สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กฟผ.ลุ้นระทึกน้ำไม่ไหลเข้าเขื่อนพ.ค.นี้วิกฤตแน่!วอนคนไทยใช้ประหยัด

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

กฟผ.” บริหารน้ำในเขื่อนหลักภูมิพล-สิริกิตติ์รัดกุมมากขึ้นหลังปริมาณน้ำที่จะ ระบายเหลือต่ำกว่าเกณฑ์ รับจัดสรรให้ภาคเกษตรเพิ่มค่อนข้างยากขึ้นหลังน้ำไหลเข้าแทบไม่มี และหากพ.ค.นี้น้ำไม่เข้าเขื่อนเพิ่มเสี่ยงวิกฤตแน่ แต่ยังมีลุ้นเหตุกรมอุตุฯยันฝนมาตามฤดูกาลแต่ปริมาณฝนจะต่ำ วอนคนไทยช่วยประหยัด
       
       นายธนรัชต์ ภูมิมะกสิกร ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิตติ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า การบริหารน้ำในเขื่อนใหญ่ซึ่งเป็นเขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยาคือเขื่อน ภูมิพล และสิริกิตติ์ต้องรัดกุมมากขึ้นหลังจากปริมาณน้ำในเขื่อนที่ใช้ได้จริงเหลือ ค่อนข้างต่ำซึ่งกฟผ.จะระบายตามมติคณะอนุกรรมการติดตามน้ำและวิเคราะห์แนว โน้มสถานการณ์น้ำซึ่งเน้นการบริโภคและอุปโภคเป็นหลัก โดยปัจจุบันเขื่อนสิริกิตติ์มีน้ำที่จะใช้ได้จริง 800 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้ระบายที่ 10-16 ล้านลบ.เมตรต่อวันหากปริมาณฝนไม่เข้าเขื่อนเลยจนถึงสิ้นพ.ค.นี้มีความเสี่ยง ต่อน้ำที่จะต้องจำกัดลงมาก
       
       “ทางกรมอุตุนิยมวิทยาเองระบุว่าฝนจะมาตามฤดูกาลในช่วงพ.ค.นี้แต่ ภาพรวมปีนี้ปริมาณฝนจะต่ำกว่าปีที่แล้วก็คงจะต้องรอปริมาณฝน ซึ่งล่าสุดมีน้ำไหลเข้าเขื่อนบ้างแต่ถือว่าไม่มีผลใดๆ เลยเพราะน้อย ส่วนการระบายน้ำก็ต้องหารือกันในคณะอนุกรรมการฯโดยขณะนี้เน้นบริหารจัดการ ให้น้ำเพียงพออุปโภคบริโภคในลุ่มเจ้าพระยาและให้มีน้ำไปผลักดันน้ำเค็มให้ น้ำกร่อยเจือจางลงในเขตกทม.และชลบุรีเพราะจะมีผลต่อการทำน้ำประปาได้ ซึ่งยอมรับว่าถ้าหากจะจัดสรรน้ำให้ภาคเกษตรเพิ่มจากนี้ไปยอมรับว่าค่อนข้าง จะยากมาก ดังนั้นขอให้คนไทยใช้น้ำอย่างประหยัดด้วย”นายธนรัชต์กล่าว
       
       นายณัฐจพนธ์ ภูมิเวียงศรี ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล กล่าวว่า ขณะนี้กฟผ.ต้องบริหารจัดการน้ำในเขื่อนภูมิพลอย่างรัดกุมเนื่องจากปัจจุบัน ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างแทบไม่มีเลยแต่ปริมาณน้ำที่สามารถใช้ได้มีเพียง 1,563 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยขณะนี้ระบายวันละ 10 ล้านลบ.เมตรซึ่งหากฝนไม่ตกไหลเข้าเขื่อนเลยในช่วงพ.ค.นี้ก็จะสามารถระบายน้ำ ได้อีกภายในไม่เกินพ.ค.นี้เท่านั้น
       
       “ยอมรับว่าปีนี้แล้งมากแม้ว่าฝนจะตกกระจายในหลายพื้นที่บ้างแล้วแต่ น้ำไม่ไหลเข้าเขื่อนภูมิพลเลยขณะนี้ทำให้เราต้องบริหารจัดการน้ำอย่างรัดกุม โดยได้ลดการระบายน้ำลงจากเดิมเคยระบายวันละ 20 ล้านลบ.เมตรเหลือเพียงวันละ 10ลานลบ.เมตรเพื่อให้ใช้ในอุปโภคและบริโภคเป็นหลัก”นายณัฐจพนธ์กล่าว


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view