สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คอดูดาวชมดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก

จาก โพสต์ทูเดย์

คอดูดาวชมดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก

ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 เฉียดใกล้โลกมากที่สุดเมื่อคืนนี้ ด้านสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ยืนยันไม่เกี่ยวข้องกับอุกกาบาตตกที่รัสเซีย

เมื่อเวลาประมาณ 02.24 น. ของวันที่ 16  กุมภาพันธ์ 2013 เป็นช่วงที่ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 จะโคจรเข้ามาเฉียดโลกมากที่สุด จะอยู่ห่างประมาณ 27,700 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวโลก ซึ่งดาวเคราะน้อยดวงนี้ผ่านเข้าในแหวนวงโคจรของดาวเทียมสื่อสาร รวมทั้งสถานีอวกาศนานาชาติ ที่โคจรห่างจากพื้นโลกประมาณ 35,800 กิโลเมตร เหนือเส้นศูนย์สูตร โดยดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วที่ความเร็วประมาณ 17,400 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 7.8 กิโลเมตรต่อวินาที

ดาวเคราะห์น้อยมีขนาดเท่ากับครึ่งสนามฟุตบอล ดวงนี้ ถือว่าโคจรใกล้โลกมากที่สุด หรือใกล้โลกมากกว่าดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกเสียอีก และยังได้ชื่อว่าเป็นวัตถุบนท้องฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดที่โคจรเข้าใกล้โลกมาก ขนาดนี้ แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อโลกต่อประการใด และไม่เกี่ยวข้องกับอุกกาบาตที่ตกใส่ภาคกลางของรัสเซียเมื่อวานนี้ สำหรับดาวเคราะห์น้อยจะโคจรเข้าใกล้โลกอีกในครั้งต่อไป คือ ปี 2589 หรือ 33 ปีข้างหน้า

ด้านนายศรัณย์  โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่ง ชาติ(องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า เหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 เข้าใกล้โลกมากที่สุด ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อุกกาบาตเล็กที่ตกที่รัสเซีย เพราะอุกกาบาตโคจรจากทางทิศเหนือไปทิศใต้ ส่วนดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 โคจรจากทิศใต้ไปทิศเหนือ และมีระยะห่างของสองวัตถุหลายแสนกิโลเมตร

สำหรับ เหตุอุกกาบาตตกที่รัสเซียนั้น จากการดูคลิปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่าเป็นอุกกาบาตขนาดเล็กที่หลุดเข้ามาในวงโคจรของโลก และระเบิดในบรรยากาศโลกทำให้เห็นเป็นแสงสว่างวาบ อุกกาบาตขนาดเล็กนี้เข้ามาสู่บรรยากาศด้วยความเร็วที่มากกว่าเสียง ทำให้สังเกตเห็นภาพแสงขาวๆ พุ่งพาดผ่านท้องฟ้าก่อนที่จะมีเสียง และคลื่นกระแทกตามมา และเนื่องจากอุกกาบาตชิ้นนี้ระเบิดในบรรยากาศ จึงยังไม่พบรายงานว่ามีผู้พบเห็นเศษชิ้นส่วนของอุกกาบาตนี้ ทั้งนี้ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าวัตถุนี้คืออะไรจนกว่าจะนำชิ้นส่วนมา ศึกษาวิเคราะห์หาองค์ประกอบและที่มาของวัตถุดังกล่าว

"ตามปกติแล้วจะมีอุกกาบาตขนาดเล็กหลุดเข้ามาในบรรยากาศของโลกทุกๆ วัน โดยทั่วไปไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ แต่ในครั้งนี้วัตถุนี้อาจมีขนาดใหญ่กว่าและมีมวลรวมหลายตัน เมื่อเข้ามาในบรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูง จึงเกิดการระเบิดเหนือพื้นโลก 20-30 กม. เห็นแสงสว่างวาบและมีเสียงระเบิดตามมาเป็นระลอกในภายหลัง และถึงแม้ว่าจะมีโครงการเฝ้าระวังวัตถุใกล้โลกของ NASA และหลายหน่วยงาน ที่คอยติดตามวัตถุในลักษณะเช่นนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถตรวจจับวัตถุที่มีขนาดเล็กๆ ที่อาจมีวงโคจรที่ผ่านเข้าใกล้โลกได้ทั้งหมด เนื่องจากมีความสว่างน้อย และมีจำนวนมากนับล้านวัตถุ" นายศรัณย์ กล่าว


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view