สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นักวิชาการห่วงแนวปะการังเกาะราชาไม่ฟื้น

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

นักวิชาการห่วงแนวปะการังเกาะราชาไม่ฟื้น หลังเจอผลกระทบจากการท่องเที่ยวง เสนอทำโซนนิ่งแพลน ป้องกันปัญหาระยะยาว

นายนิพนธ์ พงศ์สุวรรณ นักวิชาการชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน กล่าวถึงปัญหาบริเวณชายฝั่งทะเลของเกาะราชา ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ว่า ในอดีตที่ผ่านมา เกาะราชา จะเป็นแหล่งที่น้ำทะเลมีคุณภาพดีมาก แต่ในระยะหลังๆ เมื่อมีการเจริญเติบโตด้านการท่องเที่ยว และมีกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยมนุษย์ในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เช่น การดำน้ำดูปะการัง การก่อสร้างบนฝั่ง การนำเรือเข้าไปและกระแทกกับแนวปะการัง เป็นต้น และเมื่อมีการสะสมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาปะการังฟอกขาวในวงกว้าง ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมตามมา แต่ยังมีโอกาสที่จะฟื้นตามธรรมชาติได้ หากลดปริมาณกิจกรรมแต่ละจุดจากมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อแนวปะการังลง

"ขณะนี้แนวโน้มของปัญหาเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งการแก้ปัญหาจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และจากการประชุมหารือของคณะทำงานบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งเกาะราชา ยังพบอีกว่านอกจากปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลจากกิจกรรมท่องเที่ยวที่ผ่านมา ล่าสุดมีกิจกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีก 1 ชนิด คือ ไทร์ไดส์ นอกจากเหนือจากการดำผิวน้ำหรือสน็อกเกิ้ล" นายนิพนธ์ กล่าว

นายปิ่นศักดิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กล่าวเสริมว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากปัจจจุบันคนเข้าไปใช้ทรัพยากรเพิ่มและหลากหลายมากขึ้น เช่น การดำน้ำในอดีตมีเฉพาะการดำผิวน้ำหรือสน็อกเกิ้ล ต่อมาก็มีการดำน้ำลึกหรือสคูบ้า ล่าสุด คือ ไทร์ไดส์ ซึ่งเป็นการทดลองดำน้ำ โดยแต่งตัวคล้ายกับสคูบ้า และมีไดฟ์มาสเตอร์พาลงไป

นายปิ่นศักดิ์ กล่าวด้วยว่า จากการศึกษาผลกระทบของกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ บริเวณเกาะราชา ต่อทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ซึ่งพบว่ามีผลกระทบชัดเจน ดังนั้นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การสร้างมาตรการในการจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เบื้องต้นได้มีการเสนอโครงการกำหนดมาตรการเชิงพื้นที่ ว่าพื้นที่ไหนสามารถทำอะไรได้มากน้อยเพียงใด หรือโซนนิ่งแพลน ต่อคณะทำงานบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งเกาะราชา เพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view