สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ฮือฮา! ภาวะโลกร้อนช่วยสร้าง เส้นทางเดินเรือสายใหม่ ใน 37 ปี ย่นเวลาจากเอเชียไปอเมริกาเหนืออื้อ ชี้ คลองสุเอซ-ปานามา อาจเจ๊ง

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       รอย เตอร์/เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - ผลการศึกษาล่าสุดของทีมวิจัยที่นำโดยลอเรนซ์ ซี. สมิธ ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-ลอสแองเจลิส (ยูซีแอลเอ) ที่มีการเผยแพร่ในวันจันทร์ (4) ระบุว่า สภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้นจากผลของภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้น้ำแข็งจำนวนมหาศาล บริเวณมหาสมุทรอาร์กติกใกล้ขั้วโลกเหนือละลาย จนเกิดเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศสายใหม่ภายใน ค.ศ. 2050 ซึ่งเส้นทางเดินเรือดังกล่าวจะช่วยให้การขนส่งสินค้าจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียไปยังชายฝั่งด้านตะวันออกของสหรัฐฯ สามารถทำได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ถือเป็นผลพลอยได้จากภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก
       
       ผลการศึกษาดังกล่าวระบุว่า ภายในปี 2050 หรือ 37 ปีข้างหน้า แผ่นน้ำแข็งจำนวนมากที่เคยปกคลุมน่านน้ำแถบมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งเป็นมหาสมุทรที่ตั้งอยู่เหนือสุดของโลกจะละลายเป็นบริเวณกว้างจากผลของ อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จนเกิดเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศสายใหม่ที่จะช่วยย่นระยะเวลาในการขนส่ง สินค้าทางทะเลจากเอเชียไปยังชายฝั่งอีสต์โคสต์ของสหรัฐฯ ได้มากกว่าในปัจจุบัน ที่ต้องขนส่งสินค้าผ่านเส้นทาง “คลองสุเอซ” ที่ประเทศอียิปต์ และ “คลองปานามา” ทางตอนกลางของทวีปอเมริกา และหากเป็นเช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่ออนาคตของคลองทั้ง 2 แห่งอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้
       
       ศาสตราจารย์สมิธซึ่งเป็นผู้นำในการศึกษาระบุว่า ภายในปี 2050 เส้นทางเดินเรือสายใหม่จะช่วยย่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้าทางทะเลจากชายฝั่ง ด้านตะวันออกของสหรัฐฯรวมถึงแคนาดา ไปยังช่องแคบเบริงที่อยู่สุดเขตแดนทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชียได้โดยใช้ เวลาเพียงแค่ 15 วันเท่านั้น เทียบกับระยะเวลา 23 วันในการเดินเรือเลาะแนวชายฝั่งตอนเหนือของรัสเซียในปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าเส้นทางเดินเรือสายใหม่ที่เกิดจากผลของภาวะโลกร้อนจะช่วยให้ ประหยัดเวลาในการขนส่งสินค้าได้กว่า “30 เปอร์เซ็นต์” แม้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสภาพอากาศที่ขึ้นชื่อเรื่องความแปรปรวนของแถบ อาร์กติกจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้เส้นทางเดินเรือสายใหม่นี้ไม่อาจใช้งานได้ ตลอดทั้งปีก็ตาม
       
       ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติของสหรัฐฯ (USNSID) ออกรายงานซึ่งระบุว่าน้ำแข็งที่อยู่บริเวณน่านน้ำแถบมหาสมุทรอาร์กติกได้ หลอมละลายสู่ระดับต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์จากผลของภาวะโลกร้อน และจะมีผลทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรอาร์กติกจะกลายเป็น “เขตปลอดน้ำแข็ง” อย่างสิ้นเชิง ในช่วงฤดูร้อนภายในเวลาประมาณ 30 ปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่เร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้ถึง 40 ปี
ที่ตั้งของมหาสมุทรอาร์กติกและขั้วโลกเหนือ
       
ลอเรนซ์ สมิธ ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-ลอส แองเจลิส (ยูซีแอลเอ)
      
      
คลองสุเอซและคลองปานามา อาจกลายเป็นเพียงอดีต หากมีเส้นทางเดินเรือสายใหม่

ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view