สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พิชัย ถิ่นสันติสุข ชี้อนาคต-ข้อจำกัดพลังงานทดแทนไทย

จากประชาชาติธุรกิจ

ปัจจุบันนักธุรกิจหลายคนให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจ "พลังงานทดแทน" แต่อุปสรรคการลงทุนหลักคือ นโยบายด้านพลังงานของหน่วยงานภาครัฐ "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสสัมภาษณ์ "พิชัย ถิ่นสันติสุข" ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ถึงทิศทาง และข้อเสนอแนะที่จะให้ภาครัฐส่งเสริม ผลักดัน เพื่อให้ธุรกิจด้านนี้เติบโตทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกพลังงานในอนาคต

- ภาพรวมพลังงานทดแทน

ธุรกิจ พลังงานทดแทนจะถูกแรงดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ นักลงทุนพุ่งเป้ามาที่ประเทศไทย เมื่อประเมินการลงทุนด้านพลังงานทดแทนคร่าว ๆ มีพื้นที่สร้างมูลค่า (Value) เพื่อพัฒนาโครงการโซลาร์เซลล์ได้เต็มที่เพียง 500,000 ล้านบาทเท่านั้น ในขณะที่หน่วยงานที่ดูแลด้านพลังงานกลับพยากรณ์ว่า ยังสามารถลงทุนได้สูงถึง 1 ล้านล้านบาท ในช่วงที่ผ่านมามีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาหารือเรื่องการลงทุนพลังงานทดแทนใน ประเทศไทย 2 ราย และต้องการลงทุนในระดับประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อโครงการ และสนใจในพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด และขณะนี้ต้นทุนการผลิตลดลงมาอยู่ที่ 1 เมกะวัตต์ ลงทุนที่ประมาณ 100 ล้านบาท


- ทำไมนักธุรกิจสนใจลงทุนพลังงานจากแสงอาทิตย์

เพราะ โซลาร์เซลล์มีจุดแข็งในเชิงธุรกิจหลายข้อประการ 1) นักลงทุนเชื่อมั่นใน 3 กิจการไฟฟ้าของประเทศไทย คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพราะหากใครมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับทั้ง 3 หน่วยงานนี้เท่ากับได้ทำสัญญากับรัฐบาล 2) เป็นธุรกิจที่ซื้อง่ายขายคล่อง โดยเฉพาะในปัจจุบันมีการขายใบอนุญาตในตลาดค่อนข้างมาก แถมสู้ราคาด้วย

มี นักลงทุนบางคนใช้วิธีการคุยผ่านสถานทูตไทยเลยว่า ต้องการซื้อใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดย 1 เมกะวัตต์ ยอมจ่ายสูงถึง 115 ล้านบาท โดยเงินจำนวนนี้แบ่งออกมา 15 ล้านบาทเป็นค่านายหน้าอย่างเดียว หากนำมาคำนวณที่ 2 เมกะวัตต์จะใช้เงินประมาณ 250 ล้านบาท จะมีรายได้ต่อปีอยู่ที่ 15-18 ล้านบาท และจะคืนทุนได้ภายใน 10 ปี ตอนนี้มีการไล่ซื้อโครงการโซลาร์เซลล์ในประเทศกันซี้ซั้วมาก หากต่างชาติเข้ามาในแบบนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ก็ดีไป แต่ผมกังวลตรงที่ว่า หากมีการนำแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตค้างเอาไว้หลายปี แผงมักจะเสื่อมเร็ว จะกลายเป็นว่านำแผงโซลาร์เซลล์เหล่านั้นมาเป็นขยะในประเทศไทย

- พลังงานทดแทนอื่น ๆ

พลังงาน ลมต้องใช้เวลาในการทดสอบรวม 2 ปี ซึ่งท้ายสุดอาจไม่ได้ลงทุน เพราะไม่คุ้ม ส่วนพลังงานจากน้ำ พื้นที่เหมาะสมส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานไม่สามารถทำได้ เพราะแรงต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ มองในกลุ่มไบโอแมสอย่างพลังงานจากขยะ ประเภทนี้นักลงทุนค่อนข้างกลัวที่จะลงทุน เพราะขั้นตอนมาก ต้องเกี่ยวข้องกับชุมชน

ส่วนไบโอแมสประเภทใช้เศษไม้ต่าง ๆ มาเผาเพื่อผลิตไฟฟ้า ก่อนหน้านี้เคยมีโครงการของหน่วยงานรัฐพยายามส่งเสริมให้เกิดขึ้นในชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วม แต่ต้องเข้าใจว่า นักพัฒนาโรงไฟฟ้าไม่ใช่ชาวไร่ ความชำนาญต่างกัน แต่ที่ค่อนข้างดีคือกลุ่มโรงงานน้ำตาล ที่สามารถนำต้นอ้อยที่แห้งมาเผาเพื่อผลิตเป็นไฟฟ้าใช้ในกระบวนการผลิต และส่วนที่เหลือยังสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบให้กับ กฟภ.ได้ด้วย

แต่ หากจะขยายเพิ่มเติมอีกในส่วนนี้คง "ไม่ได้" เพราะปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลประมาณ 90% แล้ว ส่วนที่เหลืออีก 10% จะยากขึ้น เพราะเท่ากับว่าจะต้องเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก แต่ล่าสุดเห็นว่า นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ต้องการส่งเสริมพลังงานทดแทนโดยใช้หญ้ายักษ์ หรือที่เรียกว่าหญ้าเนเปียร์ ให้มากขึ้น

- ทำไมต้องเป็นหญ้าเนเปียร์

หญ้า เนเปียร์เป็นพืชตระกูลเดียวกับอ้อย เพียงแต่ไม่มีความหวาน และเมื่อนำมาเผาให้ค่าความร้อน แต่อาจจะไม่เทียบเท่าเชื้อเพลิงจากแกลบ เพราะว่าหญ้าเนเปียร์เวลาเผาจะมีน้ำมันออกมาด้วย ภาคเอกชนเข้าใจว่าภาครัฐสนับสนุน แต่สิ่งที่ "ห่วง" คือ ชาวไร่ไม่ใช่นักธุรกิจที่ผลิตพลังงานทดแทน ฉะนั้นถ้าจะให้ประสบความสำเร็จมันคงลำบาก ท่านอาจจะไม่เข้าใจในพลังงานทดแทนมากพอ เพราะจริง ๆ แล้วภาพของพลังงานทดแทนของประเทศอย่างที่บอกว่ามันไม่ใหญ่มาก ต้องค่อยเป็นค่อยไป วางแผนให้ดี

เคยลองคำนวณคร่าว ๆ ที่กำลังผลิต 1 เมกะวัตต์ ต้องใช้พื้นที่ปลูกหญ้า 300 ไร่ มีพื้นที่พอหรือไม่ หากต้องลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท หากจะส่งเสริมต้องดูรายละเอียดว่าราคาหญ้าเนเปียร์จะเป็นอย่างไร หากเริ่มต้นที่ราคา 500 บาท/ตัน ถือว่าราคาใกล้เคียงกับแกลบ ซึ่งทำโรงไฟฟ้าแกลบน่าจะคุ้มกว่า


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view