สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ข้าวพม่าทวงบัลลังก์เร่งเพิ่มผลผลิตเสริมศักยภาพส่งออก

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา

ต้องยอมรับว่า เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศค่อยๆ กลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง พม่าประเทศที่โลกตัดขาดมานานก็ได้ฤกษ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของตนเอง เพื่อให้พัฒนาได้ทัดเทียมกับบรรดานานาประเทศอีกครั้ง

เป็นการเร่งเดินหน้าที่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งขนานนามให้ว่า คือช่วงเวลาแห่งการทวงคืนความเรืองรองที่สูญหายไปของประเทศลุ่มน้ำอิรวดี แห่งนี้

และหนึ่งในความรุ่งเรืองที่ว่า รวมถึงการทวงคืนตำแหน่งผู้นำการส่งออกในตลาดค้าข้าวโลกอีกด้วย

ทั้งนี้ ประเทศพม่าเคยครองตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกในช่วงระหว่างปี 2503– 2506 มาแล้ว โดยข้อมูลจากกระทรวงเกษตรสหรัฐ ระบุว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว พม่าสามารถส่งออกข้าวได้มากถึง 1.6–1.7 ล้านตันต่อปี

ทว่า พม่ามีเหตุให้ต้องเสียตำแหน่งแชมป์ให้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองภายในที่ทำให้เผด็จการทหารขึ้นครอง อำนาจกว่า 50 ปี จนสถานะของพม่าหล่นฮวบกลายเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้

อย่างไรก็ตาม โอกาสในการพัฒนาเพื่อความก้าวหน้ารุ่งเรืองของประเทศได้หวนกลับคืนมาอีก ครั้ง แทบจะในวินาทีที่พม่าเริ่มลงมือปฏิบัติตามแผนการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ ของตนเอง

ไล่เรียงตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญจนเสร็จสิ้น ตั้งรัฐสภา จัดการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก และปล่อยตัวอองซานซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (พรรคเอ็นแอลดี) พรรคฝ่ายค้าน ซึ่งประการหลังถือว่าเป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวที่เด่นชัดที่สุด ที่ทำให้ประเทศส่วนใหญ่ในซีกโลกตะวันตก นำโดย สหรัฐอเมริกา ยอมรับในความเอาจริงเอาจังของพม่า ภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดี เต็งเส่ง แห่งพม่า

ยอมรับถึงขนาดที่หลายประเทศประกาศยกเลิก หรือผ่อนผันมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับประเทศพม่า ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ถึงขนาดคาดการณ์ว่า พม่ามีแนวโน้มจะเป็นเขตเศรษฐกิจแห่งใหม่ของเอเชีย

ทั้งนี้ หลังจากพิจารณาแผนปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลพม่าชุดปัจจุบัน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างเห็นตรงกันว่า นอกจากการเร่งเปิดประเทศออกกฎหมายเชื้อเชิญนักลงทุนจากต่างชาติอย่างเต็มที่ แล้ว รัฐบาลพม่ายังวางแผนฟื้นฟูการส่งออกข้าว ซึ่งเป็นหนึ่งในผลผลิตหลักทางการเกษตรของตนเอง โดยมีเป้าหมายล่าสุดที่การเพิ่มปริมาณการส่งออกให้ได้สองเท่า ภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้

แผนดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่การปรับปรุงการใช้ผืนดินเพื่อการเกษตร พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ เพิ่มปริมาณผลผลิตโดยใช้ข้าวพันธุ์ผสม การพัฒนาปุ๋ย การใช้เครื่องจักรเข้าช่วย และการเพิ่มแหล่งเงินทุนสำหรับชาวนา

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทั้งถนน ท่าเรือ ตลอดจนโรงสีข้าว

เยมินออง รองเลขาธิการสหภาพข้าวแห่งพม่า กล่าวชัดเจนว่าการที่ยอดขายข้าวไปต่างประเทศมีแนวโน้มจะเพิ่มมากถึง 3 ล้านตัน ภายในปี 2560 จากยอดขายปัจจุบันที่จะสิ้นสุดในเดือน มี.ค. 2556 ที่ 1.5 ล้านตัน โดยยอดของการส่งออกในอีก 5 ปีข้างหน้านี้คิดเป็น 7% ของยอดส่งออกข้าวทั่วโลกขณะนี้ ซึ่งอยู่ที่ 37.7 ล้านตัน ทำให้รัฐบาลต้องเร่งวางแผนเพิ่มผลผลิตข้าวอย่างเต็มที่ แต่ก็ต้องรอบคอบเช่นกัน

ขณะเดียวกันกระทรวงเกษตรของสหรัฐ ได้ออกมาคาดการณ์ยอดส่งออกข้าวของพม่า เมื่อวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่าการส่งออกในปี 2555 นี้ จะเพิ่มขึ้น 25% หรือประมาณ 7.5 แสนตัน

 

นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งคาดการณ์ว่าด้วยศักยภาพที่มีอยู่ พม่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 1015 ปี ที่จะเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อีกครั้ง ซึ่งสั้นกว่าประเทศเวียดนามที่ต้องใช้ระยะเวลาถึง 20 ปีกว่าจะขึ้นแท่นเป็นติด 1 ใน 3 ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก

ขณะที่ โรเบิร์ต ซีกเลอร์ เลขาธิการสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (อีรี) ประเทศฟิลิปปินส์ แสดงความเห็นอย่างชัดเจนว่า ในแวดวงนักวิชาการด้านข้าว หรือกระทั่งในวงการผู้ค้าข้าว ประเทศพม่าคือแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

เพราะพม่าได้เปรียบอย่างมากในเรื่องของต้นทุนการผลิตต่ำ ทำให้ราคาข้าวของพม่าในตลาดโลกถูกกว่าข้าวของประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน ถึง 1020 เหรียญสหรัฐต่อตัน

เพราะสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มขนาดกว้างขวาง ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ในปริมาณมากและเกินกว่าความต้องการบริโภคภายใน ประเทศ โดยผลผลิตข้าวเพียงอย่างเดียวคิดเป็นสัดส่วนที่มากกว่า 80% ของผลผลิตทั้งหมดของประเทศ

เพราะลักษณะผืนดินอุดมสมบูรณ์ ขณะเดียวกันก็มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการเพาะปลูกตลอดปี ทำให้ได้ผลผลิตข้าวคุณภาพดี และยิ่งเมื่อบวกกับจำนวนแรงงานมหาศาล ก็ยิ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสริมสำคัญ ที่ส่งให้ผลผลิตข้าวของพม่ามีข้อได้เปรียบเหนือประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นๆ

นอกจากนี้ ข้อมูลจากเอดีบียังเปิดเผยอีกว่า พม่าถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปริมาณแหล่งน้ำที่สูงที่สุดในเอเชียที่ 24,352 ลูกบาศก์เมตร ขณะที่ปริมาณการใช้ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 5% ของแหล่งน้ำที่มีอยู่ ส่งผลให้พม่ายังมีพื้นที่ว่างเพียงพอที่จะพัฒนาศักยภาพการใช้น้ำของตน เองอย่างเต็มที่ เพื่อเสริมคุณภาพระบบชลประทาน พลังงานน้ำ และการปศุสัตว์ ที่จะส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพในอนาคต

เรียกได้ว่าเพียงแค่ 3 ปัจจัยข้างต้น ก็เพียงพอให้นักวิชาการด้านข้าวยอมรับว่า พม่า คือ ประเทศที่ธรรมชาติเกื้อหนุนให้ปลูกข้าวอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) ระบุไว้ในรายงานประจำปี ว่า หากพม่าต้องการเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของตนเองซึ่งนิยมวัดจากผลิตภัณฑ์มวล รวมภายในประเทศ (จีดีพี) พม่าจำเป็นต้องหาทางเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากการกระทำดังกล่าวมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยเพิ่มจีดีพีประเทศ ให้ได้ถึง 4 เท่าภายในปี 2573

ทุกวันนี้ผลิตผลภาคการเกษตรคิดเป็นสัดส่วน 36% ของภาคเศรษฐกิจพม่าทั้งหมด โดยการเกษตรกรรมยังเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีอัตราการขยายตัวสูง โดยปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 5.5% และถือเป็นแหล่งจ้างงานที่มากที่สุดของประเทศที่ 64 ล้านคน

เรียกได้ว่า หากสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวให้ได้มากตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งรวมถึงแผนการเพิ่มปริมาณข้าวให้ได้มากถึง 4 ตันต่อเอเคอร์ ใน 5 ปี จากเดิมในทุกวันนี้ที่ได้ผลผลิต 1.251.5 ตันต่อเอเคอร์ การเติบโตทางเศรษฐกิจของพม่าโดยรวมย่อมมีแววสดใสอย่างไม่ต้องสงสัย

ขณะเดียวกันความหวังที่เพิ่มรายได้ให้กับชาวนาและลดอัตราความยากจนจาก 26% ให้เหลือ 16% ภายในปี 2558 ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป

ทั้งนี้ แผนการเพิ่มศักยภาพในการผลิตข้าวของพม่านอกจากเน้นพัฒนากระบวนการผลิตให้มี ประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมถึงการวิจัย การนำเข้าเมล็ดพันธุ์ข้าวผสม การวางระบบเกษตรอินทรีย์ และการพัฒนาระบบชลประทานแล้ว นโยบายของรัฐบาลประธานาธิบดีเต็งเส่งยังรวมถึงการปรับปรุงระบบโครงสร้าง สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ถนน และท่าเรือเพื่อการส่งออก

แจ็ค ลูเยนดิจ์ก ประธานบริหารแซด สวิส อากริ เทรดดิง เอจี บริษัทค้าข้าวชั้นนำ ระบุว่า ข้อจำกัดสำหรับการเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของพม่าในขณะนี้ก็คือ ศักยภาพของท่าเรือที่สินค้าส่งออกของประเทศราว 90% ล้วนผ่านท่าเรือย่างกุ้ง ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถรองรับจัดการข้าวปริมาณมหาศาลได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว

กระนั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่กลับเห็นตรงกันว่า ประเด็นดังกล่าวไม่ใช่ปัจจัยที่น่าวิตกอีกต่อไป เห็นได้จากการเร่งสร้าง พัฒนา และปรับปรุงท่าเรือภายในประเทศของพม่า โดยได้รับความร่วมมือจากนักลงทุนต่างชาติ เช่น ท่าเรือในเขตอุตสาหกรรมทิลาวาทางตอนใต้ของเมืองย่างกุ้งไปประมาณ 25 กิโลเมตร ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประเทศญี่ปุ่น ขณะที่โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายก็ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนของประเทศไทย

ขณะเดียวกันยังไม่นับรวมปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น ลูกค้าที่จะรองรับข้าวจากพม่า โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐ ระบุว่า จีนมีแนวโน้มจะนำเข้าข้าวจากพม่ามากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากยอดนำเข้าปีนี้ที่สูงถึง 1.9 ล้านตัน จากเดิมที่ 5.75 แสนตัน เมื่อปีที่แล้ว ตามด้วยอิหร่านและไนจีเรีย

ผลข้างต้นทำให้ คอนเซปชัน คาล์ป นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส จากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ยอมรับว่า การส่งออกข้าวที่เพิ่มมากขึ้นของพม่า ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อปริมาณและราคาข้าวในตลาดโลกแน่นอน

ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อีกส่วนหนึ่งเห็นตรงกันว่า นโยบายการแทรกแซงราคาข้าวของรัฐบาลในบางประเทศ ยังจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกข้าวของพม่าอีกทอดหนึ่งด้วย

กลายเป็นบทสรุปที่ต้องยอมรับโดยดุษณี ว่าการที่พม่าจะกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ หรือแม้แต่หมายเลขหนึ่งของโลกย่อมไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน


รักษ์ไม้,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,มูลไส้เดือนดิน,การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยชีวภาพ

Tags :

view