สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เร่งพิสูจน์ สารไนไตรท์ ในรังนก สร้างความเชื่อมั่นแก้ปัญหาจีน-มาเลเซียห้ามนำเข้า

จากประชาชาติธุรกิจ

วันที่ 5 มีนาคม นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า จากกรณีปัญหาประเทศจีนและมาเลเซียห้ามนำเข้ารังนกที่มีปริมาณสารไนไตรท์เกิน กว่ามาตรฐานที่กำหนดนั้น ได้เร่งรัดใช้ข้อมูลผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการรังนกไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากที่ประเทศจีนประกาศห้ามนำเข้ารังนกจากประเทศต่าง ๆ จากการตรวจพบสารปนเปื้อนไนไตรท์ที่เป็นสารพิษต่อร่างกายในรังนกสีแดง โดยประเทศจีนได้กำหนดมาตรฐานชั่วคราวของปริมาณไนไตรท์ที่พบในรังนกไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และประเทศมาเลเซียกำหนดให้รังนกที่ไม่ผ่านการทำความสะอาดมีปริมาณไนไตรท์ไม่ เกิน 70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และกำหนดให้รังนกที่ผ่านการทำความสะอาดมีปริมาณไนไตรท์ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับประเทศไทยยังไม่มีเกณฑ์กำหนดนั้นในเบื้องต้น วศ.ได้สุ่มเก็บตัวอย่างรังนกและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มรังนก เพื่อตรวจสอบปริมาณไนไตรท์

 

นายวรวัจน์กล่าวว่า ผลการตรวจสอบ พบว่ารังนกบ้านจากจังหวัดทางภาคใต้ที่ไม่ได้ผ่านการทำความสะอาด จำนวน 3 ตัวอย่าง มีปริมาณไนไตรท์ในช่วง 7.20-29.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รังนกสีแดงหรือรังนกเลือดที่ไม่ได้ผ่านการทำความสะอาดจำนวน 1 ตัวอย่าง มีปริมาณไนไตรท์ 42.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มรังนก จำนวน 3 ตัวอย่าง มีปริมาณไนไตรท์ในช่วง 1.14-4.85 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

 

"เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในรังนกไทยให้กับประเทศผู้นำเข้ารังนก วศ.ได้ดำเนินการเชิงรุกโดยจะจัดประชุมพบปะผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปในภาคใต้ เพื่อระดมความคิดเห็นประเด็นความร่วมมือในการส่งเสริมคุณภาพสินค้าเพื่อคุ้ม ครองผู้บริโภค ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในจังหวัดภาคใต้ ในช่วงวันที่ 18-19 มีนาคม และจะใช้เวทีนี้ชี้แจงข้อเท็จจริงที่เป็นผลจากการสุ่มตรวจสอบตัวอย่างรังนก เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลควบคุมคุณภาพสินค้าให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และได้รับการรับรองมาตรฐานเพื่อการส่งออกต่อไป" รัฐมนตรี วท.กล่าว

 

 

 

 

 

ที่มา : มติชนออนไลน์


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view