สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

หนี้เน่าสินเชื่อบุคคลเพิ่มไตรมาสละ1หมื่นล.

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ลาง ร้าย!!! สินเชื่อเพื่อการบริโภคแข่งดุ หนี้เน่ารายใหม่พุ่งกระฉุดทะลุ 1 หมื่นล้านบาท ติดต่อกัน 2 ไตรมาส ชี้สูงสุดนับแต่เกิดวิกฤติซับไพร์ม
ศูนย์ วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ออกบทวิเคราะห์โดยระบุว่า ในระยะเวลาเพียง 5-6 ปี สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคที่เคยมีสัดส่วนในพอร์ตสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ (ที่ไม่รวมสินเชื่อตัวกลางทางการเงิน) ร้อยละ 23 เพิ่มเป็นร้อยละ 33 หรือ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 16 ต่อปี โดยส่วนประกอบหลักๆของสินเชื่อนี้ มีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเกือบครึ่งหนึ่ง และ สินเชื่อเช่าซื้อรถ กับ สินเชื่อบริโภคส่วนบุคคลอื่นๆ (อาทิ บัตรเครดิต สินเชื่อเงินสด) แบ่งกันไปประเภทละหนึ่งในสี่

จาก ตัวเลข NPL ของธปท. เห็นได้ชัดว่าหนี้เสียที่มาจากหนี้เสียรายใหม่ ในช่วงไตรมาสสองและสามปีนี้ เพิ่มขึ้น 1.0 และ 1.2 หมื่นล้าน ตามลำดับ จากปริมาณเพิ่มเฉลี่ยที่ 7,500 ล้านบาทต่อไตรมาสในช่วงปี 2553-54 เป็นการกลับไปแตะที่หลักหมื่นล้านอีกครั้งหลังช่วงวิกฤตซับไพร์มเป็นต้นมา ขณะที่หนี้เสียที่เพิ่มขึ้นจากหนี้ที่เคยเจรจาปรับโครงสร้างหนี้มาแล้วเพิ่ม ขึ้น 3.0 และ 3.2 พันล้านบาท ตามลำดับ สูงกว่าค่าเฉลี่ย 2.3 พันล้านบาทต่อไตรมาส เช่นกัน จึงสรุปได้ว่าหนี้เสียทั้งรายใหม่และเก่า กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

การ เพิ่มของหนี้เสียในจำนวนสูงเช่นนี้ เคยเกิดขึ้นแล้วในช่วงวิกฤติซับไพร์ม ซึ่งในครั้งนั้นเศรษฐกิจไทยถึงกับหดตัวถึงร้อยละ 2.3 ดังนั้น การมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ แต่การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในปัจจุบัน เกิดขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.6 ในเก้าเดือนแรกของปี จึงกล่าวได้ว่า การมีหนี้เสียมากขึ้นจากรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และหนี้เสียซ้ำซ้อนจากที่เคยปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วที่เพิ่มขึ้นเช่นกันถึง ร้อยละ 60 เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังอย่างยิ่งและควรติดตามดูอย่างใกล้ชิด

ศูนย์ วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ระบุว่า ถึงแม้การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียสินเชื่อส่วนบุคคลจะมาจากทุกๆรายการ ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเพื่อการบริโภคอื่นๆ และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เรากลับพบสัญญาณอันตรายในแง่การลดลงของคุณภาพสินเชื่อ ในสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์มากที่สุด โดย สัญญาณดังกล่าววัดจากอัตราส่วนของ “สัดส่วนยอดสินเชื่อที่ปล่อยของสินเชื่อแต่ละประเภทกับสินเชื่อรวม” กับ “สัดส่วนยอด NPL แต่ละประเภทกับ NPL รวม” (หรือ share ของสินเชื่อหารด้วย share ของ NPL นั่นเอง) ถ้าหากอัตราส่วนดังกล่าวของสินเชื่อประเภทใดลดลง ก็หมายความสินเชื่อประเภทนั้น มีการเพิ่มของ NPL ที่เร่งตัวมากกว่าการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ ซึ่งอัตราส่วนดังกล่าวของสินเชื่อเช่าซื้อรถปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญสอง ครั้ง คือ ช่วงที่เกิดวิกฤติซับไพรม์ที่ลดจากระดับ 4 เท่า เหลือเพียง 2.5 เท่า และ ในช่วงสามไตรมาสปีนี้ ที่ลดลงมาต่ำกว่าระดับ 2 เท่า ขณะที่สินเชื่อบ้าน กับ สินเชื่อส่วนบุคคลอื่นๆ มีการลดลงของอัตราส่วนดังกล่าวไม่มากนัก คือจากระดับประมาณ 1.5 เท่า มาเป็น 1 เท่า

โดย รวม ถึงแม้สัดส่วนหนี้เสียต่อปริมาณสินเชื่อของสินเชื่ออุปโภคบริโภคจะยังไม่สูง มาก แต่การลดลงของคุณภาพสินเชื่อดังกล่าวกลับเป็นสัญญาณเสี่ยง ให้หลายๆฝ่ายเฝ้าจับตามองระดับหนี้เสียที่เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญภายใต้สภาวะ เศรษฐกิจที่เติบโตได้ดี แล้วถ้าหากเกิดเศรษฐกิจไทยเกิดสะดุดขึ้นมาจริงๆอีกครั้งหนึ่ง จะเกิดความเสียหายมหาศาลเพียงใด


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view