สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เหนือ-อีสานแล้งเตือนปลูกพืชตามแผน

จาก โพสต์ทูเดย์

กฟผ. เผยเหนือและอีสาน มีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย แนะเกษตรกรควรเพาะปลูกพืชตามแผน หรือพืชใช้น้ำน้อยแทน

นายกิตติ ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ กฟผ. ว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ กฟผ. ณ ปัจจุบัน (19 ธันวาคม 2555 เวลา 24.00 น.) มีอยู่ 44,440 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 72% ของความจุ  น้อยกว่าปีที่แล้ว 19%  หรือ 10,288 ล้าน ลบ.ม.  มีปริมาณน้ำที่สามารถใช้งานได้ 21,396 ล้าน ลบ.ม. ลดลงจากวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มต้นการระบายน้ำฤดูแล้ง 2,430 ล้าน ลบ.ม.  โดยอ่างเก็บน้ำทุกแห่ง (ยกเว้นเขื่อนวชิราลงกรณ)  มีปริมาณน้ำในอ่างน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอ่างเก็บน้ำในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำภาคเหนือ ได้แก่ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์  ในปีนี้มีน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วค่อนข้างมาก จึงมีแผนการระบายน้ำช่วงฤดูแล้ง (1 พฤศจิกายน 2555-30 เมษายน 2556) เพียง 6,800 ล้าน ลบ.ม. โดยตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 19 ธันวาคม 2555 ระบายน้ำไปแล้ว 1,988 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 29% ของแผนทั้งหมด ยังเหลือปริมาณน้ำต้องระบายตลอดฤดูแล้งอีก 4,813 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่เขื่อนทั้งสองยังมีปริมาณน้ำใช้งานได้รวมกัน 7,740 ล้าน ลบ.ม. มีเพียงพอที่จะระบายตลอดฤดูแล้งนี้

อย่างไรก็ตาม แม้พื้นที่เพาะปลูกพืชในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะมีปริมาณน้ำที่ผันมาช่วยจากลุ่มน้ำแม่กลอง และมีปริมาณน้ำจากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แต่ก็ขอให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกพืชตามแผนที่คณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืช ฤดูแล้งกำหนดอย่างเคร่งครัด และมีการทำนาปรังเพียงครั้งเดียว เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างฯ มีไม่มาก หากมีการเพาะปลูกเกินแผนแล้วอาจทำให้มีความเสียหายได้ และในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีหลายพื้นที่ที่จำเป็นต้องงดการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง หรือหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีการส่งเสริมอาชีพอื่นแทน เพื่อไม่ให้เกษตรกรสูญเสียรายได้


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view