สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เร่งอนุรักษ์ ปลาบู่มหิดล ใกล้สูญพันธุ์

จาก โพสต์ทูเดย์

เร่งอนุรักษ์ "ปลาบู่มหิดล" ใกล้สูญพันธุ์

กรมประมงเร่งอนุรักษ์เพาะพันธุ์ “ปลาบู่มหิดล” จากแหล่งน้ำธรรมชาติ

นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงขอความร่วมมือไปยังพี่น้องประชาชนทุกท่านหากพบเห็นปลาบู่มมหิดล ขอ ให้ติดต่อไปยังสำนักงานประมงจังหวัดใกล้บ้านท่าน เพื่อกรมฯ จะได้รวบรวมปลาชนิดนี้ไปศึกษาวิจัยเพาะขยายพันธุ์ต่อไป เนื่องจากเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์

ทั้งนี้ ปลาบู่มหิดลสำรวจพบครั้งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2469  โดย Dr. Hugh McCormick Smith ชาวอเมริกันซึ่งได้เข้ามาปฏิบัติงานด้าน การเพาะเลี้ยงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในประเทศไทย ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ พบครั้งแรกในบริเวณแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และได้ขอพระราชทานชื่อวิทยาศาสตร์ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ ตั้งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติในการที่พระองค์ทรงสนพระทัย ทรงใคร่ติดตาม และเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อการประมงของประเทศไทย  ล่าสุดนี้กรมประมงได้รวบรวมปลาบู่มหิดลตามแหล่งน้ำธรรมชาติได้จำนวนหนึ่ง เพื่อเตรียมนำมาศึกษาวิจัยเพาะขยายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง จันทบุรี เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาชนิดนี้สูญพันธุ์

สำหรับปลาบู่มหิดล จะมีหัวค่อนข้างโตและแบน ที่ส่วนหัวไม่มีเกล็ด ตามีลักษณะกลมโตมีสีฟ้า  ปากกว้างจนมีกระดูกขากรรไกรที่ยื่นเลยขอบหลังตา ฟันมีขนาดเล็กและมีแถวเดียวที่ขากรรไกรบน  ลำตัวสั้น มีเกล็ดตามลำตัว ข้างแก้มมีจุดกระสีดำ  ลำตัวมีลายพาดสีคล้ำหรือสีน้ำตาลบนพื้นสีม่วงอ่อน 4-5 แถบ ครีบหลังด้านหน้ามีจุดสีน้ำเงินเด่นชัด  ปลายครีบหลังจะมีสีส้ม ครีบอกมีลักษณะคล้ายที่ยึดเกาะ ชอบอาศัยบริเวณปากแม่น้ำ ป่าชายเลน  อดีตปลาบู่มหิดลถือเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำธรรมชาติเนื่องจาก ปลาชนิดนี้จะอาศัย อยู่ในสภาพน้ำและระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view