สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เฮอริเคนแซนดี้ปลุกกระแสโลกร้อน

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เฮอริเคนแซนดี้ปลุกกระแสโลกร้อน
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ทันทีที่มหาพายุเฮอริเคนแซนดี้ พัดถล่มมหานครนิวยอร์กจนแทบจมมิดในหลายพื้นที่ นับเป็นมหาวิบัติภัยทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 100 ปีเมื่อนักวิทยาศาสตร์ภูมิศาสตร์หลายคนต่างชี้ตรงกันว่า เป็นผลพวงจากปัญหาโลกร้อน ที่สำคัญก็คือนิวยอร์ก มีโอกาสที่จะเกิดมหาเฮอริเคนและน้ำท่วมใหญ่อีกเมื่อใดก็ได้ในอนาคต หลังจากที่นายไมเคิล อ็อพเพนไฮเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศและศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เคยเตือนเมื่อ 8 เดือนที่แล้วว่า

ขณะนี้นิวยอร์ก มีโอกาสจะเกิดมหาพิบัติภัยจากธรรมชาติได้ทุกๆ 3-20 ปี จากเดิมที่เคยเชื่อว่าจะเกิดทุกๆ 100 ปี อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนทำให้สภาอากาศและรูปแบบของเฮอริเคนเปลี่ยนไป

แต่นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศกลุ่มนี้ รวมทั้งนายอ็อพเพนไมเฮอร์ ซึ่งเคยร่วมกันเขียนรายงานในช่วงเปลี่ยนศตวรรษใหม่เมื่อปี 2543 เตือนว่า ผลกระทบจากโลกร้อนจะทำให้เกิดมหาวิบัติภัยทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุด แต่หลังจากแซนดี้ถล่มนิวยอร์กแล้ว กลับร่วมกันเตือนว่า ไม่ควรจะด่วนสรุปว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดมหาเฮอริเคนจะเกิดจากปัญหาโลกร้อนเพียงปัจจัยเดียว เพราะสาเหตุอาจมาจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น หรือจากอุณภูมิของมหาสมุทรแอตแลนติกที่เปลี่ยนไปก็ได้ แม้ว่าปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้แซนดี้ กลายเป็นมหาวายุที่ทรงพลังจะมาจากโลกร้อนเป็นหลักก็ตามที แต่ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะรุนแรงมากน้อยเพียงใดถือเป็นเรื่องธรรมชาติ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ

ด้านนักวิชาการ และนักเคลื่อนไหวอีกกลุ่มหนึ่ง เรียกร้องให้พรรคการเมืองและนักการเมืองตระหนักถึงภัยจากปัญหาโลกร้อนให้มากขึ้น และให้ทบทวนทิศทางในการหาเสียงใหม่ โดยหยิบยกประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึง ประเด็นสิ่งแวดล้อมมาถกเถียงกันมากขึ้นระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง จากขณะนี้ที่ไม่มีการถกเถียงปัญหาของโลกร้อนมากเท่าที่ควร

ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า นับตั้งแต่ประชาชนหลายสิบล้านคนต้องติดอยู่ภายในบ้านและเฝ้าจับตาสถานการณ์จากข่าวทางโทรทัศน์ จากผลการสำรวจเรตติ้งรายงานข่าวพายุแซนดี้ของสถานีโทรทัศน์ช่องฟรีทีวีและเคเบิล ทีวีตลอดทั้งช่วงกลางวันช่วงเย็นและช่วงไพร์มไทม์ พบว่าเรตติ้งของเคเบิล ทีวี พุ่งกระฉูด โดยฟ็อกซ์ นิวส์ ครองอันดับหนึ่ง ยอดผู้ชมสูงสุด ตามด้วยซีเอ็นเอ็น

ตลอดช่วงการออกอากาศ ตั้งแต่ 06.00 น. - 14.00 น. ช่องฟ็อกซ์ นิวส์ มีผู้ชม 2.28 ล้านคน ส่วนซีเอ็นเอ็น มีคนชม 1.4 ล้านคน ส่วนในช่วงไพร์มไทม์ ฟ็อกซ์ นิวส์ มีผู้ชม 3.5 ล้านคน ส่วนซีเอ็นเอ็น มีคนชม3.4 ล้านคน และ เอ็มเอสเอ็นบีซี เป็นอันดับ 3 มีผู้ชม 1.4 ล้านคน


รักษ์ไม้,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,มูลไส้เดือนดิน,การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยชีวภาพ

Tags :

view