สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปิยสวัสดิ์ หนุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"ปิยสวัสดิ์"หนุนผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นทางเลือกผลิตไฟฟ้าทดแทนก๊าซธรรมชาติ ชี้ต้นทุนแข่งโรงไฟฟ้าที่ใช้ LNG เป็นเชื้อเพลิงได้

นายปิยสวัสดิ์อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และประธานมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ค่าไฟแพง ไฟขาดแคลน แก้ไขได้ด้วยพลังงานหมุนเวียน” ว่าปัจจุบันต้นทุนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์มีต้นทุนที่ใกล้เคียงกับการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ประเทศไทยมีแนวโน้มจะนำเข้ามาใช้ผลิตไฟฟ้ามากขึ้นในอนาคต

ปัจจุบันต้นทุนของการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซ LNG มีต้นทุนอยู่ที่ 5.71 บาทต่อกิโลวัตต์ ขณะที่ต้นทุนในการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนการก่อสร้างอยู่ที่ 55 ล้านบาทต่อ 1 เมกะวัตต์ จะมีราคาอยู่ที่ 5.12 บาทต่อกิโลวัตต์ ขณะที่โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนการก่อสร้างอยู่ที่ 65 ล้านบาทต่อ 1 เมกกะวัตต์จะมีต้นทุนในการรับซื้อไฟฟ้าอยู่ที่ 5.59 บาทต่อกิโลวัตต์ ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าของไทยในอนาคต

นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า ราคาของก๊าซธรรมชาติรวมทั้งก๊าซ LNG มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งในระยะเวลตั้งแต่ปี 2543-2555 ราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ดังนั้นหากในระยะเวลาอีก 20-30 ปีข้างหน้าประเทศไทยมีการนำเข้าก๊าซ LNG เพื่อผลิตไฟฟ้ามากขึ้นจากปัจจุบันมีการนำเข้าประมาณปีลบะ 2.4 ล้านตัน เป็นปีละ 23.2 ล้านตันในปี 2573 ค่าไฟฟ้าที่ประชาชนจะต้องจ่ายจะปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.99 บาทต่อหน่วยในปัจจุบันไปอยู่ที่ 4.95 บาทต่อหน่วย โดยการคำนวณดังกล่าวอาจมีการปรับตัวสูงขึ้นได้เนื่องจากยังมีสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนรออยู่ในอนาคต ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ประชาชนอาจจะต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นจากการพึ่งพาการนำเข้าก๊าซ LNG เพื่อผลิตไฟฟ้ามากเกินไป

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานควรเร่งรัดการดำเนินการกำหนดมาตรการที่แน่นอนในการรับซื้อไฟฟ้าจากผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โดยควรมีการทบทวนข้อดีข้อเสียของการสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทั้ง 2 ระบบได้แก่ระบบ Adder และ ระบบ Feed in tariff โดยการกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าใหม่ไม่ควรต่พกว่า ค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการซื้อก๊าซ LNG เข้ามาผลิตไฟฟ้าในแต่ละปี เพราะการดึงการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์เข้าสู่ระบบเท่ากับการลดปริมาณการผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซ LNG ที่จะต้องมีการนำเข้าในอนาคต

นอกจากนั้นยังเสนอให้มีการยกเลิก มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่ให้จำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อแก้ไขปัญหาการซื้อขายใบสัญญและสร้างระบบโควต้าในการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ รวมทั้งเร่งให้มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar rooftop) โดยภาครัฐควรกำหนดราคาในการรับซื้อไฟฟ้าขายปลีกจากระบบนี้ไม่ต่ำกว่าราคาที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตรับซื้อจากโรงไฟฟ้าของเอกชนในช่วงที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด เพื่อให้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาช่วยแก้ปัญหาสำรองไฟฟ้าในช่วงดังกล่าว ทั้งนี้หากมีการส่วงเสริมที่ดีพอน่าจะมีไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาเสริมระบบผลิตไฟฟ้าในช่วง Peak ไม่ต่ำกว่า 1,000 เมกะวัตต์


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view