได้ เช่น การถอดแยกเครื่องปรับอากาศ หรือตู้เย็น เพื่อนำมารีไซเคิล ทำให้มีการระบายสารความเย็นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งสารทำความเย็นส่วนใหญ่เป็นสารทำลายชั้นโอโซน หรือกลายเป็นก๊าซเรือนกระจก ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน แต่หากใช้วิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมได้" อธิบดี คพ.กล่าว


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view