สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เป็นเรื่อง! ผลผลิตเบียร์ในเยอรมนีลดต่ำสุดในรอบมากกว่า 20 ปี ทำสมญานาม เมืองเบียร์ สั่นคลอน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยตัวเลขอันน่าตกใจเมื่อวันพุธ (30) ที่ผ่านมา โดยระบุว่ายอดการผลิต “เบียร์” ของประเทศลดต่ำลงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบมากกว่า 20 ปี จนอาจส่งผลกระทบต่อสมญานามของประเทศที่ถูกขนานนามว่าเป็น “เมืองเบียร์” มาช้านาน
       
       สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1953 และมีฐานอยู่ที่เมืองวีสบาเดน เปิดเผยข้อมูลล่าสุดที่ระบุว่า ปริมาณการผลิตเบียร์ของเยอรมนีในปี 2012 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปมีทั้งสิ้น 2.55 พันล้านแกลลอน ซึ่งถือเป็นปริมาณการผลิตเบียร์ที่ต่ำที่สุดของประเทศนับตั้งแต่ ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา ซึ่งเท่ากับว่าปริมาณการผลิตเบียร์ของเยอรมนีในปีที่แล้วมีน้อยที่สุดนับ ตั้งแต่การรวมประเทศเยอรมนีตะวันออกและเยอรมนีตะวันตกเข้าด้วยกัน หลังการพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน
       
       “นี่คือระดับการผลิตเบียร์ที่ต่ำที่สุดของเยอรมนีนับตั้งแต่การรวมชาติ” คำแถลงของ Destatis ระบุ
       
       นอกจากนั้น ข้อมูลของ Destatis ยังระบุว่าปริมาณเบียร์ “เมด อิน เยอรมนี” ที่ถูกผลิตออกสู่ท้องตลาดในปีที่ผ่านมา ยังน้อยกว่าปริมาณเบียร์ในปี 2011 เกือบ 2 เปอร์เซ็นต์ และเกือบ 84 เปอร์เซ็นต์ของเบียร์ที่ผลิตได้ในเยอรมนีในปี 2012 ถูกบริโภคภายในประเทศ
       
       ด้านโรเดริช เอเกเลอร์ ประธานคนปัจจุบันของ Destatis ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยเยอรมนี ออกมาให้ความเห็นว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปริมาณการผลิตเบียร์ของเยอรมนีลดต่ำ สุดในรอบมากกว่า 2 ทศวรรษน่าจะมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาของเยอรมนี และปัญหาวิกฤตหนี้สินในประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มยูโรโซน ที่ทำให้กำลังซื้อของบรรดานักดื่มทั่วยุโรปลดน้อยถอยลง รวมถึงการแข่งขันจากผู้ผลิตเบียร์รายใหม่ๆ โดยเฉพาะจากประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก ที่เข้ามาแย่งชิงฐานลูกค้าในยุโรปมากขึ้น
       
       ทั้งนี้ แต่ละปีปริมาณเบียร์ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกผลิตออกสู่ท้องตลาดมีมากกว่า 35 พันล้านแกลลอนต่อปี ก่อให้เกิดรายได้ในธุรกิจน้ำเมาชนิดนี้ไม่ต่ำกว่าปีละ 294.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8.8 ล้านล้านบาท)


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view