สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ร้องแก้ปัญหารุกปางควายทำสวนยาง

จาก โพสต์ทูเดย์

ร้องแก้ปัญหารุกปางควายทำสวนยาง

เวียงหนองหล่มวิกฤต ถูกรุกทำสวนยาง นาปรัง หญ้าเลี้ยงควายหาย หวั่นควายหมดหนอง ชาวบ้านโอดหน่วยงานท้องถิ่นไม่ดูแล

โครงการสุขภาวะชุมชนคนชายขอบ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำสื่อมวลชนลงพื้นที่สำรวจวิถีชีวิตวัฒนธรรมคนเวียงหนองหล่ม ต.จันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย โดยในพื้นที่ดังกล่าวเดิมเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเลี้ยงควายในพื้นที่หนอง โดยรวมกลุ่มแต่ละชุมชนตั้งเป็นปางควาย รวมมีปางควายมากกว่า 100 ปาง แต่ละปางมีควายประมาณ 450 – 490 ตัว พื้นที่ที่ใช้เลี้ยงควายในบริเวณหนองเป็นพื้นที่สาธารณะซึ่งมีประมาณ 3 หมื่นไร่ แต่ปัจจุบันเหลือพื้นที่เพียง 1.5 หมื่นไร่ เนื่องจากถูกบุกรุก รวมทั้งหน่วยงานท้องถิ่นเปิดให้เช่าพื้นที่เพื่อทำสวนยางส่งผลกระทบต่อระบบ นิเวศ ทำให้สูญเสียพื้นที่ซึ่งเดิมมีหญ้าที่เป็นอาหารของควายจำนวนมาก

นายดุสิต จิตสุข ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำกก กล่าวว่า ควายที่เวียงหนองหล่มมีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย รองลงมาจากควายน้ำในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง โดยก่อนหน้านี้ประมาณ 3 ปี มีควายมากถึง 6,000 ตัว ถูกเลี้ยงอย่างอิสระในพื้นที่เวียงหนองหล่ม แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 1,300 ตัวเท่านั้น โดยชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายได้จากการขายขี้ควายเป็นหลัก และขายพ่อแม่พันธุ์เป็นรายได้เสริม

“แต่ปัจจุบันระบบนิเวศภายในพื้นที่เปลี่ยนไปอย่างมากมีการบุกรุกจากคนภาย นอกเข้ามาทำสวนยาง ไร่สับปะรด และทำนาปรัง ทำให้พื้นที่เดิมซึ่งมีหญ้าซึ่งเป็นอาหารของควายหายไปมากกว่าครึ่งหนึ่งควาย จึงไม่มีอาหารกิน เจ้าของควายจึงต้องขายควายให้กับนายทุน และเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น เช่น รับจ้าง หรือเข้ามาทำงานในเมืองแทน” นายดุสิต กล่าว

นายดุสิต กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ดั้งเดิมของคนในพื้นที่ดังกล่าวกำลังจะหายไป เพราะการบริหารจัดการของทั้งหน่วยงานท้องถิ่น และภาครัฐ ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับอาชีพดั้งเดิมของคนในพื้นที่ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ในอนาคตปางควายในเวียงหนองหล่มจะค่อยๆหายไปในที่สุด

“ที่สำคัญเวียงหนองหล่มได้รับการเชิดชูให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความ สำคัญในระดับนานาชาติ (แรมซ่าไซด์) เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิดทั้งนกน้ำ และปลานานาพันธุ์ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมหน่วยงานท้องถิ่นจึงไม่ค่อยให้ความสนใจในการดูแลปล่อย ให้มีการบุกรุกเข้ามาพื้นที่ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะการทำสวนยางหรือการทำนาปรัง” นายดุสิต กล่าว


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view