สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

หนุนไทยทำธุรกิจข้าวในเมียนมาร์

จาก โพสต์ทูเดย์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สนับสนุนผู้ประกอบการไทยขยายธุรกิจข้าวในเมียนมาร์ มีปัจจัยดึงดูดหลากหลาย อีกหนึ่งโอกาสเพื่อต่อยอดธุรกิจข้าวไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมาร์ได้กลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง หลังจากที่เมียนมาร์ได้ปิดประเทศมาอย่างยาวนาน ก็ได้เวลาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศเพื่อการพัฒนาให้ทัดเทียมกับ บรรดานานาประเทศอีกครั้ง ซึ่งหนึ่งในความรุ่งเรืองที่เมียนมาร์ต้องการทวงคืนตำแหน่งผู้นำด้านการส่ง ออกคือ “ข้าว” และด้วยปัจจัยดึงดูดที่หลากหลายในธุรกิจข้าวโดยเฉพาะนโยบายข้าวของเมียนมาร์ ทำให้นานาประเทศต่างจับตามองเมียนมาร์ในฐานะเป็นแหล่งการค้าการลงทุนใน ธุรกิจข้าวและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่น่าสนใจในขณะนี้ ประกอบกับสถานการณ์ราคาส่งออกข้าวของไทยที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับ ประเทศคู่แข่งหลักโดยเปรียบเทียบ อันส่งผลต่อการส่งออกข้าวไทยที่ต้องเผชิญความท้าทายเป็นอย่างมาก จึงนับเป็นโอกาสอีกช่องทางหนึ่งของผู้ประกอบการไทยในการแสวงหาโอกาสในธุรกิจ ข้าวในเมียนมาร์เพื่อต่อยอดธุรกิจข้าวไทย  

ข้าวเมียนมาร์…สู่การค้าเชิงพาณิชย์มากขึ้น เพื่อเป้าหมายการเป็นผู้ส่งออกหลักของโลก

แม้ปัจจุบัน เมียนมาร์ยังมีการผลิตข้าวแบบดั้งเดิมคือ เป็นการผลิตเพื่อยังชีพ โดยเน้นใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก มีการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรน้อย แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จากความพยายามในการเร่งพัฒนาการผลิตข้าวสู่ระบบที่เป็นเชิงพาณิชย์มากขึ้น คงจะทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวของเมียนมาร์น่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ทางการเมียนมาร์กำหนดไว้ที่ 2 ล้านตันในปี 2556 และ 3 ล้านตันในปี 2558 โดยไม่ยากมากนัก (หากไม่มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่จะกระทบต่อผลผลิตข้าว อาทิ ภัยธรรมชาติที่รุนแรง หลังจากที่การส่งออกข้าวของเมียนมาร์ ทำได้ตามเป้าหมายที่ 1.5 ล้านตันแล้วในปีงบประมาณ 2555/2556) และ คาดว่าในอนาคต เมียนมาร์อาจก้าวขึ้นมามีบทบาทติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศผู้ส่งออกข้าวหลักในโลก ทัดเทียมกับอินเดีย เวียดนาม และไทย ด้วยปริมาณการส่งออกข้าวไม่น้อยกว่า 5 ล้านตัน ในอีก 10 ปี

ซึ่งปัจจัยดึงดูดในธุรกิจข้าวเมียนมาร์ที่สำคัญ เพื่อผลักดันสู่การเป็นผู้ส่งออกข้าวหลักของโลกคือ ความแข็งแรงในธุรกิจข้าวของเมียนมาร์เอง ทั้งเป็นพืชเกษตรหลัก อาชีพหลัก ความมีชื่อเสียงของข้าว (ข้าวหอมพันธุ์ “Pearl Paw San” ของเมียนมาร์ได้รับรางวัลเป็นข้าวคุณภาพดีที่สุดในโลกประจำปี 2554) ความมั่งคั่งด้านทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งแรงงานราคาถูกจำนวนมาก การเปิดประเทศ ตลอดจนนโยบายข้าวของเมียนมาร์เองที่เป็นปัจจัยผลักดันสำคัญ ทำให้เมียนมาร์เร่งเพิ่มผลผลิตอย่างเข้มข้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ คือ ด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพันธุ์ข้าว เทคโนโลยีด้านการเกษตร ระบบชลประทาน ส่งผลให้เมียนมาร์มีผลผลิตข้าวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 2.35 ตันต่อเฮกตาร์ในปี 2554 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.67 ตันต่อเฮกตาร์ในปี 2556 (ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา) อันหนุนต่อการผลักดันการส่งออก ทำให้เมียนมาร์มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นและ มีโอกาสกลับมารุ่งเรืองในธุรกิจข้าว และก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำด้านการส่งออกข้าวของโลกได้ โดยตลาดเป้าหมายส่งออกหลักคือ แอฟริกา บังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น และยุโรป

เมื่อประกอบกับนโยบายเปิดประเทศที่สนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศใน ลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อประชากรชาวเมียนมาร์ ทำให้มีแนวโน้มที่นานาประเทศจะสนใจเข้ามาลงทุนและพัฒนาระบบการผลิตในธุรกิจ ข้าวของเมียนมาร์ให้ก้าวหน้ามากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น ลงทุนตั้งโรงสีข้าวและโรงงานแปรรูปข้าวขนาดใหญ่รวม 3 แห่ง และยังมีแผนปลูกข้าวและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้เมียนมาร์, สหรัฐอเมริกา กำลังสำรวจลู่ทางการลงทุนวิจัยด้านพันธุ์ข้าว, จีน จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม และลงทุนปลูกข้าวในเมียนมาร์ ตลอดจนสิงคโปร์ ลงทุนปลูกข้าว โดยร่วมทุนกับนักธุรกิจท้องถิ่นในเมียนมาร์ นอกจากนี้ ล่า สุด ในเดือนพฤษภาคม 2556 ญี่ปุ่นนำเข้าข้าวเมียนมาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปี หลังจากเมียนมาร์ชนะการประมูลข้าวด้วยจำนวน 5,000 ตัน ในราคาตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณของเมียนมาร์ในความต้องการกลับมาเป็นผู้ส่งออกข้าว หลักของโลกอีกครั้งหนึ่ง

 

โอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทย
  
 ผู้ ประกอบการไทยที่มีศักยภาพและต้องการเข้าไปลงทุนธุรกิจข้าวในเมียนมาร์ อาจเข้าไปในลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของสายการผลิตข้าว โดยพิจารณาแนวทางการรวมกลุ่มไปข้างหลัง (Backward Integration) เช่น ผู้ส่งออกอาจพิจารณาการไปตั้งโรงสี และรวมตัวกับผู้ขายวัตถุดิบ เพื่อควบคุมปัจจัยการผลิต เป็นต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การลงทุนโรงสีในเมียนมาร์นับว่ามีลู่ทางที่พอเป็นไปได้ โดย ใช้เมียนมาร์เป็นฐานการส่งออกข้าว ในแง่การเข้าไปลงทุนร่วมพัฒนาโรงสีข้าว โดยไทยเอาเทคโนโลยีไปเพิ่มความสามารถให้เมียนมาร์ ซึ่งสอดรับกับความต้องการของเมียนมาร์เองที่ต้องการโรงสีที่ทันสมัย เนื่องจากปัจจุบันโรงสีกว่าร้อยละ 80 ในเมียนมาร์ยังเป็นโรงสีขนาดเล็กที่มีเทคโนโลยีการผลิตต่ำ ส่งผลต่อคุณภาพข้าวที่อาจมีข้าวเมล็ดหักปริมาณสูง และอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทยคือ ผู้ค้าข้าว (Trader) ในเมียนมาร์เพื่อส่งออก นอกจากนี้ ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ก็คาดว่าจะเติบโตตามการเร่งฟื้นฟูธุรกิจข้าวในเมียนมาร์ด้วย เช่น ปุ๋ย และเครื่องจักรกลทางการเกษตร จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ในระยะสั้น ความท้าทายของผู้ประกอบการไทยยังมีอยู่มาก ทั้งประเด็นกระบวนการทางกฎหมาย อาทิ ขั้นตอนการจัดตั้งโรงสีในเมียนมาร์ค่อนข้างยุ่งยาก คือ การจัดตั้งโรงสีข้าวจะต้องขออนุญาตจากภาครัฐในหลายพื้นที่ และหลายกระทรวง ความไม่พร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยระบบชลประทานยังไม่ทั่วถึง เส้นทางคมนาคมหลายแห่งยังมีสภาพทรุดโทรม และที่สำคัญคือ ระบบไฟฟ้า ที่ยังมีไม่เพียงพอ อาจติดๆ ดับๆ ส่งผลต่อการผลิตข้าวที่ไม่ต่อเนื่อง เป็นต้น แต่ในอนาคตหากปัจจัยพื้นฐานต่างๆเหล่านี้พัฒนาไปมากขึ้น พร้อมๆกับการเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติของเมียนมาร์เพื่อประโยชน์ของเมีย นมาร์ การพิจารณาแนวทางขยายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านในภาวะที่ ปัจจุบันธุรกิจข้าวไทยเริ่มสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ประกอบกับความผันผวนของค่าเงินบาท ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการที่มีความพร้อม

ทั้งนี้ การลงทุนธุรกิจข้าวในเมียนมาร์ควรหาคู่ค้าที่เป็นนักธุรกิจท้องถิ่น จึงจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากระเบียบการค้ารัฐบาลเมียนมาร์ต้องการให้นักธุรกิจท้องถิ่นสามารถทำ ธุรกิจแข่งขันกับคนต่างชาติได้ ตลอดจนเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ซึ่งจะช่วยอำนวยให้ธุรกิจไทยเข้าถึงตลาดได้ดีขึ้น นอก จากนี้ ควรคำนึงถึงสัดส่วนการถือหุ้น ที่เมียนมาร์ต้องการให้คนเมียนมาร์ถือหุ้นข้างมาก ข้อกฎหมายเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน และรูปแบบธุรกรรมที่ยังไม่เป็นสากล

ในอีกด้านหนึ่ง แม้การขยายการลงทุนในธุรกิจข้าวเมียนมาร์จะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย แต่ในระยะยาว แนวโน้มที่ประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงเมียนมาร์กำลังพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวให้ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ปัจจัยดังกล่าว อาจทำให้ไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ข้าวไทยในเวทีโลก ดังนั้น การดำเนินนโยบาย/การวางยุทธศาสตร์ร่วมกัน เพื่อปกป้องธุรกิจข้าวในประเทศอย่างยั่งยืน จึงควรต้องคำนึงถึงผลที่จะตามมาต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในสายการผลิตอย่าง รอบด้าน ในภาวะที่หลายประเทศต่างมีนโยบายเพื่อปกป้องธุรกิจข้าวภายในประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ธุรกิจข้าวไทยสามารถรักษาบทบาทในตลาดโลกได้ท่ามกลางคู่แข่งที่มีแนว โน้มเพิ่มขึ้น


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view