สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รมว.พลังงานเล็งประกาศภาวะฉุกเฉินเดือนเม.ย.นี้

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

รมว.พลังงาน เตรียมประกาศภาวะฉุกเฉิน ขอ ปชช.ร่วมประหยัดพลังงานเดือน เม.ย. รับมือพม่าหยุดจ่ายก๊าช 4 เม.ย. หวั่นไฟฟ้าดับ

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” ถึงสถานการณ์วิกฤตพลังงานในประเทศว่า พลังงานไฟฟ้าของไทยมาจากก๊าซธรรมชาติถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคาดว่าจะเกิดปัญหาในเร็วๆ นี้ เนื่องจากปัญหาท่อก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซียขาด เนื่องจากถูกสมอเรือ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2555 ทำให้ส่งก๊าซไม่ได้ และก๊าซขาดไปถึง 270 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแท่นขุดเจาะที่ประเทศพม่ามีการทรุดตัวลงทำให้ต้องปิดเพื่อซ่อมแซม ซึ่งการผลิตก๊าซที่พม่าถือเป็นแหล่งพลังงานใหญ่ของประเทศ เพราะไทยซื้อจากพม่าถึง 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เมื่อรวม 2แหล่งนี้ตกประมาณ 1,370 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

หากก๊าซทั้งหมดหายไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความต้องการไฟฟ้าของประเทศได้ โดยเฉพาะเมื่อเข้าเดือนเม.ย.ที่เข้าสู่ฤดูร้อนจะมีการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น พลังานไฟฟ้าก็จะหายไป 4,100 เมกะวัตต์ ซึ่งการหายไปของพลังงานไฟฟ้านี้ ทางกระทรวงก็จะแก้ไขโดยเปิดโรงไฟฟ้าเก่าที่เลิกใช้แล้วมาผลิตไฟฟ้าใหม่เพื่อรองรับ แต่ก็คิดว่าไม่เพียงพอ

“กระทรวงพลังงานเตรียมประกาศภาวะฉุกเฉินในเดือน เม.ย.เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชน หน่วยงาน ให้ประหยัดการใช้พลังงานในช่วงดังกล่าว ในสัปดาห์หน้าจะประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมแผนรับมือวิกฤต ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 4 เม.ย.ที่พม่าหยุดซ่อมบำรุงท่อก๊าซ ซึ่งจะทำให้ก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศหายจากระบบ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต ขณะเดียวกัน กระทรวงพลังงานจะเร่งเจรจากับพม่าให้เลื่อนกำหนดการซ่อมบำรุงท่อก๊าซออกไปเป็นวันที่ 7 - 8 เม.ย.นี้ เพราะเป็นช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยลงได้ ”นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า สถานการณ์เช่นนี้ ประเทศไทยต้องพึงสังวร เพราะเราอาศัยก๊าซธรรมชาติในการผลิตพลังงานมาก ต่อไปอีก 9 ปีข้างหน้าสัมปทานในอ่าวไทยก็จะหมดอายุสัปทาน อีกทั้งยังมีกลุ่มเอ็นจีโอที่ต่อต้านไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มทั้งโรงไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ก๊าซ ถ่านหิน ดังนั้นทุกคนต้องตัดสินใจเลือกทางไหนกับอนาคตของประเทศ ส่วนกระทรวงพลังงานก็จะเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนว่ามีความจำเป็นต้องสร้างเพื่อให้ประเทศเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ และสร้างความมั่นคงทางพลังงงาน

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว่า แม้ว่าจะมีกลุ่มเอ็นจีโอออกมาต่อต้านก็ตาม โดยเกรงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นก็เป็นเรื่องที่ดี แต่กลุ่มเอ็นจีโอต้องคำนึงถึงจริยธรรมคุณธรรมด้วย เพราะการต่อต้านต้องอยู่ในกรอบด้วย เพราะการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใดๆ ต้องทำตามมาตรฐานและเงื่อนไขทั่วโลก ทั้งเรื่องฝุ่น ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีการตรวจสอบอยู่แล้ว ถ้าหากทำผ่านเกณฑ์มาตรฐานก็ขอให้ยอมรับ แต่ในทางตรงกันข้าม ไม่ยอมรับแล้วก็บิดเบือนข้อเท็จจริงทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ทั้งที่บางคนก็ไม่ใช่คนในพื้นที่ ทั้งการสร้างแหล่งพลังงานไม่ใช่ได้เพียงพลังงานเท่านั้นจะได้ช่วยเหลือด้านอื่นๆด้วย เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า นอกจากจะได้พลังงานงานแล้วยังสามารถป้องกันน้ำท่วมได้อีก

อย่างไรก็ตามกระทรวงพลังงานได้มีการเตรียมแผนรณรงค์ทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้อง นอกจากนี้กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการผลิตพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ก็ใช้ในในวงจำกัด รวมทั้งส่งเสริมการทำพลังงานชีวภาพ ล่าสุดผลิตก๊าซ ซีดีจี ที่ผลิตจากมูลสัตว์ จะเป็นพลังงานที่น่าสนใจและราคาถูก


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view