สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เอทานอลทำจากมันเหลือค้างเติ่ง ก.พลังงานเต้นไล่บี้บ.น้ำมันทวงให้ซื้อตามโควตา38%

จากประชาชาติธุรกิจ

กรมธุรกิจพลังงาน เตรียมเรียกผู้ค้าน้ำมันชี้แจง หลังพบไม่ซื้อเอทานอลตามสัดส่วน พร้อมขอคุมการส่งออกหวั่นในประเทศไม่พอใช้ เพราะยกเลิกเบนซิน 91 ดีมานด์เริ่มเทมาที่แก๊สโซฮอล์ ด้านผู้ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลมองกลุ่มเอทานอลจากมันไม่พร้อมผลิต ฝั่งผู้ผลิตเอทานอลจากมันแย้ง เดินเครื่องเต็มที่ได้ 1.4 ล้านลิตร สูงกว่าโควต้าจริงแต่ไม่มีออร์เดอร์

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันซื้อเอทานอลจาก 2 วัตถุดิบคือ เอทานอลจากกากน้ำตาล (โมลาส) ร้อยละ 62 และเอทานอลจากมันสำปะหลังร้อยละ 38 แต่กลับพบว่าผู้ค้าน้ำมันไม่ให้ความร่วมมือ ฉะนั้น เร็ว ๆ นี้จะเรียกผู้ค้าน้ำมันแต่ละรายเข้ามาชี้แจงเหตุผลว่า เพราะอะไรจึงไม่ดำเนินการซื้อเอทานอลตามที่กำหนด

ก่อนหน้านี้ กระทรวงพลังงานขอความร่วมมือไปยังผู้ค้าน้ำมัน มาตรา 7 ทุกรายใน 2 ประเด็น คือ 1) ให้ซื้อเอทานอลตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อช่วยเหลือให้อุตสาหกรรมเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังสามารถเดินหน้าไป ได้ เพราะที่ผ่านมาราคาเอทานอล


จากมันค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับการผลิตจากกากน้ำตาล ทำให้ผู้ค้าน้ำมันเลือกที่จะซื้อเอทานอลจากกากน้ำตาลมากกว่า และ 2) ขอความร่วมมือเพื่อคุมการส่งออกเอทานอล เนื่องจากมองว่าหลังจากยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 แล้ว จะทำให้ความต้องการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้น และอาจทำให้เอทานอลไม่พอกับความ

ต้องการได้ โดยในปี 2555 ส่งออกสูงถึง 330 ล้านลิตร

"กรมธุรกิจ พลังงานจะเรียก บ.น้ำมันเข้ามาชี้แจง และ พพ.ต้องมาดูรายละเอียดเพื่อให้ทั้งอุตสาหกรรมมันเดินหน้าได้ทั้งระบบ การใช้เอทานอลก็เพิ่มขึ้นมากจาก 1.3 ล้านลิตร/วัน แต่แค่ ม.ค. 56 ที่ผ่านมา การใช้เพิ่มเป็น 2.2 ล้านลิตร/วัน ถือว่าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว "

ด้าน นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผยว่า การที่บริษัทผู้ค้าน้ำมันไม่สามารถซื้อเอทานอลจากมันได้นั้น เพราะไม่สามารถผลิตเอทานอล

ป้อนตลาดได้มากกว่า และขณะนี้มีโรงงานเอทานอลของบริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ จำกัด ที่หยุดเดินเครื่องผลิตเพราะมีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย ทำให้กำลังผลิตหายไปประมาณ 400,000 ลิตร/วัน (กำลังผลิตเต็มที่ 600,000 ลิตร/วัน) ทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องหันมาซื้อเอทานอลที่ผลิตจากโมลาส

เมื่อ มีการยกเลิกเบนซิน 91 ยิ่งทำให้ความต้องการเอทานอลเพื่อนำมาผสมในน้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นเช่น กัน มองว่าเดือน เม.ย.การใช้เอทานอลจะเพิ่มเป็น 3-4 ล้านลิตร/วัน ฉะนั้น วงการเอทานอลค่อนข้างกังวลว่าปริมาณเอทานอลจะเพียงพอหรือไม่ การส่งเสริมพลังงานทดแทน ต้องพิจารณาความพร้อมของผู้ประกอบการด้วย

"โรง งานเอทานอลจากมัน เขาไม่พร้อมเดินเครื่องมากกว่า ด้านเอทานอลจากโมลาสก็อยากขายหากว่ามียอดสั่งเข้ามา ไม่ได้อยากฝืนกฎระเบียบ เพียงแต่มันต้องรองรับการใช้แก๊สโซฮอล์ที่เพิ่มขึ้น"

ด้านนายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ ผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัท อุบล ไบโอ

เอ ทานอล จำกัด ผู้ผลิตเอทานอลจากมันกล่าวว่า มีการหารือกับบริษัทผู้ค้าน้ำมันว่า เพราะอะไรจึงไม่ซื้อเอทานอลจากมันได้ตามสัดส่วน เหตุผลคือบริษัทน้ำมันโดยเฉพาะ บริษัทเอสโซ่, เชลล์, คาลเท็กซ์ ได้ทำสัญญาซื้อขายเอทานอลจากกากน้ำตาลมาตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ย. 2555 และเป็นสัญญาซื้อแบบรายไตรมาส ในขณะที่นโยบายกำหนดสัดส่วนการซื้อเอทานอลดังประกาศเป็นทางการเมื่อเดือน มกราคม 2556 จึงขอซื้อเอทานอลจากมันในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้แทน

ปัจจุบัน มีโรงงานผลิตเอทานอลจากมันรวม 6 โรง รวมกำลังผลิต 1.4 ล้านลิตร/วัน เพื่อพิจารณาจากสัดส่วนที่กำหนดร้อยละ 38 ที่ผู้ค้าน้ำมันจะต้องซื้อแค่เพียง 700,000 ลิตร/วัน ฉะนั้น แม้ว่าจะมีโรงงานหยุดซ่อมเพียง 1 โรง ยังมีปริมาณเอทานอลพอรองรับแน่นอน เชื่อมั่นว่าในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ผู้ค้าน้ำมันจะซื้อได้ตามที่กำหนด

"แม้ ว่าราคาเอทานอลจากมันที่แพงกว่าโมลาส คือมีราคาอยู่ที่ 27 บาท/ลิตร ในขณะที่จากโมลาสอยู่ที่ประมาณ 24 บาท/ลิตร แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าแม้จะขายแพงแต่ก็ไม่ได้กำไรมากกว่าโมลาส เพราะต้นทุนผลิตจากมันประมาณ 80% มาจากเครื่องจักรอุปกรณ์"


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view