สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แนะรัฐทบทวนเอฟทีเอไทย-อียู

จาก โพสต์ทูเดย์

มูลนิธิชีววิถีเผยผลวิจัยชี้รัฐทบทวนเป้าหมายเอฟทีเอไทย-อียู หวั่นได้ไม่คุ้มเสีย เปิดทางต่างชาติผูกขาดพันธุ์พืช-สัตว์

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่าผลการวิจัยพบว่า หากรัฐบาลไทยลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศและสหภาพยุโรปหรืออียู จะเสียเปรียบด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรพันธุกรรมอย่างมาก เพราะอาจทำให้ต่างชาติเข้าถึงทรัพยากรเหล่านี้มากขึ้น และเกิดการผูกขาดทางการค้า และทรัพย์สินทางปัญญา โดยไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ คิดเป็น 10% ของทั้งโลก และนำมาใช้ผลิตยาสมุนไพรไทยกว่า 1 หมื่นล้านบาทต่อปี ผลิตอาหารและเครื่องสำอางคิดเป็นมูลค่า 4.8 หมื่นล้านบาท
 
นาย วิฑูรย์ กล่าวว่าเงื่อนไขที่ทางอียูเสนอให้ไทยเห็นชอบคือ 1.เป็นภาคี UPOV หรือ The International Union for the Protection of New Varieties of Plants ซึ่งเป็นองค์กรภาครัฐระหว่างประเทศ เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับพันธุ์พืชโดยทำให้เกษตรกรไทย ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ในราคาที่แพงขึ้น 2-6 เท่าตัว คิดเป็นมูลค่า 80,721-142,932 ล้านบาท และมีแนวโน้มบังคับให้ไทยต้องยกเลิกกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งจะทำให้บริษัทต่างชาติเข้าถึงพันธุ์พืชของไทยได้ง่ายขึ้น2. เป็นภาคีสนธิสัญญาบูดาเปสต์ ซึ่งจะเปิดทางให้ต่างชาติเข้าถึงจุลินทรีย์ได้ง่ายขึ้น และประเทศไทยจะไม่สามารถสร้างเงื่อนไขเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์มาต่อรองได้อีก ตรงนี้ถือเป็นความเสียหายราว 6,570-24,000 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ผลกระทบระยะยาวคือจะถูกกีดกันให้ไม่นำจุลินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ทั้งที่ เป็นทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย 3.การขยายสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตเพราะอาจเกิดปัญหาจริยธรรมที่มนุษย์เป็นเจ้า ของสิ่งมีชีวิตอื่นหรือมนุษย์ด้วยกันเอง ผูกขาดทรัพยากรพันธุกรรม กระทบเกษตรรายย่อยที่จะถูกผูกขาดการเมล็ดพันธุ์ สารเคมีรวมไปถึงระบบอาหาร
 
นพ.วิพุธ พูลเจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ กล่าวว่าควรศึกษาเพิ่มในเรื่องทางเลือกของการทำเอฟทีเอตั้งแต่ควรทำหรือไม่ ควรทำไปจนถึงควรทำในประเด็นอะไรบ้างและทำไปเพื่ออะไร นอกจากนี้จะนำเสนอผลการศึกษานี้ไปยังรัฐบาลที่ถึงแม้ปัจจุบันจะกำลังเจรจาเอ ฟทีเออยู่ที่เชียงใหม่ แต่ในกระบวนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศก็ยังไม่เป็นที่สิ้นสุดยังมีอีกหลาย ขั้นตอนที่เปิดให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนเสนอข้อมูลที่จะเป็น ประโยชน์เข้าไปร่วมพิจารณาได้อีก
 
ศาสตรเมธี ดร.สุปรีดิ์ วงศ์ดีพร้อม สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า จากผลการศึกษานี้สภาที่ปรึกษาฯ มีข้อเสนอเพิ่มเติมว่ารัฐบาลควรพักการเจรจาทางการค้า (Delay) ซึ่งเป็นมาตรการที่ทำได้หากพิจารณาแล้วว่ายังไม่เห็นประโยชน์จากการเจรจาทาง การค้าระหว่างประเทศ และในปัจจุบันอียูเร่งรัฐให้รัฐบาลไทยเร่งการทำเอฟทีเออาจจะเป็นเพราะ ทางกลุ่มอียูกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปี 2551 และยังไม่เห็นแนวทางการฟื้นฟูที่แน่ชัด
 
ด้านนายบุญส่ง ฟักทอง สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่าอยากให้มีการสื่อสารข้อมูลเหล่านี้ไปยังกลุ่มเกษตรกรให้ทั่วถึง เพราะจะเป็นกลุ่มที่กระทบมากที่สุด เช่นในปัจจุบันก็ได้รับผลกระทบจากการทำเอฟทีเอไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย แล้วจากกรณีราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำเพราะไปถูกจัดอยู่ในพืชประเภทไม่อ่อนไหว แต่ในความเป็นจริงมีความอ่อนไหวมากเพราะมาเลเซียปลูกได้ดีกว่าทำให้ต้นทุน ต่ำ ราคาถูกกว่า ในขณะที่ไทยมีต้นทุนสูงกว่าทำให้ตอนนี้ที่เปิดเอฟทีเอทำให้ราคาปาล์มน้ำมัน ตกต่ำมาก


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view