สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เทคโนโลยีใหม่... เลี้ยงปลาในบ่อกุ้ง แบบ Co-Culture รู้ค่าทรัพยากรธรรมชาติ - เกษตรทั่วไทย

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

วันนี้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมความสำเร็จในการเลี้ยงปลาของ นายเกรียงศักดิ์ พุทธพรทิพย์ เกษตรกรเจ้าของเกรียงศักดิ์ฟาร์ม ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งมีบ่อเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง 3 บ่อ จำนวน 20 กระชังบนเนื้อที่ทั้งหมด 20 ไร่ โดยนายเกรียงศักดิ์เลี้ยงปลาในระบบโปรไบโอติก และใช้หลักการเลี้ยงแบบ Co-Culture คือ ปนกันไปทั้งปลา กุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม  แต่ที่ฟาร์มนี้ปล่อยกุ้งก้ามกรามในบ่อขนาด 4 ไร่ถึง 10,500 ตัวหรือเฉลี่ย 2,625 ตัวต่อไร่ ในขณะที่กุ้งขาว 200,000 ตัวต่อบ่อหรือเฉลี่ย 50,000 ตัวต่อไร่ ในขณะที่มีปลาทับทิมบ่อละ 4,000 ตัว สามารถส่งปลาออกตลาดได้เดือนละ 8 ตัน ทำรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 5.6 แสนบาท แล้วยังได้จากกุ้งที่ทยอยจับขึ้นมาขายอีกเดือนละ 1 แสนกว่าบาท

นายเกรียงศักดิ์ เล่าว่า ก่อนจะมาเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังนี้ เคยเปิดร้านถ่ายรูปมาก่อน แต่ด้วยความรักอาชีพเกษตร จึงหันมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำโดยใช้ที่ดินของตนเอง เริ่มมาตั้งแต่ปี 2540 ที่กำลังนิยมกันมาก ผลผลิตก็เป็นที่น่าพอใจ กระทั่งปี 2554 จึงเปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งขาว ซึ่งมีกำไรดีมาตลอด จนกระทั่งได้คนมาแนะนำให้เลี้ยงรวมกันทั้งกุ้งและปลา และได้พาไปดูความสำเร็จของเพื่อนเกษตรกรที่ทำมาก่อนก็เห็นว่าไปได้ดี ทำให้มีความมั่นใจก็เลยเริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่ต้นปีโดยเริ่ม 1 บ่อก่อน จนตอนนี้มี 3 บ่อแล้ว โดยมองการเลี้ยงในระบบนี้จะเป็นผลดีต่อการเลี้ยงสัตว์ทั้ง 3 ประเภท เนื่องจากการเลี้ยงปลาต้องมีการตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจน ซึ่งจะทำให้คุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาและกุ้งดีขึ้น เท่ากับว่าเป็นการช่วยส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งให้มีประสิทธิภาพตามไปด้วย และยังถือเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า จากการใช้น้ำและพื้นที่การเลี้ยงอย่างก่อประโยชน์สูงสุด

“สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจจะเลี้ยงปลาทับทิม ควรจะศึกษาก่อนว่าจะเลี้ยงแบบไหน ควรที่จะปรึกษาบริษัทที่เป็นมืออาชีพ สามารถที่จะให้ความรู้กับเราได้ เพราะปัจจุบันนี้สภาพแวดล้อมต่าง ๆ เปลี่ยนไปมาก การเลี้ยงปลาทับทิมจึงต้องอาศัยเทคโนโลยีและความรู้เพิ่มมากขึ้นจึงจะมี โอกาสประสบความสำเร็จในระยะยาว สำหรับผมแล้ว ผมมั่นใจว่า ซีพีเอฟเขามีความพร้อมและเป็นมืออาชีพในเรื่องปลาทับทิม เพราะมีทั้งฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาที่มีมาตรฐาน สามารถผลิตลูกปลาทับทิมที่โตเร็ว ต้านทานโรค มีฟาร์มวิจัยทั้งในเรื่องของการเลี้ยงและด้านสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับปลา ทับทิมโดยเฉพาะ มีนักวิชาการที่คอยให้คำปรึกษาเราได้ตลอดเวลา สำหรับผมแล้ว บริษัท ซีพีเอฟ เป็นคำตอบสุดท้ายของเกษตรกรมืออาชีพครับ” นายเกรียงศักดิ์ ฝากถึงเพื่อนเกษตรกร

การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังในบ่อดินนี้ เกษตรกรจะใช้วิธีขุดบ่อให้ลึก มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 2 เมตรและก้นกระชังจะต้องสูงกว่าพื้นดินไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร  ซึ่งจะทำให้ปลาไม่สัมผัสกับดินโคลนจนเกิดกลิ่นติดเนื้อปลา  ในแต่ละบ่อจะปล่อยปลา 3 รุ่น ระยะห่างของการปล่อยแต่ละรุ่นคือ 3 เดือน เพื่อที่จะจับปลาขายต่อเนื่องตลอดปี ส่วนกุ้งนั้นจะใช้วิธีดักขึ้นมาขายไปเรื่อย ๆ จะไม่จับขายทีเดียวหมดบ่อ เพราะต้องให้กุ้งทำหน้าที่เก็บเศษอาหาร ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย

ด้วยวิธีการเลี้ยงแบบนี้จะทำให้การใช้ยารักษาโรคลดลง จึงทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า ปลาและกุ้งที่ได้จากการเลี้ยงในกระชังในบ่อดิน นอกจากจะไม่มีกลิ่นโคลนติดจนไม่น่ารับประทานแล้ว ยังปลอดจากสารตกค้างด้วย


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view