สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นักวิชาการชี้ทะเลกัดเซาะแผ่นดินหาย7.9หมื่นไร่

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

นักวิชาการภาควิชาธรณีเผยทะเลกัดเซาะชายฝั่งไทย ทำแผ่นดินทั้งประเทศหายไปแล้วกว่า 7.9 หมื่นไร่

นายธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา กล่าวถึงปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย ว่า ปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ แต่ที่ผ่านมาประเทศเรากำลังมองข้ามปัญหานี้และไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันอย่างจิรงจัง ปัญหาเรื่องนี้ตนเห็นว่าเป็นภัยเงียบ เพราะช่วงเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ชายทะเลทั้งประเทศจำนวนกว่า 2,600 กิโลเมตร ได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะไปกว่า 22 % และพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะมากที่สุด คือ พื้นที่บ้านขุนสมุทรจีน และช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมาน้ำทะเลได้กัดเซาะและได้ทำลายชายฝั่งที่พื้นแผ่นดินทั่วประเทศคิดเป็นพื้นที่กว่า 79,000 ไร่

อย่างไรก็ตามหัญหาน้ำทะเลกัดเซาะทำลายฝั่งไม่ใช่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่เจอปัญหานี้ ทุกประเทศที่มีชายฝั่งทะเลต่างเจอปัญหานี้ทุกประเทศ และสาเหตุจากการเกิดปัญหานี้เราพบว่าสภาพภูมิอากาศได้มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสภาพโลกร้อน ทำให้สภาพคลื่นลมในทะเลความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะขนาดคลื่นจะมีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา นอกจากสภาพต้นน้ำได้มีการก่อสร้างเขื่อนเพื่อเก็บกั้นน้ำ ทำให้สภาพความสมดุลย์เกี่ยวกับตะกอนดินที่เคยไหลมากับน้ำจากต้นมามาลงสู่ทะเลจากที่เคยมีก็ได้ลดน้อยลง ทำให้ดินตะกอนที่เคยไหลมาสะสมอยู่ปากแม่น้ำก็ได้หายไป โดยเฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจากศึกษาพบว่าได้มีตะกอนดินกว่า 70 % ซึ่งจากศึกษาในแต่ละปีที่ผ่านมาพบว่าจะมีดินตะกอนไหลลงมามากถึง 17 - 18 ล้านตัน ตอนนี้เหลือเพียง 1.6 ล้านตันเท่านั้น นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาไม่ถูกต้องตามหลักการก็เป็นอีกตัวเร่งหนึ่งที่ทำให้ปัญหานี้ได้ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว

เมื่อถามว่า ปัญหาการกัดเซาะบ้านขุนสมุทรจีน ที่จ.สมุทรปราการ ที่เรียกว่ามีความรุนแรงนั้นรุนแรงเท่าใด นายจารุวัฒน์ กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าจะมีการกัดเซาะปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 30 เมตร โดยพื้นที่ดังกล่าวทำให้พื้นที่ดินแผ่นดินได้หายไป 900 เมตร - 1 กิโลเมตร และพื้นที่จุดนี้ถือว่าเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาวิกฤตมากที่สุด เพราะการกัดเซาะไม่ได้กัดเซาะเพียงแค่พื้นที่แผ่นดินแต่ได้มีการกัดเซาะไปยังพื้นใต้ทะเลด้วย

เมื่อถามว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐเป็นอย่างไรบ้าง นายจารุวัฒน์ กล่าวว่า ในขณะนี้ตนยังไม่พบว่ามีหน่วยงานทางราชการที่เข้ามาดูแลในเรื่องอย่างจริงจัง และถูกต้องตามหลักวิชาการ ดังนั้นทางออกในเรื่องนี้ คือ เราจะต้องลดความแรงของคลื่น ด้วยการสร้างโครงสร้างเสาสามเหลี่ยมขนาดความกว้างประมาณ 50 คูณ 50 คูณ 50 นำไปปักให้ห่างจากฝั่งประมาณ 500 เมตร การปักจะต้องปักให้ห่างกันประมาณ 150 เมตร ปักจำนวน 3 แถว ซึ่งจะช่วยลดความแรงของคลื่นให้ลดลงได้มากถึง 40 - 90 % และในขณะนี้เราได้เริ่มทดลองที่บ้านขุนสมุทรจีนความยาวประมาณ 250 เมตร และโครงการที่ทำยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งงบประมาณในการดำเนินการทั้งหมดได้รับจากสกว. และจากการทดลองมาเป็นเวลา 5 ปี พบว่าสามารถหยุดการกัดเซาะได้เกือบ 100 % และทำให้ตะกอนเพิ่มงอกขึ้นเกือบ 2 เมตร ระบบนิเวศเริ่มปรับสภาพดีขึ้น และในขณะนี้โครงการดังกล่าวถือว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งยังขาดงบประมาณในการดำเนินการอีก 9 -10 ล้านที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จ ซึ่งเราคงจะต้องหางบประมาณในส่วนนี้ไปดำเนินการต่อ


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view