สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ม็อบยางเหนือร้องแก้ราคาวูบ

จาก โพสต์ทูเดย์

ชาวสวนยางสุโขทัย-เมืองพิษณุโลกบุกศาลากลางเรียกร้องแก้ราคาตกต่ำ

กลุ่มมวลชนเกษตรกรจาก จ.สุโขทัย และ อ.นครไทย อ.วังทอง อ.ชาติตะการ จ.พิษณุโลก เกือบ 100 คนนำโดย นายศิลา ปัญจรี ประธานเครือข่ายชาวสวนยางจ.พิษณุโลกและนายสุชาติ พิมเสนา อดีตนายกบ้านพร้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก บุกศาลากลางจ.พิษณุโลก พร้อมชูป้าย"เครือข่ายสวนยางภาคเหนือ"- "ปูจ๋า อย่าลำเอียง ช่วยเหลือชาวนาแล้ว ช่วยเหลือชาวสวนบ้าง" จากนั้นได้เข้าพบกับนายนคร มาฉิม สส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อยื่นหนังสือต่อผวจ.พิษณุโลก ส่งผ่านไปยังน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี โดยมีนายเจน รัตนพิเชษฐชัย รองผวจ.พิษณุโลกเดินทางมารับหนังสือเรียกร้องแทน
 
สำหรับข้อเรียก ร้องของตัวแทนกลุ่มมวลชนเกษตรกร คือ ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกรเนื่องจากปัญหาราคายางตกต่ำ ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทั้งสินค้าราคาแพง ค่าแรงที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศเดือดร้อน แม้ว่ารัฐบาลมีนโยบายแทรกแซง ด้วยงบประมาณ 45,000 ล้านบาท ที่สิ้นสุดปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมานั้น แต่กลับพบว่า มีปัญหา คือราคายางพาราที่ซื้อขาย ต่ำกว่า ราคาประกัน รัฐบาลอนุมัติเงินไม่เพียงพอมีเงื่อนไขมาก อาทิ 1 ครอบครัวร่วมโครงการไม่เกิน 25 ไร่ กำหนดวันกรีด 17วัน กำหนดวงเงินการขายไม่เกิน 1,700 กิโลกรัมต่อเดือน
 
ทั้งนี้จึงเรียก ร้องขอให้รัฐบาล เพิ่มวงเงินเร่งด่วนเป็น 60,000 ล้านบาทและในรอบใหม่ คือ มิ.ย.2556 - ก.พ.2557 เพื่อให้ราคายางชั้น 3 มีราคา 100 บาท ขยายเงื่อนไข 1 ครอบครัวสามารถร่วมโครงการได้ 50 ไร่ กำหนดวันกรีด 20 วัน และให้จ่ายเงินถึงมือเกษตรกรโดยตรงภายใน 5 วัน พร้อมกับเปลี่ยนตัวผู้รับผิดชอบโครงการ เนื่องจากที่ผ่านมาทำให้โครงการชะงัก การซื้อขายยางไม่สม่ำเสมอ ปล่อยให้พ่อค้าคนกลางบีบราคายางตกต่ำ
 
นายสุชาติ  อดีตนายกอบต.บ้านพร้าว อ.นครไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาล มองไม่เห็นความสำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเมื่อเทียบกับเกษตรกรผู้ปลูก ข้าว, ข้าวโพด มันสำปะหลัง ส่งผลให้ราคายางพาราตกต่ำ ขอให้รัฐบาลทบทวนการแก้ปัญหา โซนนิ่งยางพาราและปาล์มน้ำมัน  ในปัจจุบันรัฐบาล กำหนดบางพื้นที่ ที่น้ำท่วมถึง ไม่สามารถปลูยางพาราได้ อาทิ ต.ท่าหมื่นราม กลายเป็นเขตปลูกยางพารา  ทั้งๆที่ปัจจุบันชาวบ้านแยง  อ.นครไทย มีผลผลิตยางพารา 100 ตันต่อปี ส่วนผลผลิตปาล์ม 200 ตันต่อเดือน  สร้างมูลค่านับล้านบาทแก่เศรษฐกิจเมืองพิษณุโลกจึงขอเรียกร้องต่อ นายกรัฐมนตรี ให้แก้ไขปัญหาราคาพารายางตกต่ำ หากรัฐบาลไม่ดำเนินการแก้แก้ไขภายใน 20 วัน เครือข่ายเกษตรกร ทั้ง 4 ภาค  จะเคลื่อนไหวต่อไปที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯต่อไป
 
ด้าน นายนคร สส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหาราคายางตกต่ำจะสรุปเรื่องปัญหาและประสานทุกภาคส่วนทั้งหมดในภาคเหนือ และนำเสนอต่อรัฐบาล ขอให้รัฐบาลมีแผนงานที่ชัดเจน หากปล่อยไว้เช่นนี้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจะล้นพ้นตัว ส่วนปัญหาโซนนิ่งจัดพื้นที่ปลูกยางพาราไม่เหมาะสมก็ขอให้ดำเนินการแก้ไขด้วย


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view