สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เตือนใช้น้ำรัดกุม ฝนตกแต่เขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์น้ำยังต่ำเท่าปี 53

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      ฝนตกแต่น้ำไหลเข้าเขื่อนต่ำ “กฟผ.” ออกโรงย้ำทุกส่วนวางแผนใช้น้ำรัดกุม พบเขื่อน กฟผ.น้ำยังอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยเฉพาะเขื่อน “ภูมิพล-สิริกิติ์” พบน้ำในเขื่อนมีปริมาณใกล้เคียงวิกฤตปี 2553 คาดว่าฝนที่ตกจะทำให้ปริมาณน้ำในอ่างใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยเท่านั้น
       
       นายกิตติ ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ กฟผ. ปัจจุบัน (5 มิถุนายน 2556 เวลา 24.00 น.) มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งหมด 30,529 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 50% ของความจุเก็บกัก น้อยกว่าปีที่แล้ว 10% หรือ 3,291 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำใช้งานได้ 7,485 ล้าน ลบ.ม. หรือ 19% ของความจุใช้งานได้ทั้งหมด และวานนี้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนทุกแห่งรวม 135 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำรวมทั้งสิ้น 582 ล้าน ลบ.ม.
        
       เขื่อนที่มีปริมาณน้ำในอ่างฯ น้อย ได้แก่ เขื่อนภูมิพล ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกัก 33% เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเก็บกัก 35% รวมปริมาณน้ำใช้งานได้ของทั้งสองเขื่อนรวมกัน 1,170 ล้าน ลบ.ม. จัดว่าอยู่ในเกณฑ์น้อยมากและใกล้เคียงกับสถานการณ์น้ำปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่น้ำน้อยเช่นเดียวกัน เขื่อนทั้งสองเคยมีปริมาณน้ำในอ่างฯ น้อยที่สุดในปี 2535 โดย ณ ช่วงเวลาเดียวกันมีปริมาณน้ำใช้งานได้ในอ่างฯ ทั้งสองเพียง 312 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณน้ำเก็บกัก 28% ของความจุ มีปริมาณน้ำใช้งานได้ 100 ล้าน ลบ.ม.
       
       แม้ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำในภาพรวมจัดว่าอยู่ในเกณฑ์น้อย แต่อ่างเก็บน้ำหลายแห่งก็ได้สิ้นสุดการระบายน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ตามแผนแล้ว ส่วนเขื่อนที่ยังคงทำหน้าที่ระบายน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งคือ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งระบายน้ำเพื่อโครงการแม่กลองใหญ่ และจะสิ้นสุดในปลายเดือนมิถุนายนนี้ โดยเขื่อนทั้งสองมีแผนการระบายน้ำตลอดฤดูแล้งทั้งสิ้น 7,000 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่เขื่อนทั้งสองมีปริมาณน้ำใช้งานได้รวมกัน ณ ปัจจุบัน 3,327 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าแผนการระบายน้ำ 2,419 ล้าน ลบ.ม. ที่คงเหลืออยู่นี้เป็นปริมาณน้ำสำรองที่สามารถนำมาใช้ในยามจำเป็นได้ดี
       
       ในระยะนี้เริ่มมีฝนตกมากขึ้น ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนบางแห่งเพิ่มขึ้นบ้างแล้ว เช่น เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนสะสมตั้งแต่ต้นปี (1 ม.ค.-5 มิ.ย. 56) รวม 552 ล้าน ลบ.ม. และ 447 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ นับเป็นสัญญาณที่ดีว่าจะมีปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นตลอดช่วงฤดูฝนนี้ อย่างไรก็ตาม เขื่อนอื่นๆ เช่น เขื่อนภูมิพล และเขื่อนวชิราลงกรณ์ก็ยังไม่มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้นมากนัก ประกอบกับการคาดการณ์แนวโน้มฝนของหลายหน่วยงานคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณฝนใกล้ เคียงกับค่าเฉลี่ยเท่านั้น การวางแผนการใช้น้ำและการเก็บกักน้ำยังต้องทำอย่างรัดกุม เพื่อเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุดเพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับปีถัดๆ ไป


น้ำในเขื่อนยังน้อยแม้มีฝนตก

จาก โพสต์ทูเดย์

กฟผ.เผยปริมาณน้ำในเขื่อน กฟผ. อยู่ในเกณฑ์น้อย แม้มีฝนตก วอนทุกภาคส่วนประหยัดและใช้น้ำอย่างรัดกุม

นายกิตติ ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ กฟผ. ปัจจุบัน (5 มิถุนายน 2556 เวลา 24.00 น.) มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ทั้งหมด 30,529 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 50% ของความจุเก็บกัก น้อยกว่าปีที่แล้ว 10% หรือ 3,291 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำใช้งานได้ 7,485 ล้าน ลบ.ม. หรือ 19% ของความจุใช้งานได้ทั้งหมด และวานนี้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนทุกแห่งรวม 135 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำรวมทั้งสิ้น 582 ล้าน ลบ.ม.

ทั้งนี้ เขื่อนที่มีปริมาณน้ำในอ่างฯ น้อย ได้แก่ เขื่อนภูมิพล ปัจจุบัน มีปริมาณน้ำเก็บกัก 33% เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเก็บกัก 35% รวมปริมาณน้ำใช้งานได้ของทั้งสองเขื่อนรวมกัน 1,170 ล้าน ลบ.ม. จัดว่าอยู่ในเกณฑ์น้อยมากและใกล้เคียงกับสถานการณ์น้ำปี 2553 ซึ่งเป็นปีน้ำน้อยเช่นเดียวกัน  เขื่อนทั้งสองเคยมีปริมาณน้ำในอ่างฯ น้อยที่สุดในปี 2535 โดย ณ ช่วงเวลาเดียวกันมีปริมาณน้ำใช้งานได้ในอ่างฯ ทั้งสองเพียง 312 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 28% ของความจุ มีปริมาณน้ำใช้งานได้ 100 ล้าน ลบ.ม.

อย่างไรก็ตาม แม้ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำในภาพรวมจัดว่าอยู่ในเกณฑ์น้อย แต่อ่างเก็บน้ำหลายแห่งก็ได้สิ้นสุดการระบายน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ตามแผนแล้ว ส่วนเขื่อนที่ยังคงทำหน้าที่ระบายน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง คือ เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ ซึ่งระบายน้ำเพื่อโครงการแม่กลองใหญ่ และจะสิ้นสุดในปลายเดือนมิถุนายนนี้ โดยเขื่อนทั้งสองมีแผนการระบายน้ำตลอดฤดูแล้งทั้งสิ้น 7,000 ล้าน ลบ.ม. ถึงปัจจุบันระบายน้ำไปแล้ว 5,957 ล้าน ลบ.ม. หรือ 85% ของแผน ยังเหลือปริมาณน้ำที่จะระบายตามแผนอีกประมาณ 908 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่เขื่อนทั้งสองมีปริมาณน้ำใช้งานได้รวมกัน ณ ปัจจุบัน 3,327 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าแผนการระบายน้ำ 2,419 ล้าน ลบ.ม. ที่คงเหลืออยู่นี้เป็นปริมาณน้ำสำรองที่สามารถนำมาใช้ในยามจำเป็นได้ดี

นายกิตติ กล่าวว่า ในระยะนี้เริ่มมีฝนตกมากขึ้น ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนบางแห่งเพิ่มขึ้นบ้างแล้ว เช่น เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนสะสมตั้งแต่ต้นปี (1 ม.ค.-5 มิ.ย. 56) รวม 552 ล้าน ลบ.ม. และ 447 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ นับเป็นสัญญาณที่ดีว่าจะมีปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นตลอดช่วงฤดูฝนนี้ อย่างไรก็ตามเขื่อนอื่นๆ เช่น เขื่อนภูมิพล และเขื่อนวชิราลงกรณ ก็ยังไม่มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้นมากนัก ประกอบกับการคาดการณ์แนวโน้มฝนของหลายหน่วย คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณฝนใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยเท่านั้น การวางแผนการใช้น้ำและการเก็บกักน้ำยังต้องทำอย่างรัดกุม เพื่อเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุด เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับปีถัดๆ ไป


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view