สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ต้องขอบคุณ ปลาบึก ไต้ฝุ่นลูกใหม่ ที่ช่วยไล่ อูซางิ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์


ภาพ ดาวเทียม MTSAT โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติฟิลิปปินส์ แสดงตำแหน่งพายุโซนร้อนอูซางิ (Usagi) กับตำแหน่งของปลาบึก หรือ "ปาบึก" (Pabuk) ใต้ฝุ่นชื่อลาวเมื่อเวลา 03.32 UTC หรือ 12.32 น.วันจันทร์ 23 ก.ย.2556 ตามเวลาในฟิลิปปินส์ และแสดงให้เห็นทิศทางการไหลเทของมวลไอน้ำตามแรงดึงดูดมหาศาลของไต้ฝุ่นระดับ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิก ปาบึกช่วยทำให้พายุอูซางิมีอายุหดสั้นลง 24-48 ชั่วโมงทีเดียว โปรดชม Satellite Loop (ตามลิงค์ในย่อหน้าที่ 5 ของข่าว) ประกอบ.
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ธรรมชาติบางทีก็สร้างสิ่งที่คาดไม่ถึงขึ้นมาให้ปรากฏเช่นเดียวกันกับการก่อ เกิดของไต้ฝุ่นลูกใหม่ที่โผล่ขึ้นมากลางคันในขณะที่อูซางิใต้ฝุ่นลูกใหญ่ กำลังทำลายล้างอยู่ทางแถบตอนใต้ของจีนวันจันทร์ 23 ต.ค.หลังจากมีชาว จีนตกเป็นเหยื่อไปอย่างน้อย 25 ชีวิต สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง พายุที่สุดอันตรายลูกนี้ฉับพลันก็สลายตัวไปอย่างรวดเร็วเกินคาด
       
       อูซางิอ่อนตัวลงเป็นพายุโซนร้อนคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาในบริเวณมณฑล กวางตุ้ง-มณฑลกว่างซีของจีนและอ่อนตัวลงเป็นดีเปรสชั่นเมื่อเวลาประมาณบ่าย โมงวันจันทร์นี้และคาดว่าจะมลายเป็นหย่อมความกดอากาศสูงในช่วงเย็นใกล้ชาย แดนเวียดนาม ทำให้ไปไม่ถึงชายแดนไทย-ลาวที่หลายท้องถิ่นกำลังประสบอุทกภัยอยู่ในขณะนี้
       
       แต่การเกิดปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหากนำภาพอินฟราเรดโดยดาว เทียมอุตุนิยมวิทยา MTSAT ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาปะติดปะต่อกันก็จะสามารถอธิบายเรื่องนี้ได้
       
       "ปลาบึก" หรือ "ปา-บึก" (Pabuk) ไต้ฝุ่นชื่อลาวก่อเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 48 ชั่วโมงก่อนในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมูเกาะฟิลิปปินส์และ ทิศใต้ของเกาะญี่ปุ่น ในตอนสายวันจันทร์นี้ได้ปั่นความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ภาพดาวเทียมแสดงให้เห็นไต้ฝุ่นลูกใหญ่หมุนคว้างทวนเข็มนาฬิกาอยู่ กลางมหาสมุทรและดูดเอามวลไอน้ำเป็นทางยาวจนถึงย่านทะเลจีนใต้
       
       ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องโดยใช้ภาพจากดาวเทียม (Satellite Loop) หลาย สิบภาพเรียงเวลากันตั้งแต่ 22.00 น.วันอาทิตย์จนถึงบ่ายวันจันทร์นี้แสดงให้เห็นการดึงดูดและแก่งแย่งพลังงาน กันระหว่างไต้ฝุ่นทั้งสองลูก ก่อนจะลงเอยด้วย "ชัยชนะ" ของปลาบึก ซึ่งได้ให้คำตอบคำถามที่ว่าเพราะเหตุใดอูซางิจึงสลายตัวไปเร็วกว่าที่สำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งต่างๆ พยากรณ์ก่อนหน้านี้ถึง 24-48 ชั่วโมง
       
       สำหรับเวียดนามแม้ว่าอูซางิจะเคลื่อนไปไม่ถึง แต่ขนาดอันมหึมาของมันได้สร้างแรงกดดันอย่างใหญ่หลวงทำให้ภูมิอากาศทางตอน เหนือแปรปรวนอย่างหนัก เกิดฝนตกหนักในหลายจังหวัดทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋รายงานในเว็บไซต์ข่าวภาษาเวียดนาม
       
       ในหลายย่านของกรุงฮานอยน้ำเพิ่งหายไปจากท้องถนนได้เพียงไม่กี่วัน ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางได้ออกเตือนในบ่ายวันจันทร์นี้ให้ท้อง ถิ่นต่างๆ ในเมืองหลวงเตรียมรับมือฝนตกหนักและน้ำท่วมอีกครั้งตั้งแต่คืนนี้เป็นต้นไป
       
       ทั้งหมดเป็นอิทธิพลจากดีเปรสชั่นที่ปกคลุมอาณาบริเวณกว้างตั้งแต่ มณฑลกว่างซีของจีน หลังจากพายุโซนร้อนอูซางิสลายตัวไปในบ่ายวันเดียวกันแต่ชาวเวียดนามจะต้อง มี่ลืมขอบคุณไต้ฝุ่นปลาบึก ไม่เช่นนั้นสถานการณ์ก็อาจจะเลวร้ายอย่างคาดไม่ถึง.
       .

การ "แย่งพลังงาน" ลงเอยด้วยชัยชนะของไต้ฝุ่นปลาบึกในภาพอินฟราเรดจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา MTSAT เวลา 03.32 UTC โดย Tropical Storm Risk ในกรุงลอนดอน หรือ 10.32 น.วันจันทน์ 23 ก.ย.2556 เวลาในประเทศไทย ปลาบึกก่อเกิดขึ้นมาในช่วงวิกฤติและช่วยทำให้ไต้ฝุ่นอูซางิซึ่งมีศักยภาพใน การทำลายล้างสูงยิ่งต้องอายุหดสั้นลงเร็วกว่ากำหนด หลายฝ่ายจะต้องขอบคุณไต้ฝุ่นชื่อลาวลูกนี้และขอบคุณพระแม่แห่งธรรมชาติผู้ ยิ่งใหญ่.
       

แผน ภูมิโดยศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับพายุรุนแรง (SWIC) ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) แสดงให้เห็นชัดๆ ตำแหน่งของพายุโซนร้อนอูซางิกับไต้ฝุ่นปลาบึกเมื่อเวลา 14.25 UTC หรือ 21.25 น.วันที่ 23 ก.ย.ตามเวลาในประเทศไทย ไต้ฝุ่นชื่อลาวก่อเกิดขึ้นมาถูกที่ถูกเวลาในยามที่ทั้งภูมิภาคแม่น้ำโขง กำลังต้องการความช่วยเหลือ

ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view