สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชาวสวนยางแถลงการณ์ถึงรัฐ5ข้อยุติปัญหา

จาก โพสต์ทูเดย์

5 องค์กรแกนนำหลักยาง วอนสภาที่ปรึกษาฯ เป็นแกนกลางระดมพลหาข้อยุติความรุนแรงคนสวนยาง ไม่เอาการเมืองมาข้องเกี่ยว

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และในฐานะผู้ประสาน 5 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับยางพารา เปิดเผยภายหลังจากการประชุมสรุปเพื่อหาข้อยุติในการประชุมหารือ 5 องค์กรหลักด้านยางพารา ซึ่งประกอบด้วย สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด สภาการยางพาราแห่งประเทศไทย   ชุมนุมสหกรณ์เกษตรอุตสาหกรรมการยางแห่งประเทศไทย จำกัด และเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ว่า การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเนื่องจากที่ได้มีการชุมนุมเกษตรกรชาวสวนยางพารา ที่เกิดขึ้น ณ ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช จนเกิดปัญหาลุกลามบานปลาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจภาคการเกษตรในวงการยางพาราไทย   การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางยุติความรุนแรง หยุดการซ้ำเติมเศรษฐกิจยางพาราซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของเศรษฐกิจภาคการเกษตร รวมทั้งประสานความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจยางพาราอย่างเป็นระบบการเสนอแนว ทางการพัฒนาองค์กรประชาชน เครือข่ายองค์กรยางพาราไทยในกลุ่มที่จดทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นด้วยกฎหมายใดก็ตาม ก่อนขยายวงไปสู่กลุ่มอื่นทั้งที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนต่อไป

“ผมอยู่ในวงการยางพารามา 50 ปี วันนี้เหตุการณ์เรื่องยางได้เป็นปัญหาบานปลาย กลายเป็นความรุนแรงที่สร้างความแตกแยกให้กับพวกเราในวงการยางพาราอย่างที่ ไม่เคยมีมาก่อน เหตุการณ์บานปลายนี้เนื่องมาจากการเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาราคา ยางจนเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน ซึ่งต่างฝ่ายล้วนต้องการบรรลุความมุ่งหมายของตน ด้านประชาชนก็มาด้วยความเดือดร้อนของปากท้อง อีกด้านหนึ่งของผู้รักษากฎหมายก็พยายามที่จะให้ประชาชนอยู่ในพื้นที่ที่ตน เองสามารถควบคุมฝูงชนได้ จึงเกิดการกระทบกระทั่งกันจนมีผู้บาดเจ็บทั้งสองฝ่าย หากปล่อยให้เกิดรอยร้าวจะเกิดความแตกแยกสร้างความเสียหายแก่วงการยางพาราไป ในวงกว้าง วันนี้ผมต้องการให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาหาจุดยืนร่วมและรับผิดชอบร่วมกันอย่าง จริงใจ และไม่ต้องการให้การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง”

การประชุมดังกล่าวได้ข้อสรุปเป็นมติร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน 5 แนวทาง 5 องค์กร ในการสร้างความปรองดองและสมานฉันท์  ดังนี้
1. ควรจะแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่างของทุกองค์กร 
2. ไม่ควรใช้ความรุนแรงไม่ว่าจะรูปแบบใด และไม่กล่าวโทษกันว่าใครถูก ใครผิด
3. นำ ปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางเข้ามาสู่ขบวนการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจาก 5 องค์กรหลักนี้เป็นแกน โดยมีคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง เป็นผู้ประสานเพื่อรวบรวมองค์กรเกษตรกรชาวสวนยางที่กระจัดกระจายอยู่ให้เป็น หนึ่งเดียว ทำงานร่วมกันอย่างมีเอกภาพ เพื่อตอบโจทย์ในการร่วมกันแก้ไขปัญหา
4. รัฐ ต้องยุติการกระทำใดๆ ที่จะเป็นการสร้างเงื่อนไขต่อความหวาดระแวงและความไม่ไว้ใจของเกษตรชาวสวน ยาง และต้องตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรมาภิบาล
5. การชุมนุมต้องไม่เกี่ยวข้อง กับการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น และเป็นการกระทำไปตามขอบเขตสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม ตามมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

ทั้งนี้จาก 5 แนวทางดังกล่าวนี้ 5 องค์กรแกนนำหลักยางพาราจะได้นำข้อสรุปดังกล่าวในข้างต้นนี้นำเสนอ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยผ่าน นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อไป


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view