สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เสียงครวญจาก...เกาะสมุย เหตุผลที่พวกเราไม่เอา บ่อน้ำมัน

จากประชาชาติธุรกิจ

ปี 2553 ชาวเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงร่วม 30,000 คน รวมพลังสร้างปรากฏการณ์จับมือรอบเกาะสมุยเพื่อประกาศเจตนารมณ์ไม่เอา "บ่อน้ำมัน" ในอ่าวไทย เหตุการณ์ครั้งนั้น กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเป็นกำลังสำคัญในการสร้างกระบวนการคัด ค้านอย่างเป็นรูปธรรม

การคัดค้านดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากปี 2550 เมื่อกระทรวงพลังงานให้สัมปทานบริษัทเอกชน 4 แห่ง ขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในอ่าวไทย 4 แปลง คือ G6/48 ของบริษัทเพิร์ลออย (อมตะ), G4/50 ของบริษัทเชฟรอน, B8/38 ของบริษัทซาลามานเดอร์ และ G5/50 ของบริษัทนิวคอสตอล (CEC) ซึ่งแต่ละแปลงอยู่ใกล้ เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า เพียง 30 - 80 กิโลเมตร เท่านั้น

ในเดือนเมษายนนี้ ผู้รับสัมปทานจะเริ่มขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม ใน 3 แปลง คือ แปลง G4/50 ของบริษัท ซาลามานเดอร์ (เดิมเป็นสัมปทานของ บริษัทเชฟรอน) อยู่ห่างจากเกาะพะงัน 36.7 กิโลเมตร, แปลง G5/50 ของบริษัทนิวคอสตอล ห่างเกาะสมุย 40 กิโลเมตร และ B6/27 ของ ปตท.สผ. ห่างจากหมู่เกาะอ่างทอง และเกาะเต่า 30-40 กิโลเมตร

หลังการแสดงพลังจับมือรอบเกาะ ฝ่ายคัดค้านได้เดินหน้าฟ้องศาลปกครองและขอการคุ้มครองชั่วคราว แต่ก็ไม่เป็นผล

เมื่อ ศาลปกครองไม่ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมา ในขณะที่ภาครัฐโดยกรมเชื้อเพลิงพลังงานและบริษัทผู้รับสัมปทาน เดินหน้าเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น แต่ก็ถูกต่อต้านจนไม่สามารถดำเนินการได้

"อานนท์ วาทยานนท์" ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์อ่าวไทย เล่าว่า ชาวเกาะสมุยได้เข้าร่วมในเวทีรับฟังความคิดเห็นของบริษัทเชฟรอนและเพิร์ล ออยล์ โดยชี้แจงเหตุผลและยืนยันไม่เห็นด้วยกับการขุดเจาะน้ำมันของทั้งสองบริษัท

กระนั้น ก็ตาม การเข้าร่วมรับฟังความเห็นของภาคประชาชนและภาคธุรกิจกลับกลายเป็นการสร้าง ความถูกต้องชอบธรรมในกระบวนการรับฟังความเห็น กรมเชื้อเพลิงพลังงานได้อนุมัติให้ทั้ง 2 บริษัท ขุดเจาะสำรวจ ปิโตรเลียม ในแปลงสัมปทาน

กระทั่งบริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด จัดเวทีรับฟังความเห็นเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา งานนี้ภาคประชาชนและผู้ประกอบการไม่เข้าร่วมเวที ส่งผลให้เวทีรับฟังความเห็นไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้

"ทุกวิถีทาง ที่จะมีทางออกของปัญหาและยุติการขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย เราทำทั้งหมด แม้แต่การเข้าร่วมเป็นกรรมการ 3 ฝ่าย ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนภาคประชาชน บริษัทผู้รับสัมปทาน และกรมพลังงาน

เชื้อเพลิง ข้อเสนอที่ชาวเกาะสมุยยืนยันมาตลอดทุกเวที คือ หลุมขุดเจาะน้ำมัน

ไม่ควรอยู่ในระยะ 100 กิโลเมตร จากแหล่งท่องเที่ยวของเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า" อานนท์กล่าว

"อานนท์" ยังเล่าว่า หลังจากมีคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ได้มีกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR ของกลุ่มบริษัทผู้รับสัมปทานอย่างต่อเนื่อง โดยมีความพยายามที่

จะ ดันกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านทางคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ผ่านไปยังโรงเรียน ชุมชน วัด และผู้ประกอบการ เช่น ให้การสนับสนุนการศึกษาดูงาน การปลูกปะการัง การให้ทุนการศึกษา ส่งผลให้ชาวบ้าน

ที่ได้ประโยชน์จากกิจกรรมเกิดความเอนเอียง เกรงอกเกรงใจและเมินเฉยต่อสถานการณ์ที่เคยต่อสู้ร่วมกันมา

ในขณะที่การฟ้องศาลปกครองก็ไม่มีความคืบหน้า "ทนงศักดิ์ สมวงศ์" นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย เชื่อว่า

ผู้ ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเกือบ 100% ไม่เห็นด้วยกับการขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย หลังจากนี้จะมีการประสานไปยังภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดท่าทีในการคัดค้านอีกครั้ง "ทนงศักดิ์" ชี้ว่า มูลค่าด้านการ

ท่องเที่ยวของเกาะสมุยเทียบไม่ได้กับมูลค่าของน้ำมัน วันนี้คนสมุยจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มปีละ 740 ล้านบาท นั่นหมายถึงการใช้จ่ายโดยประมาณ 10,000 ล้านบาท และหากรวมกับภาษีอื่น ๆ ที่เก็บโดยท้องถิ่น รวมแล้วกว่า 1,500 ล้านบาท คิดกลับไปเป็นตัวเลขก่อนภาษีมีมูลค่ามหาศาล

นอกจากตัวเลขที่เป็น ภาษีแล้ว เงินรายได้จากการท่องเที่ยวจะหมุนเวียนอยู่ในระบบประมาณ 7 รอบ การจ้างงานในภาคการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 40,000-50,000 อัตรา เมื่อเทียบกับการจ้างงาน ในกิจการขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งไม่น่าจะเกิน 5,000 คน ภาคการท่องเที่ยวจึงมีความยั่งยืนกว่า ฉะนั้นส่วนตัวไม่เชื่อว่าการขุดเจาะน้ำมันจะไม่ส่งผลกระทบไปถึงรุ่นลูกรุ่น หลาน

"อยากตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลไม่ขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยเอง จ้าง ปตท.ซึ่งเป็นบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้น ขุดเจาะก็ได้ ซึ่งอาจทำให้ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันไม่ถึง 30% แต่รัฐบาลให้สัมปทานบริษัทต่างชาติมาขุดเจาะ และใช้ทรัพยากรของชาติ อย่างไม่เป็นธรรมกับคนท้องถิ่น"

ด้าน "วรรณี ไทยพาณิช" นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะพะงัน กล่าวว่า ผู้ประกอบการในเกาะพะงันมีความกังวลในเรื่องนี้มาก หากมีการขุดเจาะน้ำมัน การท่องเที่ยวต้องล่มสลายอย่างแน่นอน ที่สำคัญบริเวณ 3 เกาะ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของประเทศไทย วันนี้มีการปิดอ่าวให้ปลาทูวางไข่และให้ธรรมชาติฟื้นตัว แต่หากขุดเจาะน้ำมันไม่รู้เลยว่า ปลาทูจะวางไข่หรือไม่ "ภาคการท่องเที่ยวของเกาะพะงัน จึงไม่เห็นด้วยกับการขุดเจาะน้ำมัน และจะร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ ในการคัดค้านต่อไป"

"วัลวลี ตันติกาญจน์" ประธานสมาพันธ์สปาไทย กล่าวเสริมว่า นอกจากภาคการท่องเที่ยวแล้ว ทั้ง 3 เกาะ ยังมีภาคการประมง แหล่งอาหาร วิถีชีวิต ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการขุดเจาะน้ำมันเช่นกัน การนำแท่นขุดเจาะลงสู่ทะเล แล้วมาบอกว่าไม่มีผลกระทบ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ การมี

สิ่ง แปลกปลอมลงไปในธรรมชาติ ผลกระทบต้องมีแน่นอน นี่คือเหตุผลจากเกาะสมุยที่ยืนยันตรงกันว่า ไม่ต้องการให้มีการขุดเจาะน้ำมันรอบเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม ยั่งยืน และหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาอย่างยาวนาน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view