สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชาวนาพิษณุโลกลงทุนเจาะบ่อบาดาลทำนาปรัง

จาก โพสต์ทูเดย์

ธุรกิจขุดเจาะบ่อบาดาลเฟื่องสุดขีดชาวนาพิษณุโลกนอกชลประทานจองคิวนานข้ามเดือนเจาะบ่อบาดาลทำนาปรัง

นายวีรศักดิ์  รอบไทสง อยู่บ้านเลขที่  96  หมู่ 6  ต.ชมพู อ.เนินมะปราง  จ.พิษณุโลก  เจ้าของธุรกิจเจาะบ่อบาดาล  เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปี 2556  เป็นต้นมาชาวนาในพื้นที่และละแวกใกล้เคียงจำนวนมาก  ติดต่อให้ไปเจาะบ่อบาดาลเพื่อสูบน้ำใต้ดินหล่อเลี้ยงต้นข้าวนาปรังซึ่งกำลัง ขาดแคลนน้ำหลายพันไร่เนื่องจากอยู่นอกเขตชลประทาน ทำให้ทุกวันนี้ขุดเจาะบ่อบาดาลไม่ทัน หากต้องการจะเจาะบ่อบาดาลระยะนี้ต้องรอคิวนานประมาณ 1 เดือน ส่วนราคาค่าจ้างขึ้นอยู่กับความยากง่าย  เพราะบางแห่ง ต้องขุดเจาะลึกลงไปใต้ดินเกือบ 100 เมตร  ใช้เวลาหลายวันถึงจะเจอน้ำ   

นายฉลอง  คันอุดร   อยู่บ้านเลขที่ 99  หมู่ 4  บ้านซำรัง  ต.ชมพู  อ.เนินมะปราง  จ.พิษณุโลก  กล่าวว่า ได้ตัดสินใจลงทุนว่าจ้างเจาะบ่อบาดาลในราคาค่าจ้าง 3 หมื่นบาท เนื่องจากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาฝนไม่ตกตามฤดูกาลซ้ำปริมาณน้ำฝนมีน้อยไม่เพียงพอต่อการทำนาหวัง ว่าเมื่อขุดเจาะน้ำบาดาลแล้ว ก็จะสามารถทำนาได้มากกว่าปีละ 1 ครั้ง   ส่วนที่มีหน่วยงานออกมารณรงค์ให้งดทำนาในช่วงฤดูแล้ง แล้วให้ไปปลูกพืชอย่างอื่นทดแทนนั้น การปลูกพืชชนิดอื่นๆไม่มีความรู้ ไม่ถนัด ปลูกแล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปขายที่ไหน  ราคาเป็นอย่างไรจึงขอเลือกที่จะทำนาข้าวอย่างที่ถนัด แม้จะว่าจะมีความเสี่ยงจากการขาดน้ำทำนาก็ตาม

นายยงศักดิ์  ประภาพันธ์ศักดิ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ขณะนี้อ่างกักเก็บน้ำ 2 แห่ง คือ ห้วยจระเข้มาก และอ่างเก็บน้ำห้วยสวายแหล่งผลิตน้ำประปาให้กับประชาชนในพื้นที่เริ่มแห้ง ขอดเข้าขั้นวิกฤตเหลือกักเก็บน้ำไม่ถึง 50% แต่ก็ยังมีเกษตรกรที่อยู่ในเขตชลประทานหลายพื้นที่ มีการฝ่าฝืนปลูกข้าวนาปรัง และบางรายมีการลักลอบสูบน้ำจากอ่างมาใส่นาข้าวของตัวเอง ถึงแม้จะมีการประกาศให้งดปลูกแล้วก็ตาม ซึ่งกรณีดังกล่าวก็ได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจกับชาว บ้านกลุ่มดังกล่าวแล้วเพื่อป้องกันปัญหาน้ำดิบไม่เพียงพอผลิตประปาในฤดูแล้ง นี้ ส่วนพื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทานก็ได้ประสานไปยังทางสำนักงานเกษตร จังหวัด  อำเภอ  และท้องถิ่น ให้ช่วยเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรให้งดปลูกข้าวนาปรังหรือพืชที่ ใช้น้ำมากในช่วงนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้งนี้ อีกด้วย

ด้านนายกาญน์  หมวกกุล  ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำอูน ฐานะ เลขานุการคณะกรรมการจัดการชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำอูน กล่าวว่า ได้ประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ใช้น้ำชลประทานน้ำอูน จากผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังของเกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกข้าวนาปรังเกินเป้า หมายที่ตกลงไว้จากที่กำหนดพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 25,554  ไร่ แยกเป็นข้าวนาปรัง จำนวน 21,500 ไร่,พืชไร่-พืชผัก จำนวน 4,054 ไร่ หากเกิดผลเสียหายต่อผลผลิตข้าวของเกษตรกรต้องรับผิดชอบเอง และมาสามารถเรียกร้องค่าชดเชยจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้เสียหาย 

นายกาญน์  หมวกกุล  ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำอูน กล่าวว่า จากการคาดการณ์น้ำในเขื่อนน้ำอูนถึงวันที่ 1 เม.ย.นี้ ปริมาณน้ำที่ส่งเพื่อการประปา ประมาณ 0.40 ล้านลูกบาศก์เมตร ,ปริมาณน้ำระเหยและรั่วซึมจากอ่างเก็บน้ำ ประมาณ 8.14 ล้านลูกบาศก์เมตรและปริมาณน้ำที่ส่งเพื่อการชลประทาน 61.92 ล้านลูกบาศก์เมตร ดังนั้น ณ วันที่ 1 เม.ย. 2556 คาดว่าจะคงเหลือน้ำในอ่างฯ ประมาณ 128 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 24 .19 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกในฤดูนาปี 2556 อย่างแน่นอน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view