สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เครือข่ายปชช.ค้านสร้าง16เขื่อนภาคเหนือ

จาก โพสต์ทูเดย์

กลุ่มตัวแทนฯ รวมตัวยื่นข้อเสนอ 6 ข้อคัดค้านการสร้าง 16 เขื่อนภาคเหนือ ชี้ ชาวบ้านได้รับผลกระทบและภาคประชาชนยังไม่มีส่วนร่วม

กลุ่มตัวแทนชาวบ้านมาประท้วงคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนของคณะกรรมการ บริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจำประเทศไทย และเข้ายื่นหนังสือของกลุ่มเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำภาคเหนือ อีสานและภาคใต้ รวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคมอื่น ๆ โดยขอให้มีการทบทวนและยุติการประมูลโครงการออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ผ่านทางสถานทูตเกาหลีไปยังบริษัท Korea Water Resource Coorperation (K - water) ที่มีบริษัทลูกอยู่ ซึ่งเป็น 1 ใน 2 บริษัทที่ยังไม่ถอนตัวในการเข้าร่วมการประมูลครั้งนี้

กลุ่มเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำภาคเหนือ อีสานและภาคใต้ รวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคมอื่น ๆ ได้แถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยต่อโครงการดังกล่าวและยื่นจดหมายถึงตัวแทน สถานทูตเกาหลีเพื่อให้ส่งข้อเรียกร้องไปยังบริษัท K-water ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทนั้น มีใจความสำคัญ 6 ประการ คือ

1. การดำเนินโครงการของ กบอ. ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 เช่น ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ขาดการศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ รวมถึงการวิเคราะห์โครงการ การจัดทำยุทธศาสตร์ การจัดทำแผนแม่บท การวิเคราะห์การลงทุน

2. บางโครงการภายใต้แผน 9 โมดูลขาดรายละเอียดของโครงการ และไม่มีกรอบเวลาการดำเนินงานที่ชัดเจน

3. ไม่มีความชัดเจนของหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบรวมถึงการเซ็นสัญญา และองค์กรหลักที่รับผิดชอบก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นภาครัฐหรือบริษัทเอกชนผู้รับ จ้าง

4. ขาดการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนอย่างครบถ้วนโดย เฉพาะประชาชนในพื้นที่ ทั้งที่มันจะก่อให้เกิดผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงทั่วทั้ง ประเทศไทย

5. บางโมดูลไม่มีความจำเป็นและเร่งรีบโครงการ นอกจากนี้ยังใช้งบประมาณสูง ไม่คุ้มทุน และมีความซ้ำซ้อนกับแผนงานและงบประมาณประจำปีของหลายหน่วยงาน

6. กบอ. ได้ปรับเปลี่ยนระบบและระเบียบต่าง ๆ ในการทำงาน ให้บริษัทเอกชนต่างประเทศที่ได้รับสัมปทานเป็นฝ่ายจัดการอย่างเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่การศึกษาผลกระทบต่าง ๆ ไปจนถึงการออกแบบและก่อสร้าง รวมถึงการเวนคืนที่ดินการหาพื้นที่อพยพซึ่งจะกระทบต่อชุมชมและก่อให้เกิด ความขัดแย้งอย่างรุนแรง

กลุ่มเครือข่ายประชาชนฯ ระบุว่า การดำเนินงานของบริษัท K – water นั้น จะเป็นการทำให้เกิดผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะพื้นที่โมดูล A1 ในทางภาคเหนือนั้น ซึ่งจะมีการก่อสร้างเขื่อนถึง 16 เขื่อนด้วยกัน ในระยะเวลาตามแผนแม่บทเพียงแค่ 5 ปี โดยเฉพาะเรื่องของการก่อสร้างเขื่อนยมล่างและเขื่อนยมบน ซึ่งมาจากการแยกเขื่อนแก่งเสือเต้น ถือเป็นแหล่งป่าสักทองที่มีความสำคัญ หากมีการดำเนินการจริงจะถือเป็นการทำลายทรัพยากรชาติ และในการดำเนินงานนั้น ก็ไม่ได้ให้ภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วม ถึงแม้ทางภาครัฐจะอ้างว่าภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจะต้องยอมเสียสละก็ตาม และโครงการเหล่านี้เองก็ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างจริงจังและไม่ได้รับการ ตรวจสอบผลกระทบจากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ตัวแทนประชาชนจากเขื่อนปากมูลที่ได้รับผลกระทบจากการสร้าง เขื่อนปากมูล ยังได้ยกตัวอย่างเรื่องของการสร้างเขื่อนที่เป็นปัญหากันมาอย่างยาวนานว่า ประชาชนจากปากมูลยังไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาลแต่อย่างใด

สอดคล้องกับนายสายัญน์ ข้ามหนึ่ง เจ้าหน้าที่กลุ่มแม่น้ำเพื่อชีวิต แกนนำในการยื่นข้อเรียกร้อง กล่าวว่า “ต้องเร่งแก้ไขปัญหาเขื่อนเก่าก่อน เขื่อนเก่ายังคาราคาซังอยู่ แต่กลับไปเร่งสร้างเขื่อนใหม่ วันนี้ต้องเร่งแก้ไขเขื่อนเก่า และไม่เอาเขื่อนใหม่”

สำหรับพื้นที่ในการสร้างเขื่อนทั้ง 16 เขื่อนนั้น ได้แก่พื้นที่ 1. อ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำยม (แม่น้ำยม, แม่น้ำยมตอนบน, แม่ตีบ, แม่อ้อน, ห้วยโป่งผาก, แม่แลง, น้ำงิม, อ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำยมที่เหมาะสม) 2. แม่วงก์ ต. แม่เล่ย์ อ. แม่วงก์ จ. นครสวรรค์ 3. แม่แจ่ม ต. แม่นาจร อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ 4. คลองวังชมพู ต. วังชมพู อ. เนินมะปราง จ. พิษณุโลก 5. แม่ขาน ต. บ่อน้ำหลวง อ. สันป่าตอง จ. เชียงใหม่ 6. น้ำปาด ต. ฟากท่า อ. ฟากท่า จ. อุตรดิตถ์ 7. คลองสวนหมาก ต. โป่งน้ำร้อน อ. คลองลาน จ. กำแพงเพชร 8. ห้วยตั้ง ต. ป่าพลู อ. บ้านโฮ่ง จ. ลำพูน 9. คลองขลุงล่าง ต. คลองลานพัฒนา อ. คลองลาน จ. กำแพงเพชร 10. ห้วยฉลอม ต. ท้องฟ้า อ. บ้านตาก จ. ตาก 11. ห้วยพังงา ต. บ้านฝาย อ. น้ำปาด จ. อุตรดิตถ์ 12. ห้วยท่าพล ต. ท่าพล อ. เมือง จ. เพชรบูรณ์ 13. สมุน อ. เมืองน่าน จ. น่าน 14. ห้วยน้ำเฮี้ย อ. หล่มสัก จ. เพชรบูรณ์ 15. คลองวังเจ้า ต. โกสัมพี อ. โกสัมพี จ. กำแพงเพชร 16. อ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำอื่น ๆ ได้แก่ ลุ่มน้ำปิง ยม น่าน สะแกกรัง และป่าสักที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มเตรียมยื่นเอกสารข้อเรียกร้องต่อสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชน จีน ประจำประเทศไทย เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้บริษัท ITD ของจีน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกในแผนงาน 3.5 แสนล้าน ในโมดูล A1 และหากยังมีการดำเนินโครงการไปตามปกตินั้น และทางกลุ่มเองจะเน้นการดำเนินการในพื้นที่และพร้อมที่จะดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในการคัดค้านต่อไป คือ อาจมีการปิดพื้นที่และไม่ให้ความร่วมมือในดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้อาจมีการดำเนินการฟ้องร้องบริษัท K – water โดยกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบอีกด้วย


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view