สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ส่องสมรภูมิม็อบยาง ควนหนองหงษ์ โมเดล ยิ่งตี..ยิ่งโต

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-แม้ รัฐบาลมีแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน ด้วยการ ชดเชยเป็นเงินอุดหนุนในราคาเฉลี่ย 12 บาท/กก. ในอัตราการผลิตที่ 2 กก./ไร่ เป็นเวลา 15 วันใน 1 เดือน ตลอดระยะเวลา 7 เดือน หรือคิดเป็นเงินก็ตก 2,520 บาท/ไร่แล้ว อันเป็นผลสืบเนื่องจากคณะเจรจาวีไอพีที่รัฐบาลส่งเที่ยวบินพิเศษรับจากท่า อากาศยานนครศรีธรรมราชไปเจรจากันที่กรุงเทพมหานคร แต่เกษตรกรหลายคนยังเห็นตรงกันว่า นั่นไม่ใช่เป็นทางออกของปัญหา แต่กลับยิ่งจะสร้างปัญหาให้เกิดขึ้น เนื่องจากไม่ได้เป็นการแก้ไขที่เสถียรภาพของราคาอย่างแท้จริง
        
       รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ นักวิชาการจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นในเรื่องนี้ไว้ว่า ถ้ามองในทางเศรษฐศาสตร์ทางการเมือง ต้องถือว่าเป็นความผิดพลาดในเชิงนโยบาย ปัญหาราคายางไม่ใช่เกิดครั้งแรก แต่เฉลี่ยทุก 10 ปีจะเกิดขึ้นหนึ่งครั้ง เมื่อปี 2545 รัฐบาลเคยมีการวางแผนเสียใหญ่โตเรื่องการเพิ่มมูลค่าด้วยกระบวนการแปรรูปผล ผลิตมาแล้ว แต่เมื่อราคายางดีขึ้นกลับหลงลืมกันไป ไม่คิดถึงการสร้างเสถียรภาพของราคาอย่างยั่งยืน คิดแต่จะให้มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกเพิ่ม เมื่อราคายางหวนกลับมาตกต่ำอีกครั้งชาวสวนยางจึงต้องลุกขึ้นมาทวงถามด้วย สาเหตุ 2 ประการ
        
       สาเหตุแรกคือ ในเมื่อข้าวราคาไม่ดี รัฐบาลแทรกแซงด้วยการประกันราคาข้าวให้ไปแล้วใช่ไหม แต่เมื่อยางราคาไม่ดี ทำไมรัฐบาลกลับไม่ช่วยเหลือด้วยการประกันราคาบ้าง กลับใช้วิธีการเบี่ยงประเด็นเป็นเรื่องการเมือง เมื่อเกษตรกรสวนยางทวงถามก็ตอบไม่ได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความผิดพลาดทางนโยบายที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่เอาแต่โทษตลาดโลก ดังนั้นสังคมจะต้องเรียนรู้ถึงการไม่ใส่ใจแก้ปัญหาของรัฐบาล
        
       อีกสาเหตุคือ รัฐบาลที่ดีควรแก้ปัญหาความเดือนร้อนให้ประชาชน โดยควรเน้นฐานสิทธิ์ ไม่ใช่ฐานเสียง ฐานสิทธิ์คือประชากรผู้อยู่ใต้การปกครองของรัฐใดรัฐหนึ่งควรมีสิทธิเท่า เทียมกัน ไม่ใช่ว่าคนกลุ่มหนึ่งเป็นฐานเสียง จึงมีสิทธิมากกว่า คนกลุ่มไหนไม่ใช่ฐานเสียงก็มีสิทธิน้อยกว่า ทุกคนมีสิทธิเสนอหน้ากันต่อหน้ากฎหมาย ต่อหน้านโยบายที่รัฐบางประกาศ ต่อหน้าสิทธิต่างๆ ภายใต้รัฐธรรมนูญ
        
       แต่สิ่งที่รัฐบาลกระทำไม่ได้คำนึงถึงฐานสิทธิ์ เมื่อบอกว่ารัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกร ก็ต้องช่วยเหลือทุกกลุ่ม ไม่ใช่ช่วยเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เว้นเสียแต่ว่ารัฐบาลไม่มีนโยบายเช่นนั้น ถ้าไม่มีนโยบายก็ไม่ว่ากัน แต่นี่มีนโยบายชัดเจนว่าต้องการช่วยเหลือเกษตรกร และได้กระทำชัดเจนว่าช่วยเหลือชาวนาไปแล้ว และชัดเจนว่าได้เข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดไปแล้ว เมื่อเกษตรกรรายอื่นทวงถามบ้าง รัฐบาลต้องมีคำตอบที่ชัดเจน แต่ตอนนี้กลับบอกว่าแทรกแซงราคาทั้งยางและปาล์มไม่ได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด นั่นหมายความว่ารัฐบาลกำลังแก้ปัญหาที่ฐานเสียง ไม่ใช่ฐานสิทธิ์ของเกษตรกร
        
       เมื่อรัฐบาลไม่ยอมแก้ปัญหาให้กับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนที่ไม่ใช่ ฐานเสียง การแสดงออกด้วยการชุมนุมของชาวสวนยางและปาล์มจึงถูกป้ายให้เห็นว่ามีนักการ เมืองอยู่เบื้องหลัง ขณะที่หน่วยข่าวหลายหน่วยต่างก็เอาใจนายด้วยการรายงานว่าเป็นม็อบการเมือง การแก้ไขปัญหาจึงไม่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที สัญญาณของการชุมนุมรอบที่ 3 ที่บริเวณแยกควนหนองหงษ์ ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ได้ถูกส่งให้รับรู้กันล่วงหน้าตั้งแต่เมื่อครั้งการเจรจาที่กรุงเทพฯ ไม่เป็นผลแล้ว
        
       การกลับมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องความต้องการอีกครั้งบนถนนสาย เอเชียบริเวณแยกควนหนองหงษ์ จึงเกิดขึ้นคู่ขนานกับบริเวณแยกเตาปูน ม.6 ต.ทุ่งโพธิ์ อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช การจราจรทั้งขาขึ้นและขาล่องถูกปิดกั้นทั้ง 2 จุด อันเกิดขึ้นคล้อยหลังจากที่ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เดินทางไปจรดปลายปากกาลงนาม MOU กับองค์กรที่เรียกว่า ภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งผู้ที่แสดงตัวเป็นแกนนำคือ นายอำนวย ยุติธรรม ผู้ที่มีบทบาทโดดเด่นขึ้นมาเพียงไม่กี่วันหลังนำมวลชนปิดถนนบริเวณแยกท่า ศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช แต่การลงนามครั้งนั้นกลับปรากฏความล้มเหลวให้เห็นเด่นชัดแล้ว เพราะเป็นการลงนามแค่บุคคลที่ระบุว่าเป็นตัวแทนของพื้นที่ 5 จังหวัดเท่านั้น
        
       แล้วการชุมนุมครั้งใหม่ของชาวสวนยางและปาล์มก็ถูกทำให้เดินเข้าสู่ จุดเดือดอีกครั้ง เริ่มจากอาศัยจังหวะที่ผู้ชุมนุมบางตา เนื่องจากชาวสวนต่างกลับไปกรีดยางและพักผ่อนตั้งแต่กลางดึก โดยเวลาประมาณ 06.30 น.ของวันที่ 17 ก.ย. ที่รัฐบาลใช้ตำรวจปราบจลาจลเข้าสลายการชุมนุมและเข้าเคลียพื้นที่เพื่อเปิด การจราจร พร้อมจับกุม นายชญานินทร์ คงสงค์ หนึ่งในผู้ต้องหาตามหมายจับรวม 11 คนชุดแรกจากสมรภูมิควนหนองหงษ์ เมื่อวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมาไปด้วย จากนั้นได้ส่งกำลังพลชุดควบคุมฝูงชนถูกตรึงไว้ตลอดแนวสองฝั่งถนนทั้งขาขึ้น ล่องอย่างเข้มแข็ง
        
       เวลาประมาณ 10.30 น.วันเดียวกัน ผู้ชุมนุมเริ่มกลับมารวมตัวกันเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากสิบเป็นร้อยแล้วก็เป็นพันในช่วงเวลาไม่นาน เครื่องขยายเสียงไม่มี เวทีไม่ต้อง แต่ต่างพกอารมณ์ร่วมของความเดือดดาลมาล้วนๆ เวลาประมาณ 12.30 น. ฉากแห่งความดุเด็ดเผ็ดร้อนจึงเริ่มขึ้น เมื่อฝ่ายผู้ชุมนุมเริ่มปฏิบัติการรุกคืบขอคืนพื้นที่จากเจ้าหน้าที่ เวลาประมาณ 14.30 น. เกิดการประทะระหว่างหนังสติ๊กกับแก๊สน้ำตาอย่างหนัก แล้วก็มีกระสุนปืนจริงถูกยิงเข้าใส่ฝ่ายผู้ชุมนุมด้วย เวลาประมาณ 15.30 น. เจ้าหน้าที่ต้องถอยร่นออกจากแยกควนหนองหงษ์ไปทาง อ.จุฬาภรณ์
        
       ความโกรธแค้นของฝ่ายผู้ชุมนุมที่ถูกฝ่ายเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธปืนยิง ใส่ ปรากฏหลักฐานชัดบริเวณร้านเสริมสวย มีหลักฐานการทุบทำลายทรัพย์สินชาวบ้านด้วยกระบองตำรวจ รถจักรยานยนต์ชาวบ้านที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ถูกทำลายเสียหาย ชาวบ้านที่เป็นชายสติไม่ดีถูกตีหัวร้างข้างแตกเลือดอาบ มีชาวบ้านชายสูงอายุได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืน รวมถึงว่ากันว่าชาวบ้านเห็นพฤติกรรมของชายฉกรรจ์ต่างถิ่นเผารถยนต์ตำรวจคัน แรก จากนั้นเป็นไปสถานการณ์ก็ได้บานปลายขยายวงเป็นรถยนต์ของทางราชการ 9 คัน กับรถส่วนตัวของตำรวจอีก 3 คันถูกเผาและทุกทำลาย สุดท้ายเมื่อถึงเวลาประมาณ 16.00 น. ฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้ถอนกำลังออกจากบริเวณแยกควนหนองหงษ์ไปหมดสิ้น
        
       ความพลาดใหญ่หลวงที่ผู้กุมอำนาจรัฐไม่ได้คำนึงถึง สำหรับการแก้ไขปัญหาการชุมนุมของชาวสวนยางและปาล์มที่ควนหนองหงษ์คือ บริบทแห่งวิถีของคนพื้นถิ่นชาว อ.ชะอวด ดินแดนของการต่อสู้ทางความคิดเมื่อกว่า 30 ปีก่อน ซึ่งมีการสืบทอดวิถีของการต่อสู้ถึงความเป็นเสรีชน ความไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจของทางการได้เบ่งบานที่นี่มาก่อน โดยเฉพาะคนในย่านนี้เกลียดนักกับความอยุติธรรม จนสะสมความเป็นสายเลือดนักสู้ที่ถูกจดจารไว้นานมาแล้วหลายสิบปี ถือเป็นบทเรียนที่รัฐไม่เคยจดจำ
        
       การเลือกใช้ความรุนแรงของรัฐที่มีต่อผู้ต้องสงสัยในพื้นที่ อ.ชะอวด เป็นผลมาจากการหล่อหลอมความคิดเรื่องความชิงชัง และความเป็นศัตรูระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐกับกลุ่มประชาชนที่ถูกมองว่าเป็น ผู้ปฏิเสธอำนาจของรัฐ นับตั้งแต่ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เริ่มมีการเคลื่อนไหวของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะกลุ่มชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่เริ่มตื่นตัวทางการเมือง เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน และความไม่พอใจที่กองทัพญี่ปุ่นคุกคามจีนและไทย
        
       กลุ่มชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเหล่านี้เริ่มรวมตัวกันอย่างลับๆ เพื่อดำเนินการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ต่อมาเมื่อสงครามสงบลง คนเหล่านี้ซึ่งซึมซับอุดมการณ์คอมมิวนิสต์มาก็เริ่มเผยแพร่อุดมการณ์ทางการ เมืองในภาคใต้ เช่น ตรัง หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และพัทลุง เป็นต้น และเมื่อ พคท.ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ และมีสมาชิกของพรรคเข้ามาปฏิบัติการทางการเมืองในภาคใต้ ก็ทำให้ประชาชนในพื้นที่จำนวนมากเข้าร่วม ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งเนื่องจากความยากจน มีความยากลำบากในการดำเนินชีวิตและความไม่พอใจต่อการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ รัฐที่ทุจริตและกดขี่ข่มเหงประชาชนในพื้นที่
        
       ในขณะที่การดำเนินงานของ พคท.ในภาคใต้เริ่มเติบโตและมีอิทธิพลต่อประชาชนมากขึ้น บรรยากาศของความไม่เข้าใจและหวาดระแวงระหว่างรัฐกับประชาชนก็เกิดขึ้นในหลาย พื้นที่ นับตั้งแต่ปี 2507 เป็นต้นมาได้มีการตั้งค่ายฝึกอาวุธให้สมาชิกที่บริเวณเขาประ อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฏร์ธานี ในปี 2508 มีการฝึกอาวุธให้แก่สมาชิกในบริเวณเขาแก้วที่เป็นรอยต่อระหว่าง จ.ตรังกับ จ.พัทลุง จากนั้นก็มีพัฒนาการสู่การแบ่งเขตปฏิบัติการออกเป็น 3 เขตในภาคใต้ ซึ่งพื้นที่ของ อ.ชะอวด รวมถึงส่วนใหญ่ของ จ.นครศรีธรรมราช จัดอยู่ในค่ายเขตเหนือ
        
       เริ่มเกิดเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงระหว่างเจ้าหน้าที่กับ พคท.เป็นครั้งแรกในปี 2507 ที่บ้านควนปลง ใกล้ตัวเมืองพัทลุง โดยเริ่มจากกลุ่มแนวร่วมของ พคท.ตัดสินใจยิงเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเพื่อแย่งชิงอาวุธ และต่อมาเมื่อ พคท.ประกาศจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธขึ้นอย่างเป็นทางการมีชื่อว่า กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย  ในวันที่ 1 ม.ค.2512 ก็มีการประกาศจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธประจำภาคใต้ขึ้นด้วยเช่นกันในชื่อว่า กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทยประจำภาคใต้
        
       แม้วันนี้ พคท.ในพื้นที่ภาคใต้จะไม่มีให้เห็นแล้ว แต่เชื้อไฟของนักต่อสู้ยังคุกรุ่นอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็ได้รวมเอาแผ่นดินโดยรอบของ “สมรภูมิควนหนองหงษ์” ใน อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราชเข้าไว้ด้วย
        
       ดังนั้น หากว่าผู้มีอำนาจในรัฐบาลใส่ใจในเรื่องเหล่านี้ ก็น่าจะเข้าใจได้ถึงการเกิดขึ้นของม็อบชาวสวนยางและปาล์มในหลายพื้นที่ที่ ไม่ได้มีการจัดตั้ง โดยเฉพาะชาวสวนที่ไม่ได้ประกาศตัวเองเป็นองค์กรหรืออยู่ในเครือข่ายใดๆ ซึ่งภาพของม็อบยางและปาล์ม ณ สมรภูมิควนหนองหงส์เป็นที่ประจักษ์ในเรื่องนี้มาตลอด ทำไมจึงไม่มีแกนนำ การรวมตัวและจัดตั้งเวทีปราศรัยที่ผ่านๆ มาก็เป็นไปแบบไม่มีการเตรียมการและดูจะขลุกขลักไปทุกเรื่อง หรือเป็นไปแบบธรรมชาติของคนที่ไปรวมตัวกันเป็นหมู่มาก ใครทำหรือช่วยเหลืออะไรได้ก็ทำนั่นเอง
        
       อีกทั้งนี้รัฐบาลน่าจะเข้าใจได้ว่า นับตั้งแต่การชุมนุมของชาวสวนยางและปาล์มบริเวณแยกควนหนองหงษ์ที่เกิดขึ้น ระลอกแรกนับแต่ต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ทำไมอยู่ดีๆ ก็มีชาวสวนในนครศรีธรรมราชและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะจากพื้นที่พัทลุงเข้าร่วมด้วยปิดถนนด้วยจำนวนมากมาย แล้วเหตุใดในการชุมนุมระลอกที่สองจึงมีคนอย่าง นายเอียด เส้งเอียด รับหน้าที่ช่วยประสานงานระหว่างผู้ชุมนุมกับตัวแทนรัฐบาล โดยเขาเองก็ได้ประกาศอยู่ตลอดเวลาว่าไม่ใช่แกนนำม็อบ แต่เป็นเพียงคนที่จับพลัดจับพลูให้ต้องเข้าไปช่วยเหลือเท่านั้น
        
       และที่สำคัญในระหว่างการชุมนุมระลอกสาม บริเวณแยกควนหนองหงษ์ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ ทำไมจึงไม่มีทั้งแกนนำหรือผู้ประสานงาน ไม่มีการตั้งเวที ไม่มีแม้เครื่องเสียง รวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญเหมือนกับการเกิดขึ้น ของม็อบในที่อื่นๆ โดยทั่วไป และไม่เพียงเท่านั้นครานี้กลุ่มผู้ชุมนุมยิ่งตั้งการ์ดสูงไว้สำหรับคนนอกที่ เสนอตัวเข้าไปให้การช่วยเหลือ ว่ากันวันแม้กระทั่งอดีตขุนโจรและนักรบ พคท.ชื่อก้องอย่าง นายเอียด เส้งเอียด มิพักต้องพูดถึงบรรดา ส.ส.ประชาธิปัตย์ และ ผู้กองปูเค็ม-รอ.ทรงกรด ชื่นชูผล ที่แม้จะมีภาพเข้าเยี่ยมผู้ชุมนุม แต่ก็ล้วนถูกกำแพงปิดกั้นไว้พอสมควรเช่นกัน
        
       ดังนี้แล้ว ความพยายามทั้งในระดับพื้นที่ไล่เรียงตั้งแต่ นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมถึงตำรวจและข้าราชการ ไปจนถึงบรรดานักการเมืองและรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งต่างออกมาป้ายให้การชุมนุมของชาวสวนยางและปาล์ม ณ สมรภูมิควนหนองหงส์เที่ยวนี้เป็น “ม็อบการเมือง” เพื่อที่ต้องการจะนำไปสู่ข้ออ้างในการจัดการบางอย่างนั้น สิ่งเหล่านี้จึงไม่น่าจะใช้หนทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นทางออกที่ดีที่สุดของ สังคม
        
       ด้วยวิถีแห่งความเป็นคนรักพวกพ้อง มีความรักความสามัคคีเมื่อมีภัยมา หรือการถูกกดขี่ข่มเหงน้ำใจ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของคนควนหนองหงษ์ ของคนชะอวด ของคนนครศรีธรรมราชและของคนใต้ สิ่งเหล่านี้เชื่อว่าจะยิ่งทวีความเป็นเลือดนักต่อสู้ให้เข้มข้นมากขึ้น จึงไม่แปลกที่ปรากฏการณ์ม็อบชาวสวนยางและปาล์ม ณ สมรภูมิควนหนองหงษ์จะกลายเป็นว่า...
        
       “ยิ่งถูกตี...จะยิ่งโต”


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view