สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พื้นที่เกษตรอ่วม!สุรินทร์แล้งหนัก

จาก โพสต์ทูเดย์

พื้นที่เกษตรจังหวัดสุรินทร์ทั้งข้าวนาปรัง-สวนยางพาราเผชิญปัญหาแล้งขาดแคลนน้ำทำการเกษตร

เมื่อวันที่ 22 ม.ค. สถานการณ์ภัยแล้ง ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ พบว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและฝายชลประทานขนาดกลางในเขต จ.สุรินทร์ ทั้ง 18 แห่ง มีปริมาณน้ำที่มีอยู่ปัจจุบันวัดได้กว่า 99 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 68% ของความจุทั้งหมด 145 ล้าน ลบ.ม.

ขณะที่ช่วงนี้ เกษตรกรได้เพาะปลูกพืชฤดูแล้งแล้วกว่า 80,894 ไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรังมากที่สุดกว่า 56,000 ไร่ ซึ่งโครงการชลประทานสุรินทร์ ได้จัดสรรน้ำ ให้แก่เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ในเขตชลประทาน จำนวน 2.55 ล้าน ลบ.ม. เป็นพื้นที่เพาะปลูก 8,231 ไร่ คือ ข้าวนาปรัง 6,215 ไร่ ,พืชไร่ /พืชผัก 443 ไร่ ,บ่อปลา/บ่อกุ้ง 1,573 ไร่

ด้าน ปริมาณน้ำในแม่น้ำ ที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำมูล และ ลำน้ำชีน้อย ขณะนี้ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยมากอาจไม่เพียงพอในการจัดสรรน้ำเพื่อปลูกพืชฤดู แล้งปีนี้ หากเกษตรกรปลูกข้าวนาปรัง อาจได้รับความเสียหายได้

ขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ที่บ้านแสตง(สระ-แตง) ต.แสลงพันธ์ (สระ-แลง-พัน) อ.เมือง ได้รับผลกระทบ อย่างหนัก เพราะขาดแคลนน้ำ ที่จำมาเลี้ยงต้นยางพารา ให้ซุ่มชื้น โดยประสบปัญหาภัยแล้ง มาตั้งแต่เดือนต.ค. 2555 จนถึงขณะนี้เป็นเวลากว่า 4 เดือน ทำให้ต้นยางพาราเริ่มแห้งตายเป็นจำนวนมาก แม้เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จะพยายาม สูบน้ำจากพื้นที่ใกล้เคียงมาใส่ต้นยางพาราแล้วก็ตาม แต่ก็ประสบปัญหา น้ำในบ่อน้ำใกล้เคียงแห้งขอด

นายสุทัศน์ ระวังชื่อ เกษตรกรผุ้ปลุกยางพาราบ้านแสตง บอกว่า ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงมาตั้งแต่ ปลายปี 2555 ทำให้แหล่งน้ำใกล้เคียง เก็บกักน้ำได้น้อย และได้สูบน้ำ มาใส่ต้นยางพารา จนขณะนี้แหล่งน้ำแห้งขอด ไม่มีน้ำจะนำมาให้ต้นยางพารา ได้อีก จึงว่าจ้าง ช่างเจาะน้ำบาดาล ด้วยเงิน 25,000 บาท มาขุดเจาะน้ำบาดาล เพื่อนำน้ำบาดาล มาเลี้ยงต้นยางพารา ไม่ให้แห้งตายไปมากกว่านี้ และยังจะต้องลงทุนวางท่อพีวีชี เพื่อนำน้ำไปเลี้ยงต้นยางพาราให้ได้ทุกต้น เพื่อไม่ให้ต้นยางพารา ที่กำลังเติบโต ไม่ให้แห้งตายไปมากกว่านี้


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view